คำว่า away ด้วยตัวของมันเองมีความหมายว่า ในทิศทางอื่นหรือจากไป เมื่อนำมารวมกับคำว่า turn ที่แปลว่า หัน จึงประกอบกันเป็น หันหนี หรือ เบือนหน้า นั่นเอง
ตัวอย่างประโยค : I turned away when I meet him. (ฉันหันหน้าหนีเมื่อเจอเขา)
เราสามารถใช้คำว่า turn down ได้เมื่อต้องการปฏิเสธข้อเสนอหรือคำขอต่าง ๆ
ตัวอย่างประโยค : I offered him a job, but he turned it down. (ฉันเสนองานให้เขา แต่เขากลับปฎิเสธ)
นอกจากคำว่า turn down จะมีความหมายว่า ปฏิเสธ แล้ว ยังสามารถใช้แทนคำว่า หรี่หรือลด ได้ด้วย ซึ่งมักใช้กับการลดเสียงหรืออุณหภูมิ
ตัวอย่างประโยค : I turned the sound down. (ฉันลดระดับเสียงลง)
ตามปกติ เราอาจจะคุ้นเคยกับการใช้คำว่า go to bed หรือ go to sleep เวลาที่พูดถึงการเข้านอน แต่เราก็สามารถใช้คำว่า turn in ได้ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างประโยค : I turned in at 9 PM last night. (เมื่อคืน ฉันเข้านอนตอนสามทุ่ม)
นอกจากความหมายที่แปลว่า เข้านอน แล้ว คำว่า turn in ยังสามารถใช้กับการส่งงานหรือส่งการบ้านได้อีกด้วย
ตัวอย่างประโยค : I have to turn my homework in before lunch. (ฉันต้องส่งการบ้านก่อนพักเที่ยง)
สองคำนี้อาจจะเป็นคำที่หลาย ๆ คนค่อนข้างคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว คำว่า turn on แปลว่า เปิด ส่วนคำว่า turn off แปลว่า ปิด ทั้งสองคำนี้มักถูกใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์หรือสวิตซ์ไฟ
ตัวอย่างประโยค : Could you please turn on the television for me? (ช่วยเปิดโทรทัศน์ให้หน่อยได้ไหมคะ?)
คำว่า turn out มักใช้กับการกล่าวถึงบทสรุปของสถานการณ์ ว่าสุดท้ายผลออกมาเป็นอย่างไรหรือแสดงให้เห็นว่าอย่างไร
ตัวอย่างประโยค : It turned out well in the end. (สุดท้ายมันก็ออกมาดี)
แต่ถ้าเราเติมสรรพนามเข้าไปตรงกลางระหว่างคำว่า turn กับคำว่า out ในลักษณะนี้ “Turn ...(someone)... out.” จะเปลี่ยนความหมายไปเลย กลายเป็น ไล่ออก แทนค่ะ
ตัวอย่างประโยค : His boss has just turned him out. (เจ้านายของเขาเพิ่งจะไล่เขาออก)
เมื่อใช้คำว่า turn over ในความหมายของ พลิก สามารถใช้ได้กับหน้าหนังสือ กระดาษ หรือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ในอีกความหมายหนึ่งคือ มอบ
ตัวอย่างประโยค : My parents decided to turn over their business to me. (พ่อแม่ของฉันตัดสินใจที่จะมอบธุรกิจให้กับฉัน)