พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือมักเรียกว่า พระคาถาพาหุง ตามวรรคแรกของพระคาถา หรือในภาษาบาลีเรียก พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา เรียกอีกอย่างว่า ชัยมงคลคาถา หรือ บทสวดถวายพรพระ เป็นชื่อพระคาถาในพระพุทธศาสนา มีความยาวแปดบท ใช้สวดสรรเสริญชัยชนะแปดประการที่พระสมณโคดมทรงมีเหนือมนุษย์และอมนุษย์ด้วยธรรมานุภาพ
พระคาถานี้ปัจจุบันมักใช้สวดต่อจากคาถาทำวัตรเช้าหรือเย็น
ที่มา ไม่เป็นที่แน่ชัดนัก
ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต แสดงความเห็นไว้ว่า
บางกระแสว่าน่าจะแต่งโดยนักปราชญ์ศรีลังกา เพราะพระลังกาสวดกันได้ทุกรูป
นอกจากนี้ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า ผู้ประพันธ์คาถานี้คือ พระมหาพุทธสิริเถระ ซึ่งรจนาคัมภีร์ฎีกาพาหุง ในราว พ.ศ. 2006 ตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 2100
ทั้งนี้ บางกระแสระบุว่า คาถานี้ชื่อว่า “บทถวายพรพระ” เพราะแต่งถวายพระเจ้าแผ่นดินชนะศึก
ส่วนจะเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ไหนนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) ระบุว่า เป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ท่านเล่าว่าได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยาในนิมิต และได้ทราบว่า เป็นบทสวดที่สมเด็จพระพนรัตน์ ได้จารึกถวายต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำ ระหว่างอยู่ในพระบรมหาราชวัง หรือระหว่างออกศึกสงคราม เพื่อให้มีชัยต่อพระมหาอุปราชแห่งพม่า และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากกรุงหงสาวดีได้สำเร็จ
สร้างพุทธคุณให้เกิดในตน มีผลพ้นบ่วงมาร
บทสวดนี้มีอานุภาพเนื่องจากเป็นคาถาที่นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงผจญและชนะมารได้รวมลงไว้ในคาถานี้
ช่วยให้จิตใจเข้มแข็ง พร้อมเผชิญอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาเสมอ บางอย่างเป็นผลจากกรรม ที่ทำไว้ในอดีตผ่านมา บางคราก็เกิดจากกรรมปัจจุปัน
ซึ่งหากผู้สวดน้อมนำสารธรรมที่แฝงความหมายของเเง่คิดในบทสวด มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขเหตุการณ์ต่าง ๆ มีผลให้เกิดสติปัญญา ขจัดปัดเป่าอุปสรรคข้อข้องหมดสิ้นไปจากชีวิต ด้วยความเข้มขลังจากตัวคาถา
ความเข้มขลังของพลังพระพุทธมนต์บทนี้ อยู่ที่สารธรรม คือ พุทธวิธีที่ทรงใช้ เพราะชัยชนะของพระพุทธองค์ มิใช่ทรงมาได้ด้วยพละกำลัง แต่ทรงได้มาด้วยพระธรรมของพระองค์เอง คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณและพระกรุณาคุณ จึงเป็นชัยชนะ ที่มิต้องมีการเสียเนื้อของผู้เข้ามาผจญแต่อย่างใด
เริ่มตามลำดับ ดังนี้
พระคาถาพาหุงบทแรก พญามารเข้าผจญพระพุทธองค์เพื่อขวางการตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงใช้บารมีของพระองค์ ปรากฎพระแม่ธรณีออกมาบีมมวยผม
อานุภาพแห่งพระคาถาบทที่1
สะท้อนพุทธคุณในการช่วยปัดเป่าอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
ทรงปราบอาฬาวกะยักษ์ที่ได้รับพรจากท้าวเวสสุวรรณให้จับสิ่งมีชีวิต ที่เข้ามาไกล้เขตของตนกินได้ โดยทรงใช้ขันติเข้าปราม
อานุภาพแห่งพระคาถาบทที่2
เพื่อเอาชนะคนที่มีจิตใจกระด้างอำมหิต
พระเทวทัตคิดกลอุบายปล่อยช้างนาฬาคิรี ที่เมาและตกมันมาหมายจะสังหารพระพุทธองค์ ทรงแผ่เมตตาไปยังพญาช้างทำให้พญาช้างสงบ
อานุภาพของพระคาถาบทที่ 3
เพื่อชนะศัตรูสัตว์ร้ายทั้งหลาย
โจรองคุลีมารถือดาบหมายจะสังหารพระพุทธองค์ และทรงใช้อิทธิฤทธิ์ทางใจจนสามารถเอาชนะใจโจร องคุลีมารให้กลับใจได้
อานุภาพของพระคาถาบทที่ 4
เพื่อป้องกันโจรและกลับใจคนได้
นักบวชลัทธิเชนจ้างโสเภณี ชื่อ จิญจายะใส่ร้ายว่า ท้องกับพระพุทธองค์ ทรงชนะได้ด้วยวิธีสงบพระหฤทัย จนท้ายที่สุด นางจิญจายะต้องโทษถูกธรณีสูบเอง
อานุภาพพระคาถาบทที่ 5
เพื่อเอาชนะการใส่ร้าย การชนะคดีความ
สัจจะกนิครณ นักบวชลัทธิเชน กล่าวท้าทายดูหมิ่นศาสนาพุทธ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโต้ตอบเพื่อโปรดความเขลาจนนักบวชต้องจนหนทาง
อานุภาพของพระคาถาบทที่ 6
