ชาติไทยมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองสืบต่อกันมาช้านาน พระเจ้าแผ่นดินทรงรับผิดชอบดูแลและคุ้มครองประชาชนให้มีความสุข
เมื่อบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม พระองค์ทรงสู้รบและชนะข้าศึกเพื่อชาติไทยจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของชาติอื่น แต่บางคราวบ้านเมืองเราอ่อนแอเราก็ตกเป็นเมืองขึ้นแต่พระเจ้าแผ่นดินของเราก็ทรงพยายามหาทางแก้ไขจนเราได้เอกราชคืนมา พระเจ้าแผ่นดินทรงดูแลทุกข์สุขของประชาชนเหมือนพ่อดูแลลูกพระองค์ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงทุกด้าน
พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ทรงคุณและทรงทำประโยชน์แก่ชาติไทยอย่างสุดที่จะพรรณนาได้ ประชาชนจึงพร้อมใจกันยกย่องและถวายพระนามพระองค์ว่า "มหาราช" หมายความว่า ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่
พระมหากษัตริย์ไทยบางพระองค์ ที่ประชาชนถวายพระนามว่า "มหาราช" นั้น ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันยังประโยชน์อย่างเยี่ยมยอดแก่ชาติไทย เช่น ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพ ทรงปกครองช่วยเหลือประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์และทรงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยให้วัฒนาถาวร ดังจะขอยกตัวอย่างมหาราชของไทยในกาลเวลาที่ล่วงมาแล้วบางพระองค์ เช่น
แห่งราชอาณาจักรสุโขทัยทรงป้องกันบ้านเมืองและแผ่ราชอาณาจักรกว้างขวางออกไปเป็นที่เกรงขามของประเทศเพื่อนบ้าน ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศใกล้เคียง สนับสนุนการค้าขายให้ขยายออกไปจนถึงประเทศห่างไกล เช่น ประเทศจีน สินค้าสำคัญของไทยขณะนั้นคือ เครื่องเคลือบ ซึ่งมีชื่อเป็นที่รู้จักกันว่า "สังคโลก" ในด้านการปกครองภายในก็ทรงดูแลทุกข์สุขราษฎรอย่างใกล้ชิดเปิดโอกาสให้มีการเข้าเฝ้า ร้องทุกข์ ตลอดจนจัดให้มีพระภิกษุแสดงพระธรรมเทศนาอบรมจิตใจประชาชน พระแท่นที่ประทับให้เฝ้าและให้พระภิกษุแสดงธรรมยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงชนชั้นหลังมีชื่อว่าพระแท่นมนังศิลาบาตร พระราชกิจสำคัญยิ่งคือ ทรงคิดประดิษฐ์ตัวอักษรไทยแล้วโปรดให้จารึกลงบนหลักศิลาเป็นต้นเค้าอักษรไทยสืบต่อมาจนปัจจุบัน
แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยาได้ทรงกู้ประเทศชาติให้กลับมีอิสรภาพพ้นจากอำนาจพม่าแล้วทรงปราบปราบเขมรซึ่งมักทำศึกแทรกแซงขณะที่ไทยกำลังอยู่ในระหว่างสงคราม มีพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านปรากฏอยู่ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ แขวงจังหวัด สุพรรณบุรี อันเป็นสนามรบที่ทรงกระทำยุทธหัตถึกับพระมหาอุปราชารัชทายาทแห่งประเทศพม่าและประสบชัย ชนะอย่างงดงาม
แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา พระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมด้วยชาวต่างประเทศเป็นที่เลื่องลือ ทรงรักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนจากชาวต่างชาติซึ่งขณะนั้นกำลังขยายการค้า ลัทธิศาสนาและอำนาจทางการเมืองอยู่ในดินแดนตะวันออก การเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส เป็นที่กล่าวขวัญทั่วไปในประวัติศาสตร์ ผลจากการติดต่อกับชาวต่างประเทศนี้ได้นำประโยชน์ทั้งทางวิชาการและเศรษฐกิจมาสู่บ้านเมืองของเราเป็นอันมาก นอกจากนี้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะชั้นเลิศของชาติดังปรากฏนาม "ศรีปราชญ์" ยอดกวีในสมัยของพระองค์ท่าน
พระเกียรติคุณอันสมควรได้รับยกย่องให้เป็น "มหาราช" คือ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในครั้งสุดท้ายนี้พระองค์ทรงกอบกู้เอกราชของไทยกลับคืนมาทรงตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี ทรงรวบรวมชาวไทยที่แตกเป็นหมู่เป็นเหล่าคราวมีภัยให้เข้ากันเป็นปึกแผ่น ทำนุบำรุงบ้านเมืองตามที่พอจะทรงกระทำได้ในระยะเวลาอันสั้นและทรงแผ่พระราชอำนาจออกไปจนเป็นที่เกรงขามแก่บ้านเมืองใกล้เคียง นับว่าทรงพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวไทยเป็นอันมาก
ในศุภมงคลสมัยสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๒๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ นั้นคณะรัฐบาลพร้อมด้วยประชาชนพลเมืองของประเทศไทยได้ร่วมใจกันถวายความเทิดทูนพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขึ้นเป็นมหาราชอีกพระองค์หนึ่งทั้งนี้เพราะพระองค์ท่านได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการอันเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติ พระบวรพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งพระองค์ท่านทรงเป็นปฐมกษัตริย์ทรงสร้างราชธานีใหม่ในทำเลอันเป็นชัยภูมิ พระราชกิจสำคัญยิ่งคือการทรงต่อต้านปราบปรามอริราชศัตรู รักษาพระราชอาณาจักรให้ปลอดภัยและเจริญมั่นคงทำให้ประเทศใกล้เคียง เช่น ญวน เขมร และลาว เกรงพระบารมีและได้รับพระเมตตาจึงยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาอาณาจักรด้วยความนอบน้อม ครั้นยามสงบก็ทรงทำนุบำรุงงานด้านศิลปกรรมและวรรณคดีดังปรากฏพระนามและนามกวีในรัชกาล คือ พระองค์ท่านเอง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทและเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงครองราชสมบัตินานถึง ๔๒ ปี และตลอดเวลาอันยาวนานนั้นได้ทรงปรับปรุงทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญขึ้นทุกวิถีทางที่สำคัญมากคือ การเลิกทาส นอกจากนี้ยังได้ทรงทำนุบำรุงการศึกษา การคมนาคม การประกอบอาชีพของพลเมืองและการอนามัย เสด็จเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของประชาชนอยู่เสมอ เสด็จต่างประเทศเพื่อสมานทางพระราชไมตรีและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ทรงนำวิทยาการจากประเทศที่เจริญแล้วฝ่ายตะวันตกมาปลูกฝังในประเทศไทยด้วยพระราชกรณียกิจอันเกิดประโยชน์นานาประการจึงได้รับถวายสมญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช หรือ "มหาราช" ผู้เป็นที่เคารพรัก