กำหนดแนวคิดขึ้นมาว่า : ท่ามกลางเทคโนโลยีที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตง่ายขึ้น แต่วิถีชีวิตของเรายังคงมีให้เห็น และถูกอนุรักษ์ไว้ ไม่แปรผันตามกาลเวลาและเทคโนโลยี โดยเมืองจะถูกแบ่งเป็นสามส่วนหลักๆ คือ พื้นที่สำหรับดำรงชีวิต พื้นที่สีเขียว และพื้นที่อุตสาหกรรม โดยมีสมาชิกในทีมดังนี้ ไอคิว-พงศกร ยศอิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ปี 2, อาทิตย์-อาทิตยา มะโนแสน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ปี 2, นิว-อารีรัตน์ ฐานเหล็ก คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ปี 2, ฝา-ภักดีภูมิ พิบูลย์สมบัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี 2, ต้า-ปาณัท แสนมหาชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ปี 3, ณะ-คมสันต์ จันทร์สุกปุก, วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ภาควิชาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี 3 และนัตตี้-วชิรานี ทองดอนเสียง วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ภาควิชาอนิเมชั่น ปี 4
จะมีแอปพลิเคชันตัวหนึ่งที่ตั้งหัวข้อขึ้นมาให้เราเข้าไปตอบกัน เช่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับการดำรงชีวิต ใครหาอะไรเจอก็จะไปแสดงความคิดเห็นไว้ในนี้ ในช่วงแรก ๆ ที่เรายังไม่ได้ปแบ่งหน้าที่กัน ก็ช่วยกันหาข้อมูลเบื้องต้นก่อน พอหลังจากที่ได้ข้อมูลแล้ว เราต้องทำผลงานโดยการนัดเจอกันว่าใครมีความสามารถอะไร ถนัดอะไร เช่น ทำโมเดล ทำวิดีโอ ถนัดนำเสนอ ทำรูปเล่ม แปลภาษาเป็นภาษาอังกฤษ เราก็จะแบ่งหน้าที่ตามความถนัดดังนี้ ณะกับนิว ถนัดกราฟิกจะเป็นคนทำรูปเล่มหาข้อมูลเพิ่มเติม หาแหล่งอ้างอิง ต้า ฝ่ายประสานงาน ไอคิวกับนัตตี้ ทำโมเดล และฝากับอาทิตย์ทำวิดีโอ แผ่นพับแจก สื่อต่าง ๆ
พวกเรามองว่าโลกในยุค 2050 จะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรพลังงานสำหรับการอยู่อาศัย ระบบการจัดการของเสีย และสภาพแวดล้อม แล้วเราจะมีแนวทางพัฒนาอย่างไรให้การใช้เทคโนโลยีหรือพลังงานที่ใช้เป็นพลังงานสะอาด เพื่อให้เห็นถึงข้อแตกต่างที่ชัดเจนเราจึงใช้เมืองกรุงเทพฯ และเมืองเชียงใหม่เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหา โดยได้แรงบันดาลใจจากการดูหนังเกี่ยวกับอนาคตและวิทยาศาสตร์ ทำให้เรารู้จักการคิดนอกกรอบ เพราะทางโครงการจะไม่ตีกรอบให้เราว่าต้องเป็นแบบนี้หรือแบบนั้น เราได้อิสระทางความคิดมาก แต่จะนำเสนออย่างไรให้คณะกรรมการคล้อยตามว่าสิ่งที่นำเสนอสามารถเกิดขึ้นจริงได้
้เราใช้แนวคิด 'Newtopia Future of Urban-นครแห่งอนาคต' แบ่งตามความหนาแน่นของประชากรสองแบบ แบบที่หนึ่งคือ เมืองในความคิดประชากรน้อย (ศึกษาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย, พื้นที่สีเขียวและพื้นที่สวนสาธารณะ, การเกษตร, การจราจร) แบบที่สองคือ เมืองเศรษฐกิจประชากนรสูง (ศึกษาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย, โซนสีเขียว, การเกษตร,การคมนาคมสาธารณะ) โดยจะนำเมืองกรุงเทพฯ และเมืองเชียงใหม่มาเปรียบเทียบกันถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไข พอถึงวันนำเสนอจริงพวกเราก็เริ่มต้นการพรีเซนต์ด้วยการเล่าว่าทำไมถึงเลือกสองเมืองนี้ เสนอปัญหา หลังจากนั้นก็เปิดวิดีโอวิธีการแก้ไขปัญหา พร้อมนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้น หลังวิดีโอจบก็จะสรุปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ปัญหา โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยสองกลุ่มสองเมือง แล้วพูดให้คณะกรรมการเชื่อ จุดเด่นทีมเราคือมีตัวโมเดลจำลองอาคารบ้านเมืองในอนาคตทั้งสองเมือง ทำให้เห็นภาพและสัมผัสได้มากกว่า
พวกเราได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ที่บ้านเราไม่มี แต่ต่างประเทศมีแล้ว เช่น การพัฒนาเมืองจากการศึกษาผังเมือง เพราะต้องดูก่อนว่าถ้าจะสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ผังเมืองก็เป็นเรื่องสำคัญมาก อีกอย่างเลยคือการที่เราเรียนกันคนละคณะ ก็ทำให้ได้ความรู้เฉพาะจากเพื่อนที่เรียนสายนั้นมาโดยตรง ได้แชร์ความรู้กัน ถือเป็นประสบการณ์นอกห้องเรียนที่ดีทีเดียว
เรียนในห้องเรียนเราจะได้ทฤษฎีที่อาจารย์ให้ ขณะที่เราเรียนอยู่อาจารย์เปิดสไลด์ พูดอะไรตอนนั้นเรายังไม่สามารถค้นหาเสิร์ชข้อมูลได้ในตอนที่เรียนอยู่ แต่ท้ายคาบเราอาจจะถามอาจารย์ได้ เรียนนอกห้องเรียน สมมมติได้โจทย์มาแล้ว เราก็ไปเสริชหาข้อมูลต่อได้ พอได้คำตอบหนึ่งแล้ว ในคำตอบนั้นมันจะมีคำถามที่สองซ่อนอยู่เสมอ เราต้องหาต่อ เพราะถ้าถามในห้องอาจารย์ตอบมาปุ๊บโอเคเคลียแล้วมันจะไม่เกิดเป็นคำถามต่อ ประสบการณ์นอกห่้องเรียนสำคัญมาก เพราะทำให้เรารู้ว่าเรียนในห้องเรียนยังไงจะเก็บความรู้ได้มากที่สุดด้วย หรือสกิลไหนในห้องเรียนที่เราควรจะฝึก เช่น การนำเสนอผลงานในห้องเรียน ก็ช่วยฝึกให้เราเอาไปใช้จริงในชีวตข้างนอกห้องเรียนได้ด้วย
เรื่อง : วรรณวิสา สุภีโส