Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ข้าวโพด

Posted By Plookpedia | 03 ธ.ค. 59
12,464 Views

  Favorite

ข้าวโพด

ต้นข้าวโพดมีลักษณะตั้งตรงคล้ายต้นอ้อย ลำต้นเป็นปล้อง ใบยาวเรียวเกาะติดกับต้นตรงข้อ ฝักข้าวโพดจะเกิดตรงข้อ อยู่ที่กลางๆ ลำต้น  ฝักข้าวโพดที่ยังมีเปลือกหุ้มอยู่ เปลือกเป็นกลีบบางๆ สีเขียว มีหลายชั้น ชั้นนอกสีเขียวแก่กว่าชั้นใน ปลายฝักมีเส้นเล็กๆ เหมือนเส้นผม เรียกว่า ไหมข้าวโพด

 


ข้าวโพดที่เรารับประทานนั้น เขาปอกเปลือกออกจากฝักแล้ว เมล็ดข้าวโพดที่เรารับประทานเกาะติดอยู่กับแกนกลาง ซึ่งเราเรียกว่า ซังข้าวโพด เราต้ม ปิ้ง และคั่วข้าวโพด บางทีเราเอาข้าวโพดที่ต้มแล้ว ไปฝานเมล็ดให้เป็นชิ้นเล็กๆ คลุกมะพร้าวที่ขูดแล้ว  ข้าวโพดคั่ว คือ เมล็ดข้าวโพดที่แก่จัด และตากแห้งแล้ว นำมาคั่วด้วยไปธรรมดา หรือใช้เครื่องคั่วไฟฟ้า เมล็ดข้าวโพดถูกความร้อนก็จะปะทุออกเป็นเม็ดใหญ่ สีขาว กรอบ และอร่อย ข้าวโพดคั่วนี้ บางทีคนขายนำไปคลุกน้ำตาลเคี่ยว ทำให้รสหวานกินอร่อยเหมือนกัน  ข้าวโพดอ่อนมีขนาดเท่านิ้วก้อย เราใช้ข้าวโพดอ่อนทำกับข้าว เช่น ผัดกุ้ง หรือใส่แกงเลียง เมล็ดข้าวโพดเป็นอาหารของคน 

เมล็ด ลำต้น และใบข้าวโพด ยังใช้เป็นอาหารของสัตว์บางชนิดด้วย  ข้าวโพดเป็นพืชพวกหญ้า นิยมปลูกแพร่หลายในประเทศไทย และต่างประเทศ คนไทยรู้จักรับประทานข้าวโพดในรูปของฝักสด ต้ม หรือเผา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดหวาน และข้าวโพดข้าวเหนียว ฝักอ่อนใช้ปรุงอาหารได้คล้ายๆ หน่อไม้ นอกจากรับประทานฝักสดแล้ว ยังนิยมรับประทานข้าวโพดคือ เมล็ดข้าวโพดที่ตากแห้งแล้วนำมาคั่ว

 

ลักษณะลำต้นข้าวโพด

 

      ข้าวโพดที่ผลิตได้ในประเทศไทยส่วนใหญ่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละประมาณ ๖,๐๐๐ ล้านบาท ส่วนที่เหลือเลี้ยงสัตว์ และเก็บไว้ปลูกต่อไป ในบางประเทศ ประชาชนนิยมรับประทานข้าวโพดเป็นอาหารหลัก คล้ายๆ กับคนไทยรับประทานข้าว นอกจากนั้นส่วนต่างๆ ของข้าวโพดยังนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้อีกมาก จึงนับว่า ข้าวโพดเป็นพืชที่มีความสำคัญของโลกชนิดหนึ่งรองจากข้าวเจ้าและข้าวสาลี
       ข้าวโพดมีลำต้นแข็งแรง และตั้งตรงคล้ายต้นอ้อย ความสูงของลำต้นแตกต่างกันไปตามพันธุ์อาจสูงตั้งแต่ ๓๐ เซนติเมตร ไปจนถึง ๖ เมตร ลำต้นเป็นปล้องๆ อาจมีตั้งแต่ ๘-๒๐ ปล้อง ช่อดอกตัวเมียซึ่งจะเจริญเป็นฝักข้าวโพด เกิดที่ข้อประมาณกลางๆ ต้น ต้นหนึ่งอาจมีหลายฝักก็ได้ สำหรับช่อดอกตัวผู้นั้น อยู่ตรงส่วนยอดของลำต้น เนื่องจากมีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย แยกกันอยู่ในต้นเดียวกัน ข้าวโพดจึงเป็นพืชที่ผสมข้ามตามธรรมชาติ กล่าวคือ ละอองเกสรตัวผู้จากต้นหนึ่ง จะปลิวไปผสมกับดอกตัวเมียของต้นอื่นเป็นส่วนมาก
       การปลูกข้าวโพดทำได้ง่าย เนื่องจากข้าวโพดขึ้นได้ดีเกือบทุกท้องที่ ที่มีความชื้นเพียงพอ ในแถบร้อน แถบอบอุ่น และแม้แต่แถบหนาวก็ปลูกข้าวโพดได้ ที่ดอนเหมาะแก่การปลูกข้าวโพด เพราะระบายน้ำได้ดี ก่อนปลูกควรเตรียมดินให้ดี การปลูกใช้เมล็ดปลูก โดยหยอดเมล็ดลงไปในหลุมๆ ละประมาณ ๒-๓ เมล็ด ระยะระหว่างหลุมห่างกันประมาณ ๕๐ เซนติเมตร และควรเป็นแถวห่างกันประมาณ ๑ เมตร หลังจากนั้น ดูแลรักษาให้ดีเหมือนพืชอื่น เช่น คอยถอนวัชพืชทิ้ง อายุของข้าวโพดตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิด ข้าวโพดหวานจะออกฝักให้เก็บได้ใน ๖๐-๗๐ วัน หลังจากปลูกข้าวโพดไร่ ต้องใช้เวลาประมาณ ๑๑๐-๑๒๐ วัน จึงเก็บฝักแก่ได้
 

ฝักข้าวโพด

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

Content

3
ประวัติและถิ่นฐานดั้งเดิมของข้าวโพด
ประวัติและถิ่นฐานดั้งเดิมของข้าวโพด พันธุ์ข้าวโพดที่ใช้ปลูกในปัจจุบันนี้ เป็นพืชที่ไม่สามารถขึ้นเองได้ถ้ามนุษย์ไม่ให้การปฏิบัติรักษาเท่าที่ควร ไม่มีใครทราบเกี่ยวกับรากฐานดั้งเดิมว่า พืชนี้เปลี่ยนจากพืชป่ามาเป็นพืชเลี้ยงเมื่อใด แต่คงเป็นเวลานับพันๆ ปีมาแ
3K Views
5
การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าวโพดทางพฤกษศาสตร์ ข้าวโพดถูกจัดลำดับทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้ วงศ์ (Family) กรามีนีอี (Gramineae) ซึ่งรวม พวกหญ้า ไม้ไผ่ และธัญพืชอื่นๆ วงศ์ย่อย (Sub-Family) ปานิคอยดีอี (Panicoideae) ซึ่งรวมข้าวฟ่าง ลูกเดือย และอ้อย เผ่า (Tribe) เมย์ดีอี (Mayde
3K Views
6
ลักษณะทั่วๆ ไปและลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วๆ ไปและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ส่วนต่างๆ ของข้าวโพดที่ยังอ่อน ราก รากแรกที่ออกมาจากคัพภะ (embryo) เป็นรากชั่วคราวเรียกว่า ไพรมารี (primary) หรือ เซมินัล (seminal) หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ ๗-๑๐ วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบๆ ข้อปลายๆ ใน
5K Views
7
การเจริญเติบโตของข้าวโพด
การเจริญเติบโตของข้าวโพด เมล็ดข้าวโพดจัดเป็นพวกไม่มีระยะการฟัดตัว (seed dormancy) เมื่อเมล็ดแก่เก็บเกี่ยวแล้ว สามารถนำไปปลูกได้เลย เมื่อฝังเมล็ดลงไปในดิน เมล็ดจะงอกโผล่พ้นผิวดิน และใบแรกคลี่ออกให้เห็นภายในประมาณ ๔-๖ วัน ต่อมาจึงจะมีรากออกมาจากข้อแรก (nod
4K Views
11
การปฏิบัติรักษา
การปฏิบัติรักษา ๑. การปรังปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าที่ดินเป็นป่าเปิดใหม่ และความอุดมสมบูรณ์ของดินยังสูงอยู่ การใส่ปุ๋ยยังไม่จำเป็น เมื่อปลูกข้าวโพดติดต่อกันไป ๔-๕ ปี ควรจะเริ่มปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินบ้าง อาจใส่ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยวิทยาศา
3K Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow