นอกจากเราจะได้ใช้แรงงานจากวัวควาย และได้มูลเป็นปุ๋ยในการทำไร่ทำนาแล้ว ผลิตผลจากวัวควายอันได้แก่ เนื้อและนม ก็เป็นอาหารที่จำเป็น และมีประโยชน์สูงสุดอย่างหนึ่งต่อมนุษย์ เนื้อวัวควายเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ และยังเป็นแหล่งพลังงาน ไขมัน และแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์อีกด้วย ตารางที่ ๑๒ แสดงให้เห็นส่วนประกอบที่สำคัญบางอย่างของเนื้อและนมวัว
ตารางที่ ๑๒ ส่วนประกอบบางอย่างของเนื้อและนมวัว
ผลิตผล | น้ำ % |
พลังงาน อาหาร๑ |
โปรตีน % |
ไขมัน % |
คาร์โบไฮเดรต % |
เถ้า % |
เนื้อโค เนื้อขาอ่อน เนื้อส่วนหลัง เนื้อจากบั้นท้าย เนื้อแฮม เบอร์เกอร์๒ นม นมสด หางนม๓ ไอศกรีม |
๖๖.๖ ๕๐.๒ ๕๙.๔ ๖๐.๒ ๘๗.๒ ๙๐.๕ ๖๓.๒ |
๑๙๗ ๓๗๐ ๒๗๑ ๒๖๘ ๖๖ ๓๖ ๑๙๓ |
๒๐.๒ ๑๕.๓ ๑๔.๓ ๑๗.๙ ๓.๕ ๓.๖ ๔.๕ |
๑๒.๓ ๓๓.๘ ๒๑.๔ ๒๑.๒ ๓.๗ ๐.๑ ๑๐.๖ |
๐.๐ ๐.๐ ๐.๐ ๐.๐ ๔.๙ ๕.๑ ๒๐.๘ |
๐.๙ ๐.๗ ๐.๘ ๐.๗ ๐.๗ ๐.๗ ๐.๙ |
๑ แคลอรีต่ออาหาร ๑๐๐ กรัม ๒ จากเนื้อแข้ง ขา และส่วนอื่น ๓ ไม่มีไขมัน
นมเป็นผลิตผลสัตว์ชนิดเดียวที่มีน้ำตาลแล็กโทสเชื่อกันว่า น้ำตาลแล็กโทสในนมอาจเป็นอาหารบำรุงสมอง เพราะกาแล็กโทสซึ่งเป็นส่วนประกอบของแล็กโทสนั้น พบว่า เป็นองค์ประกอบของระบบประสาทกลาง
คนไทยบริโภคผลิตผลจากสัตว์ปีละมากๆ ประเทศไทยสั่งผลิตภัณฑ์นมเข้าประเทศปีละ ประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์นมผง และนมเลี้ยงทารก นมที่ผลิตได้ในประเทศมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการนมทั้งประเทศ การบริโภคเนื้อวัวควายทั้งประเทศ เมื่อคิดต่อคนอยู่ในระดับต่ำมาก คือ คนละประมาณ ๑-๒ กิโลกรัม/ปี ในขณะที่ประชาชนของบางประเทศบริโภคเนื้อวัวปีละ ๕๐-๘๐ กิโลกรัม / คน เช่น ประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการบริโภคเนื้ออยู่ในขั้นต่ำอย่างปัจจุบัน ประเทศไทยก็ยังต้องฆ่าวัวควาย อย่างน้อยปีละ ๕-๘ แสนตัว และเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจาก จำนวนประชากรทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว