Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

แมลงศัตรูข้าว

Posted By Plookpedia | 03 ธ.ค. 59
7,667 Views

  Favorite

แมลงศัตรูข้าว

แมลงศัตรูข้าวมีหลายชนิด แต่ชนิดที่สำคัญ และระบาดเสมอๆ ได้แก่  เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้กล้า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงบั่ว หนอนกอ หนอนม้วนใบ แมลงสิง และหนอนกระทู้คอรวง

 

ลักษณะข้าวที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย


๑. เพลี้ยไฟ (rice thrips) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทริพส์ ออไรซี (Thrips oryzae) เป็นแมลงที่มีปากแทง ดูดและชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นกล้าข้าว โดยเฉพาะ ตรงส่วนที่เป็นสีเขียว เพราะมีคลอโรฟีลล์ ระบาดรุน แรงมากเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย ข้าวที่ถูกเพลี้ย ไฟทำลายจะมีใบเหลืองเจริญเติบโตช้า ต้นข้าวแคระ แกร็น แล้วแผ่นใบค่อยๆ ม้วนตามความยาวเข้าหาส่วน กลางของใบ ต่อจากนั้นปลายใบก็จะแห้ง ซึ่งในระยะนี้ ตัวเพลี้ยไฟจะอาศัยอยู่ในรอยม้วนของใบ ต้นกล้าที่ถูก ทำลายมากๆ จะตายในที่สุด ส่วนต้นข้าวที่โตแล้วหรือ หลังปักดำจะไม่ได้รับความเสียหายจากเพลี้ยไฟ ยก เว้นบางกรณีในระยะออกดอก เพลี้ยไฟอาจเข้าไปดูด กินน้ำเลี้ยงในดอก จนทำให้เมล็ดลีบเป็นจำนวนมาก 
การป้องกันและกำจัด 

๑) สุมไฟด้วยฟางข้าวไว้ด้านเหนือของแปลงกล้า แล้วโรยผงกำมะถันลงบนกองไฟนั้น อากาศที่เกิดจาก กองไฟจะเป็นพิษทำลายเพลี้ยไฟ 

๒) ใช้ยาฆ่าแมลงผสมน้ำพ่นลงบนต้นกล้า ยาที่ ใช้ได้ผล เช่น มาลาไทออน (malathion) ๕๗% 
๒. หนอนกระทู้กล้า (rice seeding armyworm) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า สะโปดอพเทอรา มอริเทีย (Spodoptera mauritia) เป็นแมลงที่ใช้ปากกัดและทำลาย ต้นข้าวในระยะที่เป็นตัวหนอนเท่านั้น ตัวแก่ของมันมี ลักษณะคล้ายผีเสื้อ ตัวหนอนจะเข้าทำลายต้นกล้าโดย ใช้ปากกัดกินใบในระยะที่ต้นกล้ามีอายุประมาณ ๒๕- ๓๐ วัน ปกติตัวหนอนจะออกมากัดกินใบต้นกล้าข้าว ในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมันจะหลบซ่อนอยู่ตาม คันนาหรือโคนต้นกล้าข้าว ต้นกล้าข้าวที่ถูกทำลายจะ ไม่มีแผ่นใบเหลืออยู่เลย ลักษณะคล้ายๆ ถูกควายหรือวัวกิน ต้นข้าวหลังจากปักดำแล้ว จะไม่ได้รับความ เสียหายจากหนอนกระทู้กล้า

 

ตัวหนอนของหนอนกระทู้กล้า


การป้องกันและกำจัด 

๑) ระบายน้ำเข้าแปลงกล้าจนท่วมยอดของต้น กล้า แล้วเก็บเอาตัวหนอนไปทำลาย

๒)เอาต้นหญ้าหรือฟางข้าวมากองไว้บนคันนา เพื่อล่อให้ตัวหนอนเข้าไปอาศัยในเวลากลางวัน ในเวลา บ่ายเก็บเอาตัวหนอนออกมาทำลาย 

