American = ชาวอเมริกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The United States)
ในศตวรรษที่ 19 ตอนที่อังกฤษตั้งอาณานิคมในอเมริกาเหนือ ชาวยุโรปจำนวนมากมีความฝันว่าจะทำงานในอเมริกา แม้ว่าปัจจุบันจะมีคนจำนวนมากที่ทำฝันเป็นจริงแล้วแต่ก็ยังคงพยายามอยู่ นั่นจึงเป็นที่มาของสำนวน American Dream ที่คนอเมริกันใช้พูดถึงการประสบความสำเร็จจากความอดทน บากบั่น ถ้าพยายามความฝันก็จะเป็นจริง
Ex. The American dream does not come to those who fall asleep.
(ความสำเร็จไม่แวะมาหาคนที่เอาแต่นอนหลับหรอกนะ)
Mexican = ชาวเม็กซิโก ประเทศเม็กซิโก (Mexico)
สำนวน a Mexican standoff ใช้พูดถึงสถานการณ์ขัดแย้งที่ทั้งสองฝ่ายหรือมากกว่านั้นต่างก็ทำอะไรกันไม่ได้ หรือหาผลแพ้ชนะไม่ได้จึงไม่สามารถดำเนินการหรือทำอะไรต่อได้ (มักใช้สำนวนนี้อธิบายถึงสถานการณ์ในทางธุรกิจที่ติดขัดตกลงกันไม่ได้) โดยสำนวนนี้มาจากการดวลปืนกันแล้วยากที่จะระบุผลแพ้ชนะอย่างที่เราเห็นบ่อย ๆ ในหนังคาวบอย
Ex. There seems to be a Mexican standoff, since neither party agree on the terms.
(มันก็ทำอะไรต่อไปไม่ได้หรอกเนื่องจากต่างฝ่ายก็ไม่ยอมรับข้อตกลงกันน่ะ)
Chinese = ชาวจีน ประเทศจีน (China)
สำนวน Chinese whispers มีที่มาจากเกมกระซิบบอกต่อข้อความจากหัวแถวไปหางแถวที่เด็ก ๆ ชอบเล่นกัน ดังนั้นจึงใช้สำนวนนี้เปรียบเทียบกับความผิดพลาดและข้อมูลที่คลาดเคลื่อนซึ่งมาจากข่าวลือที่บอกต่อ ๆ กันมา
Ex. The stories of his resignation are just Chinese whispers.
(เรื่องการลาออกของเขามันเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น)
Dutch = ชาวดัตช์ ประเทศเนเธอร์แลน์ (Netherlands)
สำนวน Dutch courage หมายถึง การดื่มเหล้าเล็กน้อยเพื่อสร้างความกล้าหรือความมั่นใจก่อนที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง หรือที่ภาษาไทยเราพูดกันว่า กินเหล้าย้อมใจ
Ex. I think I need to have a little Dutch courage before I will confess my love for her.
(ฉันคิดว่าฉันจำเป็นต้องกินเหล้าย้อมใจสักหน่อยก่อนที่ฉันจะสารภาพรักกับเธอ)
เวลาไปกินข้าวกับแก๊งค์เพื่อนหรือเดตแฟร์ ๆ กับชายหนุ่มโดยหารกันจ่าย ถ้าเคยพูดคำว่า อเมริกันแชร์ จงเลิกพูดได้เลย เพราะที่ถูกต้องคือ to go Dutch
Ex. I wouldn’t let a man pay for my meal on a first date. I prefer to go Dutch.
(ฉันไม่ปล่อยให้ผู้ชายจ่ายค่าอาหารของฉันในเดตแรกหรอก ฉันชอบแชร์กันจ่ายมากกว่า)
French = ชาวฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศส (France)
กฎหมายของฝรั่งเศสกำหนดให้พ่อ-แม่ที่ทำงานคนใดคนหนึ่งสามารถหยุดงานชั่วคราวเพื่อไปดูแลลูก (ตั้งแต่หนึ่งถึงสามปี) หรือลดชั่วโมงการทำงานและทำงานนอกเวลาได้ ซึ่งข้ออนุญาตนี้ช่วยยืดหยุ่นและรักษาสถานะในการจ้างงานพวกเขา จึงเป็นที่มาของสำนวน take French leave มีความหมายว่า ออกไปโดยทันที ออกไปอย่างกะทันหันโดยที่ไม่ได้รับการอนุมัติ
Ex. My plan is to take a French leave. I hate this party!
(แผนของฉันก็คือจะออกมาทันที ฉันเกลียดปาร์ตี้นี้)
Excuse my French หรือ Pardon my French เป็นสำนวนที่ใช้ขอโทษก่อนหรือหลังเวลาที่เราพูดไม่สุภาพหรือพูดคำหยาบคาย
Ex. Pardon my French but it’s so fucking disguisting.
