Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

นมแม่

Posted By Plookpedia | 10 ธ.ค. 59
1,167 Views

  Favorite

นมแม่

      เต้านมหญิงเมื่อเป็นสาว จะประกอบด้วยต่อมสร้างน้ำนมจำนวนมาก จากต่อมนี้จะมีท่อส่งน้ำนมรวมกันประมาณ ๑๕-๒๐ ท่อ มาที่หัวนม ก่อนจะถึงหัวนมนี้จะป่องเป็นกระเปาะอยู่ตรงบริเวณลานหัวนม (บริเวณที่มีสีคล้ำที่ผิวหนังรอบๆ หัวนม) เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เต้านมจะมีการเจริญเติบโตขึ้น จากอิธิพลของโฮร์โมน เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน โดยเอสโดรเจนกระตุ้นให้มีการเติบโตของท่อ และระบบการหลั่งเก็บนม ส่วนโปรเจสเตอโรนช่วยให้มีการเจริญเติบโตของต่อมสร้างน้ำนม  จำนวนการหลั่งของนมแม่มีแตกต่างกันแต่ละบุคคล หากได้รับการแนะนำ และปฏิบัติตามแล้ว จำนวนน้ำนมที่หลั่งจะเพียงพอสำหรับเลี้ยงลูก ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ ๕-๖ เดือน ปัจจัยสำคัญที่จะต้องคำนึง คือ 

๑. สภาพโภชนาของแม่

แม่จำเป็นต้องได้รับอาหารเพียงพอสำหรับตนเอง และเด็กในครรภ์ ตลอดจนสะสมไว้สำหรับสร้างน้ำนมหลังคลอด ดังนั้นแม่เมื่อก่อนคลอดจะมีน้ำหนักเพิ่มจากก่อนตั้งครรภ์ประมาณ ๑๒ กิโลกรัม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะเป็นน้ำหนักของลูก รกและน้ำคร่ำ ประมาณ ๔ กิโลกรัม อีกประมาณ ๔-๖ กิโลกรัม จะสำรองไว้สำหรับการสร้างน้ำนมในรูปแบบของไขมัน หรือประมาณ ๓๖,๐๐๐ แคลอรี พลังงานจำนวนนี้สามารถจะใช้ช่วยในการสร้างน้ำนมได้ประมาณ ๓๐๐ แคละรีต่อวันเป็นเวลาถึง ๔ เดือน ดังนั้น หากแม่ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง จะเป็นสาเหตุให้อ้วนเกิน 

แม่ที่ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าและจำนวนเพียงพอจะ หลั่งน้ำนมได้มาก ส่วนคุณภาพของสารอาหารที่สำคัญของนม เช่น โปรตีน ไขมัน และน้ำตาลนั้น ใกล้เคียงกัน มีจำนวนไขมัน และวิตามินบางอย่าง ซึ่งพบว่า มีสูงในแม่ที่มีสภาพโภชนาการดี

๒. ปัจจัยด้านฮอร์โมน 

การหลั่งน้ำนมจะถูกควบคุมโดยต่อมไร้ท่อในร่างกาย ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด เช่น โปรแลคติน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมปิตูอิตารีซึ่งอยู่ในสมองส่วนหน้า นับได้ว่าเป็นกุญแจของฮอร์โมนของการหลั่งน้ำนมตั้งแต่เริ่มต้นและต่อๆ มา ขณะที่เด็กยังไม่คลอด โปรแลคตินจะถูกควบคุมโดยสารป้องกันการหลั่งของนม ซึ่งสร้างโดยไฮโปธาลามัสของสมอง ดังนั้น น้ำนมจึงไม่ไหลก่อนคลอดนอกจากระยะสามเดือนหลังของการตั้งครรภ์จะมีน้ำนมเหลือง (Colostrum) เป็นน้ำใสสีเหลืองออกเล็กน้อย เมื่อนวดและบีบเบาๆ บริเวณลานหัวนม อิทธิพลของฮอร์โมนต่อการหลั่งน้ำนมมี ๒ รูป แบบ คือ 

