เป็นการแต่งหน้าที่ไม่ใช่แค่ในชีวิตประจำวัน แต่แต่งเพื่อใช้ประโยชน์ในการแสดง เช่น ละครเวที รายการทีวี ภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ ซึ่งจะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้สีเข้มหนักเบาในแต่ละงานด้วย ศิลปะการแต่งหน้าสัตว์ กับโจทย์ Under the Sea สัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้น้ำ บีมมิ่งได้เลือก ‘กัปปะ’ เป็นสัตว์ในตำนานของญี่ปุ่น ถ้าตามตำราตัวกัปปะจะเป็นเทพที่อยู่ใต้น้ำ แล้วก็มีคนมาสักการะ แต่พอหลาย ๆ ปีผ่านไปคนก็มองว่าเป็นเรื่องงมงาย จากนั้นก็ไม่มีใครไปสักการะอีกเลย ทำให้กัปปะกลายเป็นผีตนหนึ่งที่อยู่ใต้น้ำ ไม่มีใครสนใจ หยิบเรื่องราวตรงนี้มาตีเป็นโจทย์ค่ะ รวมทั้งต้องตีโจทย์ที่ลึกลงไปกว่านั้นก็คือ ภาพลวงตา เราต้องสร้างให้สัตว์เหล่านั้นมีภาพลวงตาที่คนอื่นไม่รู้ หรือคาดเดาได้ยากเอาไว้ด้วย
เริ่มจากรีเสิร์ชข้อมูล สเก็ตก่อนวาดจริงส่งอาจารย์ โดนแก้แล้วแก้อีกกว่า 10 แบบ เสนอคอนเซ็ปต์ แรงบันดาลใจ บีมใช้คอนเซ็ปต์ว่า การมองคนที่ภายนอก ภายนอกในแบบที่ไม่ใช่การ์ตูนน่ารัก ๆ ขี้เล่น ตีความไปถึงภายในจิตใจด้วย ซึ่งดีเทลต่าง ๆ ที่ต้องวัดตัวนายแบบในส่วนที่ยื่นออกมาก็จะมีกระดอง หู และปาก เลือกการให้สีเขียวด้วยสีอะคริลิกในการเพ้นต์ ใช้โฟมยางเป็นวัสดุที่ยื่นออกมา พอมาถึงหน้างานจริงก็ยากเลยล่ะ เพราะต้องแข่งกับเวลาด้วย
ในแฟชั่นโชว์บีมมิ่งจะให้กัปปะคลานออกมา แล้วเล่นกับคนดู เพราะเป็นสัตว์สี่เท้า ตอนที่คลานคนดูก็จะไม่เห็นโครงกระดูกที่พรางไว้ พอเล่นเสร็จปุ๊บปิดไฟ แล้วก็ค่อย ๆ ยืน เปิดไฟแบล็กไลต์กระทบกับลายโครงกระดูกสีขาวที่วาดไว้ คนดูบอกว่าน่ากลัวจริง ๆ ทั้งการสื่อสารท่าทาง คาแรกเตอร์ชัดเจน พอทุกอย่างมันสื่อออกมาถึงคนดูได้เขาก็จะเข้าใจกัปปะ และตีโจทย์เราออก
ได้เยอะเลยค่ะ อย่างคลาสแรกได้เรียนการแต่งหน้า สามารถทำให้คนที่แต่งไม่เป็นแต่งเป็น ยิ่งมีการแข่งขันก็ทำให้เรารู้สึกแอคทีฟตัวเองมากขึ้น อย่างวิชาศิลปะการแต่งหน้าเพื่อการแสดง อาจารย์สอนให้เรารู้จักการใช้เครื่องมือที่ไม่เคยใช้ บีมมิ่งปรึกษาอาจารย์ว่าจะใช้อะไรนำมาโค้งเป็นกระดองเต่าได้บ้าง คำตอบก็คือคิดสิ อะไรที่มันสามารถโค้งได้ คืออาจารย์ไม่ตีกรอบความคิด อันนี้สำคัญมากค่ะ แล้วก็ทำให้เราไม่จำกัดตัวเองด้วย
เรื่อง : วรรณวิสา สุภีโส