Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การปฏิบัติรักษา

Posted By Plookpedia | 03 ธ.ค. 59
2,659 Views

  Favorite

การปฏิบัติรักษา

๑. การปรังปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน 

ถ้าที่ดินเป็นป่าเปิดใหม่ และความอุดมสมบูรณ์ของดินยังสูงอยู่ การใส่ปุ๋ยยังไม่จำเป็น เมื่อปลูกข้าวโพดติดต่อกันไป ๔-๕ ปี ควรจะเริ่มปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินบ้าง อาจใส่ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ได้

การปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง (Crota laria juncea) และโสนไต้หวัน (Sesbania swsban) เพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นวิธีเพิ่มอินทรียวัตถุ และอาหารพืชลงในดินที่ดีและประหยัดวิธีหนึ่ง ถ้ามีปุ๋ยมูลวัวควายใส่ด้วยไร่ละประมาณ ๓-๔ ต้น/ปี ยิ่งดี

สำหรับการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้น ในแหล่งปลูกข้าวโพดทั่วๆ ไปควรใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส ประมาณ ๘-๑๖ กิโลกรัม/ไร่ และมีธาตุโพแทสเซียม ประมาณ ๔-๘ กิโลกรัม/ไร่ สำหรับระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยนั้น อาจใส่ปุ๋ยผสมทั้งหมดก่อนปลูก หรืออาจใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งรวมกับปุ๋ยผสมฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมทั้งหมดก่อนปลูก แล้วใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งที่เหลือ เมื่อข้าวโพดอายุประมาณ ๒-๓ สัปดาห์

๒. การปราบวัชพืช 

วัชพืชเป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด ยิ่งถ้าเตรียมดินไม่ดี วัชพืชจะขึ้นมาแย่งอาหารในดินของข้าวโพดทำให้ได้ผลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย การกำจัดวัชพืช ควรกระทำอย่างน้อย ๑ ครั้ง หลังจากปลูก อาจจะใช้วิธีไถพรวนระหว่างแถวหรือจะใช้จอบถากก็ได้ การใช้สารเคมีพวกอะทราซีน (atrazine) พ่นก่อนปลูกข้าวโพดนับว่าควบคุมการงอกของวัชพืชได้ดี วิธีการใช้คือละลายเนื้อยาแท้ประมาณ ๕๐๐-๑,๐๐๐ กรัม/น้ำ ๔๐-๘๐ ลิตรพ่นในเนื้อที่ ๑ ไร่ ก่อนหรือหลังจากปลูกเสร็จอย่างไรก็ตาม ยาปราบวัชพืชนี้จะให้ผลดีก็ต่อเมื่อมีความชื้นในดินดีเท่านั้น

 

ใบข้าวโพดที่เป็นโรคราน้ำค้าง มีลักษณะใบลาย


๓. การป้องกันและการกำจัด โรคแมลงศัตรูข้าวโพด 

โรคข้าวโพดที่มีความรุนแรง ได้แก่ โรคราน้ำค้าง (downy mildew) ถ้าเป็นแล้ว ต้นข้าวโดดจะไม่ให้ผลิตผลปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีชนิดใดที่กำจัดเชื้อราชนิดนี้ได้ วิธีป้องกันคือ การคัดหาพันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทานโรคนี้ได้เท่านั้น โรคข้าวโพดอื่นๆ ไม่มีความรุนแรงนักในประเทศไทย
แมลงที่ทำลายข้าวโพดรุนแรง คือ ตั๊กแตนปาทังกา (Patanga succincta L.) แมลงพวกนี้จะทำลายข้าวโพดตั้งแต่ระยะต้นอ่อนไปจนถึงต้นแก่เริ่มออกฝัก อาจกำจัดโดยใช้ยาดีลดริน ๒% ชนิดผง พ่นในอัตรา ๕ กิโลกรัม/ไร่ หรือถ้าเป็นยาดีลดรินชนิดน้ำ ใช้เนื้อยาแท้ ๕๐-๑๐๐ กรัม ผสมน้ำในอัตราเดียวกัน ฉีดขณะตั๊กแตนยังเป็นตัวอ่อนอยู่ และเว้นระยะการพ่นยา ๗-๑๐ วัน

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow