การนั่งสมาธิสามารถส่งผลอย่างชัดเจนและทันทีต่อคลื่นสมองในขณะหลับ โดยนักวิจัยได้ยืนยันแล้วว่า การฝึกฝนจิตผ่านการนั่งสมาธิจะส่งผลให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง หากมองย้อนไปเมื่อ 15 ปีที่แล้วจะพบว่า โยคะและการนั่งสมาธิได้กลายมาเป็นกระแส ที่สังคมให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีหลาย ๆ คนปฏิบัติตามเพื่อผลในการบรรเทาความเครียด และฟื้นฟูสุขภาพ อีกทั้งนักประสาทวิทยาก็ให้ความสนใจอย่างมากเช่นกัน โดยพยายามศึกษาถึงกลไกที่กิจกรรมเหล่านี้จะส่งผลต่อการทำงานของสมอง และต่อพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร
โดยในการทดลองที่ผ่าน ๆ มา นักวิจัยได้ศึกษาคลื่นสมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการนั่งสมาธิ โดยวัดคลื่นสมองในขณะหลับหลังจากนั่งสมาธิมาแล้ว 2 ช่วงด้วยกัน และนำไปเปรียบเทียบกับคลื่นสมองก่อนที่จะมีการนั่งสมาธิ ผลการทดลองพบว่าเมื่อมีการนั่งสมาธิแล้ว จะทำให้คลื่นสมองที่มีความถี่ประมาณ 12-14 Hz เกิดได้มากขึ้น ซึ่งคลื่นสมองประเภทนี้เรียกว่า sleep spindles โดยเป็นคลื่นสมองรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถพบได้ในระยะที่ 2 ของการนอนหลับ ซึ่งช่วงเวลานี้ สมองจะยับยั้งกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่กำลังนอนหลับอยู่ในภาวะที่เงียบสงบ
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ฝึกนั่งสมาธิมาแล้วอย่างยาวนานกว่าหลายพันชั่วโมงจะมีอัตราการทำงานของคลื่นรังสีแกมมาในสมองขณะที่นอนหลับมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกนั่งสมาธิ ถึงแม้ยังไม่มีการยืนยันถึงหน้าที่ของคลื่นรังสีแกมมา แต่นักวิทยาศาสตร์หลาย ๆ ท่านเชื่อว่าคลื่นรังสีแกมมานั้นมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเพ่งความสนใจไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้ที่ https://horizon-magazine.eu/article/meditation-visibly-changes-your-brainwaves_en.html