๒.๑ การหลั่งโดยตรง 

      เมื่อเด็กดูดนมบริเวณหัวนมและลานหัวนม จะมีเส้นประสาทเลี้ยงอย่างมากมาย ผลของการกระตุ้นที่ปลายประสาทจะส่งกระแสไปยังไฮโปธาลามัส และจากไฮโปธาลามัสมีกระแสกระตุ้นมายังต่อมปิตูอิตารีทั้งส่วนหน้าและหลัง จากส่วนหน้า โปรแลคตินจะหลั่งออก ทำให้ต่อมสร้างน้ำนมหลั่งน้ำนมเพื่อทดแทนนมที่เด็กดูดออก ไป 

๒.๒ การไหลของน้ำนมเอง 

      การที่ต่อมปิตูอิตารีส่วนหลังถูกกระตุ้นโดยไฮโปธาลามัสก็จะหลั่ง "ออกซีไทซิน" ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อของเยื่อบุของต่อมน้ำนม ช่วยให้มีการขับน้ำนมมาตามท่อทำให้ไหลสะดวกมากขึ้นนอก จากแรงดูดของเด็กดังจะเห็นว่าขณะที่เด็กดูดนมจากเต้าหนึ่งแล้ว ยังมีน้ำนมไหลเอง เล็กๆ น้อยๆ จากอีกเต้าหนึ่ง 

๓. ปัจจัยทางจิตใจ 

      ตั้งแต่ดั้งเดิมและปัจจุบันในชุมชนชนบท การเลี้ยงลูกต้องอาศัยนมแม่อย่างเดียว ไม่มีนมอื่นมาทดแทน แม่จึงใช้เลี้ยงลูกจนอายุ ๑(๑/๒) - ๒ ปี หรือจนกระทั่งตั้งครรภ์ใหม่ การปฏิบัติดังนี้ ก่อให้เกิดความสุขและความพึงพอใจ ทั้งแม่และลูกกระชับความสัมพันธ์ยิ่งขึ้น ปัจจุบันในชุมชนเขตเมืองแม่มีความจำเป็นต้องทำงาน มีความเครียดอีกทั้งมีนมอื่นทดแทน นับเป็นอิทธิพลที่สำคัญในด้านลมต่อการกระตุ้น "ไฮโปธาลามัส" เป็นเหตุให้การหลั่งน้ำนมลดลงได้ดังนั้นความพร้อมและความเข้าใจถึงประโยชน์ของนมแม่ตลอดจนการสนับสนุนของผู้ใกล้เคียง เช่น พ่อ ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ สามารถทำให้แม่มีความมั่นใจ และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองได้สำเร็จ 

ลักษณะและการหลั่งของนมแม่ 

      ภายหลังคลอด จะมีน้ำนมสีเหลืองข้น มีโปรตีนสูงจำนวนเล็กน้อยในวันแรก น้ำนมสีเหลืองมีประโยชน์มากเพราะมีส่วนประกอบของ "อิมมูโนโกลบูลิน" ที่จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กที่ได้รับ โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันโรคของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ ลดอัตราโรคท้องร่วงและปอดอักเสบได้ ภายหลัง ๒๔-๔๘ ชั่วโมง ฮอร์โมนจะช่วยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมอย่างรวดเร็ว มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น เต้านมจะขยายตัวมากขึ้นและตึง มีการหลั่งน้ำนมเพิ่มขึ้น นมที่ไหลออกมาจะมีสีจางลงเป็นสีขาวขุ่น จำนวนนมจะหลั่งออกเต็มที่ประมาณวันที่ ๖-๗ หลังคลอด ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของเด็กในการเติบโตด้วย

 

 