เพื่อเอาชนะความเขลาของคนและเอาชนะการโต้เถียงขัดแย้ง
นันโทปนันทนาคราชไม่พอใจพระพุทธเจ้าที่เหาะข้ามวิมานตนไป จึงมาท้าทาย พระโมคลานะจึงขออาสาใช้ฤทธิ์ปราบพญานาคราช จนสามารถปราบเอาชนะได้
อานุภาพแก่งพระคาถาบทที่ 7
เพื่อเอาชนะเล่ห์เลี่ยมของคน
พรหมชื่อ พกาหลงผิดคิดว่าตนนั้นบรรลุอยู่คงทนเป็นนิรันดร์ พระพุทธองค์จึงมาแสดงธรรมเพื่อโปรด พกามาพรหมท้าทายลองฤทธิ์กับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงแสดงอิทธิฤทธิ์แอบซ่อนตัวในมวยผมเพื่อให้พกามาพรหมค้นหาและทรงชนะในที่สุด
อานุภาพของพระคาถาบทที่ 8
เพื่อเอาชนะมานะทิฎฐิ
เริ่มต้น
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
---------------------------------------------------------------------------------
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล
พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธ ครบมือ
ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามาร โห่ร้องก้องกึก
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น
ด้วยเดช แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล
อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจาก ความอดทน ดุร้าย
สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่าง ทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี
พระจอมมุนีทรง เอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี
ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล
พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก
และแสนจะดุร้าย ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า
ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ ความมีพระทัยเมตตา
ด้วยเดช แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล
โจรองคุลิมาล (โจรฆ่าคนเอานิ้ว ทำพวงมาลัยแสนดุร้าย)
ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์
พระจอมมุณี ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ
ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
กัตวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล
นางจิญจมาณวิกา (สาวิกาพวกนิครนถ์) เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง
ทำอาการ ประหนึ่งว่ามีครรภ์ ใส่ร้ายพระพุทะเจ้าท่ามกลางฝูงชน
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม
ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล
สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ
ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคนมืดบอดยิ่งนัก
พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย “แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้
ด้วยเดชแห่ง ชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล
พญานาค ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก
พระจอมมุนี ทรงมี พุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรสไปปราบ
ด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า
ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่าน
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล
พรหมชื่อพะกา ผู้มีฤทธิ์ เห็นผิดคิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
ยึดมั่นในความเห็นผิดดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา
เพราะมีจิตที่คิดถือเอาความเห็นผิด
พระองค์จึงทรงใช้วิธีวางยา คือ ทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ
คำแปล
คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้าน
พึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่ง พระนิพพานอันเป็นสุข
---------------------------------------------------------------------------------
มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก์ยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
คำแปล
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด
เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
(จบบทสวดถวายพรพระ)