วิศวกร เรียนยากไหม? เรียนสาขาไหนดี จบมาแล้วหางานยากไหมและทำงานเหนื่อยไหม? คงเป็นคำถามยอดฮิตของน้องหลาย ๆ คนที่สนใจใรอาชีพวิศวกรมาดูกันว่าโครงการทำก่อนฝันพาน้อง ๆ ไปไขข้อข้องใจกับคำถามล้านคำถามว่าอาชีพวิศวกรเค้าทำงานอะไรกันบ้างไปชมคำตอบจากน้อง ๆ ในโครงการทำก่อนฝันกันเลยดีกว่าค่ะ
ทำความรู้จักกันก่อนว่ามีใครบ้าง
1. นายศักรินทร์ ขาวขำ 2. นางสาวจุฑามาศ พ่อค้า
3. นางสาวสุชานรี หมายสุข 4. นางสาวสุกฤตา ศรีจันทร์
พวกเราได้ไปฝึกประสบการณ์กันที่ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง ( กฟน. ) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( กฟภ. ) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ. เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าในธุรกิจใหญ่
วิศวกร คือ ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก
คุณสมบัติที่จำเป็นของอาชีพวิศวกร คือ ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ความสามารถทางเครื่องจักรกล การทำงานเป็นทีม เป็นผู้มีความใฝ่เรียนรู้ รู้จักพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และ เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ในอนาคตของอาชีพวิศวกรจึงเป็นอาชีพที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ ประเทศชาติ เนื่องด้วยอาชีพวิศวกรนั้นแบ่งเป็นหลากหลายสาขา เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา ซึ่งแต่ละสาขามีหน้าที่และความถนัดแตกต่างกัน เพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงมีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับวิศวกรในสาขาอื่น ๆ และ อาชีพอื่น ๆ เช่น การตรวจแบบจากสถาปนิกโดยใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรม การควบคุมการปฏิบัติการของช่างเทคนิค การวางแผนการลงทุนและงบประมาณทางด้านวิศวกรรมให้กับนักบัญชี การออกแบบและประดิษฐ์เครื่องมือทางการแพทย์
ในช่วงเวลาการทำงานของวิศวกร ยกตัวอย่าง เช่น วิศวกรควบคุมเครื่องจักร เวลาการทำงาน แบ่งเป็น 3 กะ ได้แก่ กะเช้า 8.00 - 16.00 น. กะบ่าย 16.00 - 24.00 น. กะดึก 24.00 - 8.00 น. พัก 2 วัน วิศวกรซ่อมบำรุง ทำงาน 8.00 - 16.00 (กรณีถ้ามีงานเร่งด่วนจะทำงานล่วงเวลาหลัง 16.00 เป็นต้นไป)
กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวันมีอะไรบ้างไปชมกัน
FIRST DAY
เดินสำรวจรอบๆบริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ได้ทราบกระบวนกระบวนการผลิตไฟฟ้าคร่าว ๆ จากท่านกิติชัย มะลิดา ซึ่งเป็นวิศวกรระดับ 11 และชมวิดีโอการพรีเซนต์โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ พร้อมทั้งได้เดินชมห้อง Control room ซึ่งเป็นห้องควบคุมกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า และได้มีโอกาสเข้าไปชมกองวิศวกรรมการขนส่งไฟฟ้า ที่ทำหน้าที่วางแผน และ ออกแบบแปลนไฟฟ้าของกฟผ. และ ได้เข้าไปชมวีดีโอพรีเซนต์ฝ่ายประสิทธิภาพการผลิต (อปผ.)
Second day
ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมที่ห้อง Control room และได้รับความรู้ของกระบวนการทำงาน Cooling Tower ของ Block 1 และ Block II จากพี่ที่มีประสบการณ์ ได้เข้าห้องแผนกประสิทธิภาพ ได้ทราบหน้าที่การทำงานของวิศวกรประสิทธิภาพที่ต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ในการประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้า และ วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ลดลง
Third day
ได้มีโอกาสเข้าไปดูในโรงไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ได้มีโอการได้สำรวจตัว Gas Turbine เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้ากังหันไอน้ำ และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Generator ได้ใช้อุปกรณ์ Electronic log - sheet เป็นอุปกรณ์ที่บันทึกค่าตัวแปรต่าง ๆ เช่น ความดัน อุณหภูมิ เป็นต้น ได้มีโอกาศได้ขึ้นไปด้านบนของ Cooling Tower ไปดูงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ควบคุมการไหลของน้ำในท่อน้ำของพี่วิศวกรเครื่องมือวัด และได้ไปดูงานการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันของพี่วิศวกรเครื่องกล
Forth day
ได้รับรู้ข้อมูลเรื่อง บ่อพักน้ำของ กฟผ. และได้ทราบกระบวนการของน้ำที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและน้ำที่ใช้ในการบริโภค ได้ไปใช้เครื่องมือในการวัดในห้องระบบ Seal oil โดยการอัดจาระบีให้กับตลับลูกปืนและ ใช้เครื่องยิงอุณหภูมิจากระยะไกล (Temperature gun) เพื่อใช้วัดอุณหภูมิของมอเตอร์ระบบ Seal oil และได้ทำ Power Generation and Demand Map Project ได้เข้าไปในแผนก วิศวกรรมโยธา ได้ดูแปลนอาคาร ได้รู้หลักการทำงานของวิศวกรรมโยธา
งานที่ได้รับมอบหมายให้น้องทำ คือ Project : Power Generation and Demand Map
ให้น้อง ๆ ได้ออกแบบและก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าและคำนวนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า
และที่ขาดไม่ได้เลยคือ Dream EXPERT นายภาณุพงศ์ กองรส ตำแหน่งวิศวกรระดับ 5 วิชาชีพ Electrical Engineer
ผู้ให้ความรู้และพาไปฝึกประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่หาไม่ได้จากห้องเรียนเพราะพวกเราเข้าโครงการทำก่อนฝัน ทำให้เราได้เข้าใจและรักในอาชีพวิศวกรมากขึ้นและพร้อมที่จะเดินหน้าทำให้ความฝันเป็นจริง ถ้าเพื่อน ๆ สนใจเข้ามาลองเป็นส่วนหนึ่งในโครงการทำก่อนฝัน เพราะก่อนจะฝันมันต้องลอง