๓) ใช้เหยื่อพิษที่มีส่วนผสมของสารหนูเขียวครึ่ง ลิตร รำข้าว ๑๐๐ ลิตร น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาล ปีบและน้ำผสมกันพอชื้นๆ แล้วหว่านลงบนคันนา เมื่อ หนอนกินเข้าไปแล้วเกิดเป็นพิษตาย 

๔) ใช้สารเคมีผสมน้ำพ่นลงบนแปลงกล้า เช่น เซวีน ๘๕% หรือมาลาไทออน ๕๗% ใช้น้ำยาพ่น ประมาณ ๔๐-๕๐ ลิตร/ไร่

๓. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (brown plant hopper) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า นิลาพาร์วาทาลูเยนส์ เป็นแมลงที่ ใช้ปากแทงดูด ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบของต้น ข้าว ตัวสีน้ำตาล และสามารถทำลายต้นข้าวในทุกระยะ ของการเจริญเติบโตให้เสียหายได้ เช่น ระยะต้นกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกรวง และแมลงเพลี้ยกระโดด ตั้งแต่ตัวอ่อนจนถึงตัวแก่ สามารถทำลายต้นข้าวได้ อย่างรุนแรง ต้นข้าวที่ถูกแมลงนี้ทำลายจะมีอาการ เหี่ยวแล้วแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่ ซึ่งอาจมีคราบของเชื้อรา สีดำเกาะติดอยู่กับต้นข้าวด้วย ต้นข้าวที่กำลังแตกกอ ที่ถูกทำลายจะแห้งตาย ต้นข้าวที่ออกรวงแล้วจะมีเมล็ด ไม่สมบูรณ์และมีน้ำหนักเบา ล้มง่าย ลักษณะกลุ่มของ ต้นข้าวที่ถูกแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายเรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น (hopper burn) แมลงชนิดนี้ชอบดูดกิน น้ำเลี้ยงและอาศัยอยู่บนต้นข้าวที่แตกกอมาก ต้นไม่ค่อย สูง เช่น พันธุ์ กข.๑ และจะระบาดรุนแรงมากในระหว่าง เดือนที่มีอากาศร้อนและความชื้นค่อนข้างสูง เช่น เดือน พฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม

 

ตัวแก่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


การป้องกันและกำจัด 

๑) จุดตะเกียงล่อให้ตัวแก่มาเล่นไฟ แล้วจับทำลาย 

๒) ใช้สารเคมีพวกคาร์บาเมต (carbamate) พ่น ลงบนต้นข้าวที่ถูกแมลงนี้ทำลายเพื่อให้แมลงตาย ยา ที่ใช้ได้ผล เช่น มิพซิน ๕๐% ฟูราดาน (furadan) ๓% 

๓) ปลูกด้วยพันธุ์ข้าวที่ต้านทานแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข.๙ กข.๒๑ กข.๒๓

๔. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (green leaf hopper)

มีหลายชนิด เช่น เนโฟเทตทิกซ์ อิมพิกทิเซพส์ และ เนโฟเทตทิกซ์ อะพิคาลิส เป็นแมลงที่มีปากแทงดูด ทำลายข้าวทุกระยะของการเจริญเติบโต ดูดอาหาร ตามใบและกาบใบข้าว ทำให้ปลายใบแห้งเหี่ยว มีสี เหลือง ในที่สุดต้นข้าวก็ไม่เจริญเติบโตอีกต่อไป หาก ถูกทำลายมากๆ ต้นข้าวจะตายในที่สุด 

การป้องกันและกำจัด 

๑) ใช้ตะเกียงจุดล่อให้ตัวแก่บินมาเล่นไป เพื่อให้ตกลงในอ่างใส่น้ำปนน้ำมันก๊าด ที่ได้เตรียมไว้แล้ว ตัวแก่นั้นก็จะตายไปในที่สุด 

๒) ใช้ยาฟูราดาน ๓% หว่านลงในนา 

๓) ใช้ยาเซวีน ๘๕% ผสมน้ำพ่นบนต้นข้าว 

๔) ปลูกด้วยพันธุ์ต้านทาน เช่น กข.๑ กข.๙

 

ลักษณะต้นข้าวที่ถูกแมลงบั่วทำลาย

   

๕. แมลงบั่ว (rice gallmidge) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า ออซิโอเลีย ออไรซี (Orseolia oryzae) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญที่สุดในฤดูนาปี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และจังหวัดตราด ในภาคกลาง แมลงบั่วซึ่งตัวแก่มีลักษณะคล้ายยุง แต่ลำตัวเป็นสีชมพู จะออกมาวางไข่บนต้นข้าว ซึ่งอยู่ในระยะต้นกล้า หรือระยะแตกกอ หลังจากไข่ได้ฟักออกเป็นตัวหนอน ตัวหนอนจะเข้าไปในลำต้นของข้าว แล้วทำให้ใบเปลี่ยนเป็นหลอดคล้ายธูป และลำต้นนั้นจะไม่ออกรวง ต้นข้าวที่ถูกแมลงบั่วทำลายมากๆ จะแคระแกร็น แตกกอมาก มีรวงน้อย 
การป้องกันและกำจัด 

๑) ปลูกด้วยพันธุ์ข้าวที่ต้านทานแมลงบั่ว เช่น พันธุ์เหมยนอง ๖๒ 

๒) ใช้สารเคมีชนิดดูดซึมเข้าไปในต้นข้าว หว่าน ลงไปในนา เช่น ฟูราดาน ๓% จี

 

หนอนกอข้าวกำลังออกจากรูในต้นข้าว

 

๖. หนอนกอ (rice stem borers) 

มีหลายชนิด เช่น หนอนกอสีครีม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทริพออไรซา อินเซอร์ทูลัส (Tryporyza incertulus) และหนอนกอสีชมพู มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เซสซาเมีย อินเฟอเรนซ์ (Sesamia inferens) หนอนกอสองชนิดนี้พบมากกว่าชนิดอื่นๆ ปกติจะพบว่า ต้นข้าวถูกหนอนกอทำลายในทุกแห่งของประเทศไทย แต่ไม่มีความรุนแรงมากนัก จนทำให้เกิดเสียหาย ทั้งนี้เป็นเพราะได้มีศัตรูธรรมชาติของหนอนกอเป็นจำนวนมาก ซึ่งคอยทำลายหนอนกอ ไม่ให้เกิดมีขึ้นเป็นจำนวนมากๆ หนอนกอเข้าทำลายต้นข้าวในระยะที่เป็นตัวหนอน ตัวแก่ของมันมีลักษณะเหมือนผีเสื้อ วางไข่ลงบนใบข้าว เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอน จะเจาะเข้าไปทำลายต้นข้าวที่กำลังแตกกอ ตัวหนอน ก็จะกัดกินใบอ่อนจนทำให้ใบอ่อนแห้งตาย เรียกว่า เดดฮาร์ต (dead heart) และต้นที่ออกรวงจะทำให้คอรวงขาดจากส่วนอื่นของต้น แห้งเหี่ยวตายไปเรียกว่า ไวต์เฮด (white head) ฉะนั้น หนอนกอก็เป็นแมลงศัตรูข้าวชนิดหนึ่งที่ทำให้ผลิตผลข้าวลดต่ำลง 
การป้องกันและกำจัด 

๑) ทำลายตัวหนอนที่อยู่ในตอซังหลังจากการ เกี่ยวแล้ว โดยเผาตอซัง 

๒) จุดตะเกียงล่อให้ตัวแก่มาเล่นไฟ แล้วจับทำ ลาย 

๓) ใช้สารเคมีพ่นลงบนต้นข้าว หรือหว่านลงไป ในนาข้าว เช่น อะโซดริน (azodrin) ๕๖% และฟูราดาน ๓% จี 