(ขอโทษนะที่พูดคำหยาบ แต่แม่งรู้สึกแย่ชิบหาย)
**แต่เลือกไม่พูดคำหยาบคายดีที่สุดค่ะ
Greek = ชาวกรีก ประเทศกรีซ (Greece)
เราใช้วลี It’s all Greek to me เมื่อไม่เข้าใจหรือไม่มีความรู้ในประเด็นนั้น ๆ
Ex. He was trying to explain how the new software works but it was all Greek to me.
(เขาพยายามอธิบายการทำงานซอฟแวร์ใหม่ แต่ฉันไม่เข้าใจเลย)
Rome (โรม) = เมืองหลวงของประเทศอิตาลี (Italy)
สำนวน Rome wasn’t built in a day. แปลตรงตัวว่า โรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว เป็นสำนวนที่เราได้ยินหรือพูดกันบ่อย ๆ ใช้พูดเวลที่ต้องใช้เวลาในการทำงานยาก ๆ หรืองานสำคัญ
Ex. It takes time to learn a new skill you know, Rome wasn’t built in a day.
(มันต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ โรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวนี่นะ)
When in Rome (do as Romans do) เมื่ออยู่ในโรมให้ทำอย่างที่คนโรมเค้าทำกัน เทียบกับสำนวนไทยได้ว่า เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาม หมายถึง เมื่อเราไปต่างบ้านต่างเมืองก็ควรประพฤติปฏิบัติอย่างที่คนท้องถิ่นที่นั่นเค้าทำกัน
Ex. When I’m in Europe, I have a glass of wine or beer with lunch. When in Rome, do as the Romans do.
(เมื่อฉันอยู่ยุโรป ฉันจะดื่มไวน์หรือเบียร์ 1 แก้วในมื้อกลางวัน เข้าเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตามไง)
Talk for England ใช้เมื่อใครบางคนพูดได้เป็นชั่วโมง ๆ เทียบกับสำนวนไทยได้ว่า พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง (น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง) หมายถึง พูดเยอะ พูดมาก แต่เนื้อหาสาระที่พูดมีน้อย
Ex. Whenever I’m with Jane, she can talk for England! I couldn’t get away from her.
(เมื่อไหร่ก็ตามที่ฉันอยู่กับเจน เธอสามารถพูดได้เป็นชั่วโมง ๆ ฉันไม่สามารถปลีกตัวมาจากเธอได้เลย)
Indian = ชาวอินเดีย ประเทศอินเดีย (India)
ชาวอินเดียมีประเพณีให้ของขวัญและอวยพรให้ผู้รับมีความสุข แต่ถ้าผู้รับไม่ได้มีชีวิตที่มีความสุขก็สามารถคืนของขวัญนั้นกลับให้ผู้ให้ได้ จึงเป็นที่มาของสำนวน Indian giver ใช้พูดเมื่อเราให้ของขวัญผู้อื่น แล้วเขาคืนของขวัญนั้นกลับมา
Ex. I hate Peter!! He’s such an Indian giver.
(ฉันเกลียดปีเตอร์ เขาคืนของขวัญที่ฉันให้เขาน่ะ)
สำนวน Indian summer เป็นของฝั่ง British English หมายถึง ช่วงฤดูใบร่วงที่สภาพอากาศอบอุ่นเป็นพิเศษ (ปกติฤดูใบไม้ร่วงอากาศจะเริ่มเย็นแล้ว)
Ex. It’s a balmy Indian summer day today.
(วันนี้เป็นฤดูใบไม้ร่วงที่แสนอบอุ่นปลอดโปร่งดีจัง)
Turk = ชื่อที่ใช้เรียกคนตุรกี ประเทศตุรกี (Turkey)
young Turk คือ ทหารหนุ่มในตุรกีที่รวมตัวกันเรียกตัวเองว่า กลุ่มกบฏยังเติร์ก ทำการปฏิวัติโค่นล้มระบอบสุลต่านได้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของสำนวน a young Turk ที่ใช้เรียกกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้าต้องการปรับเปลี่ยนระบบเดิม ๆ และไม่สามารถควบคุมได้
Ex. Narong's only been at the company for two weeks and has already been called to the manager's office twice! What to do with this young Turk?"
(ณรงค์เข้ามาทำงานได้เพียง 2 สัปดาห์ ก็ถูกผู้จัดการเรียกพบไป 2 ครั้งแล้ว จะทำยังไงกับยังเติร์กคนนี้กันล่ะ)
Spanish = ชาวสเปน ประเทศสเปน (Spain)
ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ความพ่ายแพ้ของกองทัพเรือสเปนถูกคนอังกฤษเหน็บแนมและคุยโตโอ้อวด จึงเป็นที่มาของวลี Spanish athlete ที่มีความหมายว่า ขี้โม้, คุยโตโอ้อวด, พูดเกินจริง
Ex. Tom has been a Spanish athlete since he was 5!
(ทอมขี้โม้มาตั้งแต่เขา 5 ขวบแล้วล่ะ)