Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิธีการและหลักการของการประกันสังคม

Posted By Plookpedia | 22 ธ.ค. 59
1,152 Views

  Favorite

วิธีการและหลักการของการประกันสังคม 

ประเทศที่มีการประกันสังคม จะมีกฎหมาย กำหนดให้รัฐบาลทำหน้าที่เรียกเก็บเงินสมทบ จากประชาชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อรวบรวมเป็นกองทุนกลาง โดยมีการจัดตั้งสำนักงานขึ้น ทำหน้าที่บริหารเงินทุน การเก็บเงินรวบรวมเป็นกองทุนกลางนี้ เรียกเก็บจากประชาชน ในช่วงระยะเวลาที่เขาสามารถทำงาน และมีเงิน เข้าทำนอง เก็บสะสมเป็นเงินออมไปเรื่อยๆ แนวความคิดเช่นนี้ เกิดขึ้นในสังคมอุตสาหกรรมก่อน เพราะในระบบนี้ ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาญาติพี่น้องได้ สังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมที่ประชาชนต้องปรับตัว ต้องปรับสภาพการดำเนินชีวิต ต้องมีที่อยู่ใหม่ ต้องขวนขวายหางานทำ เพื่อให้มีรายได้ และการที่จะมีปัจจัยสี่มาดำรงชีพนั้น ต้องใช้แรงงาน แลกเปลี่ยนด้วยการทำงานเป็นหลัก งานส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นงานรับจ้าง ซึ่งให้ผลตอบแทนเป็นค่าจ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนแรงงาน เมื่อใดที่แรงงานหยุดชะงัก การขาดรายได้ก็จะเกิดขึ้น เมื่อรายได้ขาดไปด้วยสาเหตุใดๆ เป็นการยากที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดในสังคมปัจจุบัน จะสามารถเข้ารับผิดชอบ หารายได้ที่ขาดไปตามลำดับ ทำให้ความเดือดร้อนเกิดขึ้น และจะเดือดร้อนถึงบุคคลอื่นๆ ที่ต้องพึ่งพาบุคคลที่เคยมีรายได้ การประกันความมั่นคงของประชาชน เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุนี้ โดยการนำเงินจากกองทุนกลางมาจ่ายให้แก่สมาชิก หรือผู้เอาประกัน ตามลักษณะประเภท และอัตราที่กำหนด เป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน

แผนผังแสดงมาตรฐานขั้นต่ำในการประกันสังคม ตามอนุสัญญาฉบับที่๑๐๒ ค.ศ. ๑๙๕๒

การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนกลางอาศัย หลักการความเสี่ยงภัยร่วมกัน ทั้งนี้เพราะภัยต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการคาดหวังมาก่อนจนทำ ให้ต้องขาดรายได้ เช่น การประสบอุบัติเหตุ การ เจ็บป่วย การตกงาน เป็นต้น และเมื่อทุกคน เสี่ยงภัยร่วมกันเงินกองทุนจะมีมากขึ้น สามารถ นำไปจ่ายกับบุคคลที่ประสบภัยได้ในจำนวนที่ พอสมควรตามที่กำหนด การเก็บเงินสมทบเป็น กองทุนนี้อาศัยหลักการที่ว่า อุบัติเหตุหรือการ ขาดรายได้นั้นมิได้เกิดขึ้นกับทุกคนในเวลาเดียว กัน ฉะนั้นเงินทุนที่เก็บอยู่ตลอดเวลาที่แต่ละคน ทำงานจะมีสะสมมากพอเป็นทุนสำรองได้ 


หลักการของการประกันสังคม ก็คล้ายๆ กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในเรื่องเกี่ยวกับอนิจจัง คือถือว่า ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่แน่นอน มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย หมุนเวียนกันไป ดังนั้น คำสอนของพระพุทธองค์ จึงสอนให้คนดำรงอยู่ โดยไม่ประมาท เร่งสร้างความดี ความดีในทัศนะของพระพุทธเจ้านั้น นอกจากจะหมายถึง การสร้างบุญ สร้างกุศล การทำให้จิตใจสงบแล้ว ยังรวมถึงการสะสมปัจจัยต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ดีงาม เช่น การมีร่างกายที่ดี อนามัยที่ดี จิตใจที่ดี มีความรู้ มีฝีมือ มีการประกอบสัมมาอาชีพ มีความเพียรชอบ และการเก็บออมก็เป็นเรื่องหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้หลายคราว การประกัน สังคมก็ตั้งอยู่บนรากฐานดังกล่าวนี้ คือ ในระหว่างที่ยังมีกำลังวังชาหารายได้ ก็อย่าได้ประมาท ควรเก็บออมไว้ จะได้เอาไปใช้สอยได้ ในยามขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นผลจากการเจ็บป่วย พิการ หรือตกงาน และโดยธรรมชาติ มนุษย์จะเก็บออมได้ด้วยตนเองนั้น ค่อนข้างยาก จึงจำเป็นที่รัฐต้องออกกฎหมายขึ้น ในทำนองการบังคับ แต่ก็เป็นการบังคับที่มุ่งประโยชน์ของผู้ที่ถูกบังคับโดยตรง

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow