ในกรณีพลังงานกลที่พบเห็นในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปและสามารถสังเกตได้ง่าย คือ การเปลี่ยนรูประหว่างพลังงานศักย์กับพลังงานจลน์ เช่น การที่สิ่งของร่วงตกลงที่สูง
2. พลังงานศักย์ยืดหยุ่น เป็นพลังงานศักย์ที่สะสมอยู่ในวัตถุในรูปของความยืด หด หรือบิดงอ ยกตัวอย่างเช่น สปริง นาฬิกาไขลาน ยางยืด มีความสัมพันธ์ดังสมการ
Ep=1/2ks2
Ep หมายถึง พลังงานศักย์ มีหน่วยเป็น จูล (J) หรือ นิวตันเมตร (N.m)
k หมายถึง ค่านิจสปริง เป็นค่าบอกสภาพความยืดหยุ่นของวัตถุ มีหน่วยเป็น นิวตันต่อเมตร (N/m)
s หมายถึง ระยะยืดของวัตถุ เมื่อวัดจากจุดสมดุล
พลังงานจลน์ หมายถึง พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุอันเนื่องจากอัตราเร็วของวัตถุ ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของวัตถุ ใช้สัญลักษณ์ (Ek) เราสามารถหาพลังงานจลน์ได้จาก ปริมาณงานที่ทำได้ทั้งหมดของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปทำงานอย่างหนึ่งจนกระทั่งวัตถุหยุดนิ่ง ดังความสัมพันธ์ตามสมการ
Ek = 1/2mv2
Ek หมายถึง พลังงานจลน์ มีหน่วยเป็น จูล (J) หรือนิวตันเมตร (N.m)
m หมายถึง มวล มีหน่วยเป็น กิโลกรัม (Kg)
v หมายถึง ความเร็ว มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที (m/s)
พลังงานศักย์และพลังงานจลน์นี้ต่างก็เป็นพลังงานทางด้านกลศาสตร์ โดยพลังงานศักย์สามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานจลน์และพลังงานจลน์ก็สามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานศักย์ได้ ยกตัวอย่างการปล่อยให้วัตถุตกจากหยุดนิ่งในตำแหน่งที่สูงจากพื้นดิน ตอนแรกวัตถุมีความสูง นั่นคือ มีพลังงานศักย์ แต่เมื่อเคลื่อนที่ลงมาโดยมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เวลานั้นพลังงานศักย์ของวัตถุกลายเป็นพลังงานจลน์ หรือในการโยนวัตถุขึ้นไปในแนวดิ่ง ในขั้นแรกวัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว จากนั้นความเร็วจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อถึงจุดสูงสุดความเร็วของวัตถุจะกลายเป็น 0 แสดงถึงพลังงานจลน์ที่เปลี่ยนรูปกลายเป็นพลังงานศักย์ แล้วจึงตกลงมาด้วยความเร็วเท่ากันแต่ทิศทางตรงข้ามที่ระดับอ้างอิงเดียวกัน ขณะวัตถุตกลงมานั้นพลังงานศักย์จะกลายเป็นพลังงานจลน์อีกครั้ง
ดังกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงระหว่างพลังงานศักย์กับพลังงานจลน์ เทียบกับเวลา เมื่อทดลองโยนวัตถุมวล 1 กิโลกรัมในแนวดิ่งด้วยความเร็วต้น 30 เมตรต่อวินาที โดย ให้ PE คือ พลังงานศักย์ KE คือ พลังงานจลน์
จะได้ผลรวมของพลังงานที่เท่ากันเสมอ ในระบบปิด ซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน นั่นคือ
E1=E2
เราสามารถนำความรู้เรื่องการเปลี่ยนรูปของพลังงานนี้ไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตกระแสไฟฟ้า การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำให้อยู่ในระดับสูง มวลน้ำจะสะสมพลังงานในรูปพลังงานศักย์โน้มถ่วง เมื่อเขื่อนปล่อยน้ำให้ไหลลงมาจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจนล์ไปหมุนกังหัน ซึ่งมีกลไกของขดลวดและสนามแม่เหล็กอยู่ ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานที่สามมารถขนส่งและเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานรูปอื่น ๆ ต่อไปได้ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้คนในชีวิตประจำวัน