ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีดินและความชุ่มชื้นที่เหมาะแก่การปลูกยางพารา ได้เริ่มปลูกสร้างสวนยางพารา ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕ และได้ปลูกเพิ่มขึ้นๆ เกือบทุกปี จนบัดนี้ประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกยาง เป็นจำนวนประมาณ ๗.๗-๘ ล้านไร่ สามารถผลิตยางออกจำหน่ายได้มาก เป็นอันดับ ๓ ของโลก ในปัจจุบันมีปลูกอยู่ในจังหวัดต่างๆ ต่อไปนี้
เนื้อที่ปลูกยางในจังหวัดต่างๆ (ตาราง)
จังหวัด | ไร่ |
๑. ระยอง ๒. จันทบุรี ๓. ตราด | ๒๙๖,๗๒๒ ๒๙๒,๔๔๓ ๑๗๖,๒๕๒ |
รวมด้านตะวันออก | ๗๖๕,๔๒๒ |
๔. ชุมพร ๕. ระนอง ๖. พังงา ๗. ภูเก็ต ๘. สุราษฎร์ธานี ๙. นครศรีธรรมราช ๑๐. กระบี่ ๑๑. ตรัง ๑๒. พัทลุง ๑๓. สงขลา ๑๔. สตูล ๑๕. ปัตตานี ๑๖. ยะลา ๑๗. นราธิวาส | ๕๓,๓๑๔ ๙,๕๘๓ ๓๖๘,๓๙๗ ๑๑๑,๒๙๙ ๖๓๓,๓๒๗ ๑,๑๕๕,๘๕๒ ๔๘๘,๙๐๗ ๘๒๗,๗๗๙ ๔๐๐,๖๒๕ ๑,๒๑๓,๒๓๑ ๙๔,๕๐๕ ๒๕๓,๙๐๓ ๗๕๖,๑๔๕ ๖๒๓,๘๗๒ |
รวมภาคใต้ | ๖,๙๙๐,๗๔๑ |
รวมทั้งสิ้น | ๗,๗๕๖,๑๖๓ |
(จากกองการยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นเนื้อที่ที่คำนวณจากภาพถ่ายทางอากาศ กองการยาง คำนวณเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔)
สวนยางพาราของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นยาง พันธุ์เลว ปลูกด้วยเมล็ด เก็บเมล็ดจากใต้ต้นเอาไป ปลูกกันต่อ ๆ ไป โดยไม่มีการคัดเลือก เนื้อที่๑ ปลูกมาก แต่ได้ผลิตผลน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่เขา พยายามปรับปรุงคัดเลือกปลูกแต่ต้นยาง ที่ให้น้ำยาง มาก ๆ เท่านั้น จำนวนยางพาราที่ประเทศไทยผลิต ออกจำหน่ายไปต่างประเทศ มีดังนี้
ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ | ๑๓.๑๖ |
(จากกองการยาง กรมวิชาการเกษตร และกรมศุลกากร)จำนวนส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ (เมตริกตัน)๒
๑ พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๗ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ ๑๐ ล้านไร่ ผลิตยางได้ ปีละประมาณ ๕๖๐,๐๐๐ เมตริกตัน หรือ ๕๖๐ ล้านกิโลกรัม ส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศได้เงินปีละประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท
๒ พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๖ ส่งยางออกจำหน่ายได้ ๕๔๖,๖๘๙ และ ๕๕๒,๔๘๕ เมตริกตันตามลำดับ