เมื่อลูกน้อยมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป ควรเริ่มให้ทานอาหารเสริมควบคู่ไปกับนมแม่ เพื่อให้ได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งยังช่วยปรับตัวให้ลูกน้อยคุ้นเคยกับรสชาติอาหารได้อีกด้วย ซึ่งอาหารของเด็กทารกแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกันดังนี้
ช่วงนี้ต้องให้ลูกฝึกการบดเคี้ยวก่อนด้วยอาหารเหลวแบบข้น จะเป็นจำพวกผัก อาทิ ตำลึง ฟักทอง หัวผักกาด และมันฝรั่ง หรือจะเป็นไข่แดง กล้วย ส้ม และแอปเปิ้ล นำมาต้มจนเปื่อยแล้วบดกับข้าวจนละเอียดก็ได้ ควรป้อนให้ลูก 1-2 ช้อนชาก่อนเพื่อดูว่าลูกกินได้ไหม มีอาการแพ้หรือไม่ และควรทำเมนูเดิมติดต่อกันประมาณ 5-7 วันเพื่อสังเกตอาการแพ้ก่อนเปลี่ยนเป็นเมนูอื่น เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
วัตถุดิบ
- แครอทดิบ
- น้ำต้มสุก
วิธีทำ
- ปอกเปลือกแครอท และซอยเป็นแว่น ๆ
- ต้มแครอทในน้ำต้มสุกจนเนื้อนิ่ม
- บดแครอทในถ้วยบดจนละเอียดเป็นเนื้อเนียน
วัตถุดิบ
- แอปเปิ้ล
- กล้วย
- สาลี่
- น้ำต้มสุก
วิธีทำ
- ปอกเปลือกผลไม้ แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- ต้มด้วยน้ำต้มสุกจนผลไม้นิ่ม
- บดผลไม้ด้วยถ้วยบดจนละเอียดเป็นเนื้อเนียน
วัตถุดิบ
- กล้วยหอม
- นมแม่หรือนมสดที่ลูกกินอยู่
- ข้าวบดสำหรับเด็ก
วิธีทำ
- บดกล้วยจนเนื้อละเอียด
- ผสมข้าวบดกับนมเข้าด้วยกัน
- นำข้าวบด นม และกล้วยผสมเข้าด้วยกันจนเนื้อเนียน
วัตถุดิบ
- ฟักทองนึ่งสุก
- นมแม่หรือนมสดที่ลูกกินอยู่
- ข้าวบดสำหรับเด็ก
วิธีทำ
- บดฟักทองจนเนื้อนุ่มละเอียด
- ผสมข้าวบดกับนมเข้าด้วยกัน
- นำข้าวบด นม และฟักทองผสมเข้าด้วยกันจนเนื้อเนียน
วัตถุดิบ
- ผักโขมต้มสุก
- ตำลึงต้มสุก
- ข้าวบดสำหรับเด็ก
- นมแม่หรือนมสดที่ลูกกินอยู่
วิธีทำ
- นำผักต้มทั้งหมดมาบดจนละเอียด
- ผสมข้าวบดกับนมเข้าด้วยกัน
- นำผักต้ม ข้าวบด และนมผสมเข้าด้วยกันจนเนื้อเนียน
เด็กวัยนี้เริ่มทานอาหารได้หลากหลายขึ้น อาจเพิ่มเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู หรือผักชนิดอื่น ๆ อาทิ ถั่วลันเตา แครอท เห็ด หอมใหญ่ บล็อกโคลี บีทรูท เป็นต้น บดแบบหยาบเพื่อให้ลูกได้ใช้เหงือกหรือฟันเคี้ยวอาหารเพื่อความเพลิดเพลิน และลิ้มรสชาติอาหารอย่างเต็มที่ แต่ไม่ควรใส่เกลือ น้ำตาล หรือน้ำผึ้งเพื่อปรุงรส เพราะอาจทำให้เด็กติดรสชาติอาหารนั้น ๆ จนส่งผลเสียได้
วัตถุดิบ
- เนื้อปลา
- แครอทต้มจนนิ่ม
- ฟักทองต้มจนนิ่ม
- ฟักอ่อนต้มจนนิ่ม
วิธีทำ
- หั่นแครอท ฟักทอง และฟักอ่อนต้มให้มีขนาดเล็ก พอดีคำลูก
- ต้มผักทั้งหมดให้สุกจนนิ่ม
- ต้มเนื้อปลาจนสุก แล้วยีเนื้อปลาเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- ผสมเนื้อปลากับผักเข้าด้วยกัน
วัตถุดิบ
- ข้าวกล้องหุงนิ่ม
- มะเขือเทศ
- เห็ดออรินจิ
- น้ำซุป
วิธีทำ
- หั่นมะเขือเทศและเห็ดออรินจิขนาดเล็กพอดีคำลูก
- ต้มผักจนสุกนิ่ม
- นำข้าวหุงนิ่มมาบี้เล็กน้อย เทน้ำซุปลงไป
- ผสมข้าวกับผักให้เข้ากัน
วัตถุดิบ
- ข้าวบดสำหรับเด็ก
- ตำลึง
- ปวยเล้ง
- น้ำซุป
วิธีทำ
- สับตำลึงและปวยเล้งจนละเอียด
- ต้มข้าวบด ตำลึง ปวยเล้งในน้ำซุป
- เคี่ยวจนเป็นเนื้อเดียวกัน
วัตถุดิบ
- ข้าวบดสำหรับเด็ก
- ฟักทองต้มจนนิ่ม
- ไข่แดงต้มสุก
- เต้าหู้ไข่
วิธีทำ
- ต้มข้าวบดจนนิ่ม
- หั่นฟักทองและเต้าหู้ไข่ขนาดเล็กพอดีคำลูก
- ยีไข่แดงผสมกับฟักทอง
- ผสมไข่แดง ฟักทอง เต้าหู้ไข่ และข้าวบดเข้าด้วยกัน
วัตถุดิบ
- ฟักทองต้มจนนิ่ม
- แครอทต้มจนนิ่ม
- ข้าวกล้องหุงนิ่ม
- ไข่แดงต้มสุก
- น้ำซุป
วิธีทำ
- หั่นฟักทอง และแครอทเป็นชิ้นพอดีคำลูก
- ยีไข่แดง นำไปคลุกกับข้าวกล้อง บี้เล็กน้อยให้เข้ากัน
- ใส่ผักและน้ำซุปลงไปผสมให้เข้ากัน
เด็กวัยนี้เริ่มเคี้ยวอาหารอ่อนนุ่มได้บ้าง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมอาหารชิ้นเล็กพอดีคำ และเคี้ยวง่ายให้กับลูก เน้นโปรตีนเป็นหลัก และอาจเพิ่มมะม่วงสุก สับปะรด มะเขือเทศ หรือเต้าหู้ เสริมเข้ามาด้วย ทั้งนี้ควรจัดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ 1 ถ้วยเล็ก เพื่อไม่ให้ลูกอิ่มเกินไปจนท้องอืด
วัตถุดิบ
- แครอท
- บล็อคโคลี
- เนื้ออกไก่
- นม
- น้ำซุป
วิธีทำ
- ตั้งน้ำซุป เติมนมลงไป ต้มจนเดือด
- ใส่แครอท บล็อคโคลี และอกไก่ไปต้มจนนิ่ม
วัตถุดิบ
- ฟักทองต้มสุกจนนิ่ม
- ข้าวหุงสุก
- นม
วิธีทำ
- ต้มนมจนเดือด
- ใส่ฟักทองและข้าวลงไป
- เคี่ยวจนข้าวต้มข้นเข้ากัน
วัตถุดิบ
- แป้งเกี๊ยว
- กุ้งสับละเอียด
- ผักโขมสับต้มสุก
- น้ำซุป
วิธีทำ
- นำกุ้งสับละเอียดมาผสมกับผักโขม
- นำแป้งเกี๊ยวห่อกุ้งผักโขมเป็นรูปคุณหมี
- ต้มในน้ำซุปจนสุก
วัตถุดิบ
- ไข่ไก่
- เห็ดต้มจนนิ่ม
- เนื้ออกไก่ต้มสุก
- ผักชีหั่นละเอียด
- น้ำซุป
วิธีทำ
- ผสมน้ำซุปกับไข่ไก่เข้าด้วยกัน
- ใส่เห็ด และเนื้อไก่ลงไปก้นถ้วยที่เตรียมไว้
- เทไข่ไก่ใส่ถ้วยผ่านกระชอน ให้เนื้อเนียนสวย
- นึ่งจนสุก
วัตถุดิบ
- แครอท
- มักกะโรนีรูป ABC
- ผักโรยตามชอบ
- น้ำซุป
วิธีทำ
- ต้มน้ำซุปจนเดือด ใส่แครอทลงไป
- ใส่มักกะโรนีตาม
- ต้มจนสุก
นอกจากอาหารตามช่วงวัยดังกล่าวแล้ว เมื่อเด็กเริ่มหัดกินอาหาร เด็กอาจไม่อยู่นิ่ง เพราะเริ่มสนใจสิ่งรอบข้างมากกว่า คุณพ่อคุณแม่ควรอดทน ปรับให้เด็กสนใจอาหาร และถ้าเด็กเริ่มหยิบอาหารเล่นก็ควรปล่อยเขาไป แต่ให้สังเกตอยู่ใกล้ ๆ เพื่อให้เด็กมีทัศนคติในการกินอาหารที่ดี ไม่ดื้อ ไม่งอแงเมื่อโตขึ้น