Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ฝึกประสบการณ์ฝึกงาน อาชีพเภสัชกร โครงการทำก่อนฝัน

Posted By Dream Creator | 06 มี.ค. 61
6,014 Views

  Favorite

สวัสดีค่ะ น้อง ๆ วันนี้จะพามารู้จักกับอาชีพในฝันของใครหลาย ๆ คน ที่น้อง ๆ โครงการทำก่อนฝันรุ่นที่ 1 เค้าไปเรียนรู้อาชีพเภสัชกรกันค่ะ จะมีใครบ้าง น้อง ๆ เค้าทำไรกันบ้าง น่าตื่นเต้นขนาดไหนไปดูกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับน้องกันค่ะ

ทรูปลูกปัญญา

 

1.นางสาว จิรัชญา วุฒิบัญชร

2.นางสาว สโรชา วาสุโพธิ์

3.นางสาว วริศรา สุวิรนิตย์

4.นางสาว นภัสวรรณ ศุขวัฒน์

 

สถานที่ที่ได้ไปฝึกประสบการณ์ที่ บริษัท เบอร์แทรมเคมิคอล (1982) จำกัด มีธุรกิจอยู่ 3 ธุรกิจ

  • ธุรกิจผลิตยา ภายใต้แบรนด์ เซียงเพียว และเป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์
  • ธุรกิจร้านอาหาร Mint Cafe by Peppermintfield
  • ธุรกิจสนามปั่นจักรยานกลางเมืองPeppermint Bike Park

เป็นโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP PIC/S ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่จะทำให้โรงงานสามารถส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้ โดยโรงงานจะมีอยู่  7 ฝ่าย

  • ฝ่ายผลิต
  • ฝ่ายประกันคุณภาพ
  • ฝ่ายควบคุมคุณภาพ
  • ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ฝ่ายวิศวกรรม
  • ฝ่ายวางแผนและคลังสินค้า
  • ฝ่ายสำนักงาน

Dream Expert ที่ให้ความรู้และประสบการณ์กับน้อง ๆ

 

ทรูปลูกปัญญา

 

  1. ภก. อนุสรณ์ ตั้งปณิธานนันท์ (QA)
  2. ภญ. สุกัญญา เฮงพัฒนาพงศ์ (QC)
  3. ภญ. กรกานต์ คำประเสริฐ (R&D)
  4. ภญ. วัลลภา ประดับสุข (PD)
  5. ภก. ชัยเพชร ฉัตรปัญญาพร (PD)

อาชีพเภสัชกรโรงงานมีหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบ จะแบ่งออกเป็น 4 ฝ่ายหลักๆ ได้แก่

  • ฝ่ายผลิต (PD)
  • ฝ่ายควบคุมคุณภาพ (QC)
  • ฝ่ายประกันคุณภาพ (QA)
  • ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D)

ฝ่ายผลิต (PD)

เป็นฝ่ายที่ดูแล และควบคุมการผลิตในทุกขั้นตอน เพื่อการผลิตยาที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน

ทรูปลูกปัญญา

 

ฝ่ายควบคุมคุณภาพ (QC)

เป็นฝ่ายที่ตรวจสอบคุณภาพตั้งแต่วัตถุดิบ (Raw Material) แบบ 100% วัสดุการบรรจุ (Packaging Material) ยารอบรรจุ ตลอดจนยาสำเร็จรูป เพื่อควบคุมคุณภาพให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดถึงมือผู้บริโภค มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ได้มาตรฐานและเหมือนกันทุกรุ่นการผลิต

ทรูปลูกปัญญา

 

ฝ่ายประกันคุณภาพ (QA)

เป็นฝ่ายที่ดูแลและตรวจสอบ บันทึกการผลิตรวมไปถึงในทุกขั้นตอน เพื่อประกันคุณภาพสินค้าว่าผ่านมาตรฐาน

ทรูปลูกปัญญา

 

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D)

เป็นฝ่ายที่วิจัยและคิดค้นสูตรที่จะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ อย.

ทรูปลูกปัญญา

 

ทักษะความสามารถ (Skill)

เภสัชกรโรงงานต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งแต่ละฝ่ายก็จะใช้ความถนัดที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย และต้องมีความละเอียด รอบคอบ มีความรับผิดชอบสูง

ความก้าวหน้าทางอาชีพ (Career Path)

มีความก้าวหน้าที่จะสามารถเป็นผู้จัดการฝ่าย ในแต่ละฝ่าย

ทำงานร่วมกับใครบ้าง ต้องเจอใครบ้าง

เภสัชกรต้องทำงานประสานงานร่วมกับหลายหน่วยงานเช่น ฝ่ายวางแผนการผลิต, ฝ่าย QC/ QA, ฝ่ายวิศวกรรม, ฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย เพื่อให้สามารถผลิตยาที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน,  สามารถผลิตยาได้ทันตามความต้องการของลูกค้า

ช่วงเวลาการทำงาน

เป็นไปตามที่โรงงานกำหนด

เภสัชกร ไม่ได้มีเพียงหน้าที่การจัดยาให้ผู้ป่วยหรือเป็นเจ้าของร้านขายยา แต่สามารถเป็นเภสัชกรโรงงานที่มีหน้าที่แตกต่างออกไป อาทิเช่น เภสัชกรควบคุมคุณภาพและเภสัชกรฝ่ายผลิต เป็นต้น

ทรุปลูกปัญญา

 

เป็นอาชีพที่น่าสนใจมาก ๆ เรามาดู PROJECT ที่น้อง ๆ ได้รับมอบหมายให้ทำงานกันเลยค่ะ

โจทย์ การเรียนรู้การบรรจุยาดม 1 หลอด ที่มีมาตรฐานสามารถส่งออกสู่ท้องตลาด หลังจากนั้น นำมานำเสนอผ่าน Power Point ด้วย Flow Chart

ขั้นตอนการทำงาน

1.เรียนรู้วิธีการบรรจุไส้ยาดมลงในหลอดยาดม บรรจุน้ำยาลงถ้วยบรรจุยาดม และนำไปปิดฝายาดม

2. เรียนรู้ว่ต้องตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนใดบ้าง

3. นำมานำเสนอในรูปแบบ Flow Chart

ทรูปลูกปัญญา

 

ผลงาน

Flow Chart ที่สรุปลำดับการผลิต การตรวจสอบทั้งวัสดุที่บรรจุ และการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่ได้มาตรฐาน

 

ทรูปลูกปัญญา

 

 

การพรีเซนต์ วิธีการปิดฝายาดมด้วย Flow Chart หรือแผนภาพแสดงลำดับขั้นตอน

ทรูปลูกปัญญา

 

เป็นไงกันบ้างค่ะ น้อง ๆ หลายคนสนใจหรือน้องคนไหนที่ยังไม่แน่ใจกับความฝันของตัวเองลองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการทำก่อนฝันกันนะค่ะ 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Dream Creator
  • 0 Followers
  • Follow