      ส่วนประกอบของนม ตามธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ชนิดแตกต่างกัน สุดแต่ชนิดของสัตว์ที่จะใช้ในการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ สำหรับข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างนมแม่กับนมวัว (มักจะใช้เป็นนมทดแทนนมแม่) นั้นก็คือโปรตีนของนมวัวมากกว่า แต่เด็กไม่สามารถจะย่อยได้ โดยที่ส่วนประกอบของโปรตีนในนมวัวเป็นเคซีอีน น้ำตาลของนมแม่จะเป็นชนิดเล็ก โทสแทนทั้งสิ้น และมีจำนวนมากกว่า ส่วนไขมันถึงแม้จะมีจำนวนเท่ากัน แต่ไขมันของนมแม่เป็นชนิดไม่อิ่มตัว เด็กย่อมได้ง่ายกว่า ถึงแม้ปัจจุบันมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่พยายามเปลี่ยนแปลงนมวัวให้มีส่วนประกอบต่างๆ คล้ายนมแม่ แต่ก็ยังไม่สามารถจะทำได้ครบทุกส่วนประกอบดังนั้นจึงไม่สามารถจะใช้ทดแทนนมแม่ได้ พอที่จะสรุปได้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นการเลี้ยงตามธรรมชาติที่ถูกต้องและไม่สิ้นเปลือง เพิ่มความสัมพันธ์และความรักระหว่างแม่กับลูกลดอัตราเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคท้องร่วงและขาดอาหารให้วัยทารก โรคภูมิแพ้ และโรคอ้วนเมื่อเติบโตขึ้นลดน้ำหนักแม่โดยตรงภายหลังคลอด และทำให้ระยะเวลาตั้งครรภ์ห่างได้

การให้นมลูก 

      ขณะเริ่มให้ลูกดูดนม ควรจะอยู่ในระยะที่สบาย ไม่มีกังวลทั้งแม่และลูกได้หยอกล้อและใกล้ชิดกันอย่างมีความสุข เสริมความรัก และความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ท่าที่เหมาะสม คือนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนัก และมีที่รองเท้า เด็กอยู่ในอ้อมแขน สำหรับหลังคลอดใหม่ๆ อาจจะนอนตะแคงให้ก็ได้ เมื่อริมฝีปากของเด็กกระทบหัวนม ความรู้สึกนี้จะทำให้เด็กหันปากมา อ้าปากดูดนมตามธรรมชาติ มีบางคราวอาจจะต้องช่วยจับหัวนมให้จ่อที่ปากเด็ก และขยับท่าให้เหมาะสมเพื่อให้ปากเด็กกระชับกับเต้านม 

      การจะให้นมลูกเมื่อใด และแต่ละครั้งนานเท่าใดนั้น ตัวแม่และลูกเองเป็นผู้กำหนด ปกติประมาณ ๓-๔ ชั่วโมงต่อ ครั้ง เมื่อเด็กหิว แม่จะสังเกตได้ โดยมากเป็นเวลาหลังตื่น และมีกิริยาแสดงว่าหิว ก่อนที่จะร้องก็เริ่มให้ได้เลย ภายหลังดูด ได้ประมาณ ๕ นาที เด็กก็จะได้นมประมาณ ๓/๔ ของความ ต้องการแล้ว การดูดนมจะเป็นเวลาให้แม่และเด็กมีความสุข และกระตุ้นการสร้างน้ำนม เพื่อเตรียมไว้คราวต่อไป จึงมักจะให้เวลาทั้งสิ้นประมาณ ๑๕-๒๐ นาที หลังจากนั้น ควรจะจับเด็กนั่งหรือพาดบ่าตบหลังเบาๆ เพื่อให้เด็กเรอเอาลมออก ถ้าจับนอนทันที เด็กมักขย้อน การดูดแต่ละครั้งดูดจากเต้าเดียวก็เพียงพอ ครั้งต่อไปจึงสลับข้างกัน 