๔) ปลูกด้วยพันธุ์ต้านทานหนอนกอ เช่น กข.๙ 

๗. หนอนม้วนใบ (rice leaf folders) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เซฟาโลครอซิส เมดินาลิส (Cnaphalocrosis medinalis) เป็นตัวหนอนที่ชอบอาศัยอยู่ที่ใบข้าว โดยมันทำให้ใบม้วนเข้าหากัน เพื่อจะได้ห่อหุ้มตัวมันเอง ไว้ พบมากในระยะที่ต้นข้าวกำลังแตกกอ นอกจากนี้ ตัวหนอนยังชอบกัดกินใบที่เป็นสีเขียวเป็นอาหารด้วย โดยรอยกัดจะเป็นทางยาวขนานกับเส้นใบ ฉะนั้น หนอนม้วนใบจึงเป็นตัวทำให้ใบเสียหาย และมีประ- สิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงน้อยลง 

การป้องกันและกำจัด 

๑) ทำความสะอาดพื้นที่นา ไม่ให้หนอนพวกนี้ อาศัยอยู่ได้ 

๒) ทำลายตัวหนอนโดยเอาใบที่มีตัวหนอนม้วน ใบอยู่ภายในไปทำลาย 

๓) จุดไฟล่อตัวแก่ให้มาเล่นไฟ แล้วจับทำลาย 

๔) ใช้สารเคมีพ่นลงบนตัวข้าว เพื่อทำลายตัวหนอน เช่น มาลาไทออน ซูมิไทออน (sumithion) 
๘. แมลงสิง (rice bug) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เลพโทคอริซา โอราโทเรีย (Leptocorisa oratoria) ทำลายต้นข้าว โดยดูดกินน้ำนมจากเมล็ดข้าว หลังจากวันออกดอกประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ ทำให้เมล็ดนั้นลีบ นอกจากนี้แมลงสิงยังชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากคอรวง และยอดต้นอ่อน ของข้าวด้วย ดังนั้น แมลงนี้จะระบาด ในระยะที่ข้าวออกรวง และอยู่ในบริเวณที่ใกล้ป่า

 

ตัวแก่ของแมลงสิงขณะดูดกินเมล็ดข้าวในระยะเป็นน้ำนม


การป้องกันและกำจัด 

๑) ใช้สารเคมีพ่นให้ถูกตัวแมลง เช่น มาลา ไทออน ๕๗% อะโซดริน ๕๖% 

๒) ทำความสะอาดพื้นที่นา

๙. หนอนกระทู้คอรวง (rice neck armyworm) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีดาเลเทีย ยูนิพังทา (Pseudaletia unipuncta) ตัวแก่มีลักษณะเหมือนผีเสื้อ ซึ่งไม่ทำลายต้นข้าว แต่ตัวอ่อนซึ่งเป็นตัวหนอนจะทำลายต้น ข้าวในระยะออกรวง โดยกัดคอรวงขาด แล้วร่วงหล่น ลงดิน เก็บเกี่ยวไม่ได้ หนอนพวกนี้จะออกมากัดคอรวง ข้าวในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมันจะซ่อนตัวอยู่ใกล้ พื้นดิน 

การป้องกันและกำจัด 

๑) ทำความสะอาดพื้นที่นา 

๒) จุดไฟล่อตัวแก่ให้มาเล่นไฟ แล้วจับทำลาย 

๓) ใช้เหยื่อพิษ ทำได้เช่นเดียวกับที่ใช้ในหนอน กระทู้กล้าข้าว 

๔) ใช้สารเคมีพ่นลงบนต้นข้าว เพื่อให้ถูกตัวหนอน ตาย เช่น ซูมิไทออน ๕๐% มาลาไทออน ๕๗%

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow