Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ความเสี่ยงของไซยาไนด์ในเมล็ดแอพริคอต

Posted By thaiscience | 20 พ.ค. 61
6,990 Views

  Favorite

อะมิกดาลิน (Amygdalin) เป็นสารที่พบได้ตามธรรมชาติในเมล็ดแอพริคอตและสารนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไซยาไนด์หลังจากรับประทานเข้าสู่ร่างกาย พิษจากไซยาไนด์จะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ คลื่นไส้ ปวดหัว มีไข้ นอนไม่หลับ กระหายน้ำ เซื่องซึม ปวดเมื่อยตามข้อต่อและกล้ามเนื้อ และความดันลดลง แต่ในกรณีที่รุนแรงก็สามารถท้าให้เสียชีวิตได้ 

 

จากรายงานการวิจัยพบว่าการได้รับไซยาไนด์ในปริมาณ 0.5 – 3.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถก่อให้อันตรายแก่ชีวิตได้ โดยคณะทำงานทางวิทยาศาสตร์ด้านสารปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารภายใต้ความควบคุมของหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของยุโรป (EFSA) ได้กำหนดค่าอ้างอิงวิกฤติ (Acute Reference Dose, ARfD) ซึ่งเป็นปริมาณสารเคมีที่มนุษย์สามารถรับเข้าสู่ร่างกายได้ทุกวัน โดยไม่ทำให้เกิดความผิดปกติใด ๆ ต่อสุขภาพอนามัย ไว้ที่ 20 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าต่ำกว่าถึง 25 เท่าของปริมาณต่ำสุดที่คาดว่าเมื่อได้รับแล้วเป็นเหตุทำให้เสียชีวิต

 

ผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของยุโรปได้ประมาณการไว้ว่าผู้ใหญ่สามารถรับประทานเมล็ดแอพริคอตได้ประมาณ 3 เมล็ด หรือประมาณ 370 กรัม ซึ่งจำนวนอะมิกดาลินที่ถูกนำเข้าสู่ร่างกายจะยังไม่เกินค่าอ้างอิงวิกฤติ แต่ถ้าสำหรับเด็กเล็กจะสามารถรับประทานได้ประมาณครึ่งหนึ่งของเมล็ดขนาดเล็กหรือประมาณ 60 กรัม

 

ความปลอดภัยของผลแอพริคอต

การรับประทานผลของแอพริคอตไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เพราะว่าส่วนที่เป็นเมล็ดที่มีสารอะมิกดาลินอยู่ได้ถูกหุ้มด้วยเปลือกแข็งจึงไม่ได้มีการสัมผัสกับเนื้อผลไม้ มีการเชื่อว่าเมล็ดดิบของแอพริคอตส่วนใหญ่ที่วางขายอยู่ในสหภาพยุโรปได้ถูกนำเข้ามาจากประเทศนอกสหภาพยุโรปและขายให้แก่ผู้บริโภคผ่านอินเตอร์เน็ต โดยผู้ขายได้โฆษณาว่าเมล็ดแอพริคอตสามารถใช้รักษามะเร็งได้และได้แนะนำให้บุคคลทั่วไปและผู้ป่วยโรคมะเร็งรับประทานเมล็ดแอพริคอตจำนวน 10 ถึง 60 เมล็ดต่อวัน 

 

หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของยุโรป (EFSA) ได้ปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปถึงการประเมินความเสี่ยงของเมล็ดดิบแอพริคอตที่ถูกจัดทำขึ้นในครั้งก่อน ๆ โดยการประเมินความเสี่ยงจะช่วยให้ข้อมูลสำคัญแก่เจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหารในยุโรปในการออกแบบมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากการบริโภคเมล็ดดิบของแอพริคอตได้

 

ที่มา: www.efsa.europa.eu/en/press/news/160427

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • thaiscience
  • 2 Followers
  • Follow