การดูแลเต้านม 

      การให้ลูกดูนมเป็นธรรมชาติ ถึงแม้หัวนมและลานหัวนมจะมีปลายประสาทมาเลี้ยงอย่างมากและบอบบางก็ตาม ธรรมชาติได้สร้างให้มีค่อมน้ำมันอยู่บริเวณลานหัวนม น้ำมันจะช่วงป้องกันบริเวณหัวนมขณะเด็กดูด การใช้น้ำสะอาดล้างหัวนมก่อนและหลังดูดก็เป็นการเพียงพอ ขณะอาบน้ำไม่ควรใช้สบู่ฟอกหัวนมมากเพราะจะล้างน้ำมันออกทำให้หัวนมแห้งและแตกได้ การใส่ยกทรงจะช่วงป้องกันนมคัดได้ แต่ต้องเป็นยกทรงที่ไม่รัด ควรเป็นแบบที่พยุงเต้านมและเปิดให้ลูกกินได้ด้วย 

ปัญหาที่อาจจะเกิดได้ 

ถึงแม้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นธรรมชาติ สะดวกก็ตาม ปัญหาที่อาจจะพบได้บ่อยก็มี เช่น 

๑. หัวนมบอด 

ควรจะต้องมีการเตรียมตั้งแต่ก่อนคลอดโดยการนอดคลึงบริเวณหัวนมเบาๆ และใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ดึงออกวันละหลายๆ ครั้ง หัวนมก็จะยื่นออกเอง 

๒. นมคัด (นมหลง) 

มักจะพบระหว่างสัปดาห์แรกหลังคลอด โดยที่มีน้ำนมคั่งมาก เด็กดูดไม่ทัน ควรจะค่อยๆ บีบออกเบาๆ มารดาจะเจ็บมาก บางคราวอักเสบบวมได้ 

๓. หัวนมแตก 

มักจะเกิดจากการดูดนมไม่ถูกต้อง ควรจะปรึกษาแพทย์หรือผดุงครรภ์ ข้อสำคัญขณะเด็กดูดนม อย่าให้เด็กใช้เหงือกกัดบนหัวนม 

๔. น้ำนมหยด

บางครั้งขณะเด็กดูดนมข้างหนึ่ง จะมีน้ำนมไหลออกมาจากอีกข้างหนึ่ง จำต้องใช้กระดาษหรือผ้าซับออก หรือบางครั้งเมื่อถึงเวลาให้นม หรือเมื่อได้ยินเสียงเด็กร้อง น้ำนมก็จะไหลออกมาเอง น้ำนมที่ไหลเองนี้มีจำนวนเล็กน้อยในเดือนแรกๆ ต่อมาก็จะปรับตัวได้เอง 

๕. นมไม่พอ 

ปัจจัยที่สำคัญก็คือ สภาพโภชนาการของแม่ไม่ดี แม่มีอารมณ์หงุดหงิดหรือกังวลมาก ดังนั้นควรให้แม่กินอาหารมากเพียงพอ คลายอารมณ์บ้าง และให้เด็กได้ดูดแม้จะมีน้ำนมน้อยก็เป็นการกระตุ้นอย่างดี โดยปกติแล้ว หากโภชนาการของแม่ดีจะมีน้ำนมพอเลี้ยงลูกได้ประมาณ ๔-๕ เดือน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเริ่มให้อาหารเสริมแก่ทารกตามตาราง

๖. แม่รับประทานยา 

ยาจำนวนมากที่แม่รับประทานจะหลั่งออกทางน้ำนม ยาบางอย่างอาจจะเป็นอันตรายแก่ทารกที่กินนมแม่ได้ ดังนั้นควรบอกกับแพทย์ว่าตนให้นมทารกด้วยเวลาเจ็บป่วย อนึ่ง ยาดองเหล้าหรือเหล้าที่มักนิยมดื่มเวลาอยู่ไฟก็เป็นอันตรายแก่ทารกได้ ฉะนั้นแม่จึงไม่ควรดื่มเหล้า

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow