เด็กๆ คงจะสังเกตได้ว่า ธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรานั้นมีพืช สัตว์ และ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีรูปแบบทางคณิตศาสตร์ให้เราเห็นอยู่มากมาย ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ใบกล้วยเป็นทางตรง มีก้านแบ่งกี่งกลาง เส้นแบ่งกึ่งกลางนี้ทางคณิตศาสตร์เรียกว่า เส้นสมมาตร ใบไม้ส่วนมากจะมีเส้นสมมาตรในลักษณะนี้ ใบไม้บางชนิดมีลวดลายเป็นเส้นที่มีรูปแบบของคณิตศาสตร์ เช่น เส้นขนานบนใบตอง เส้นโค้งที่ขอบใบบัว เส้นหยักที่ขอบใบสาเก เส้นเหล่านี้มีกล่าวไว้ในวิชาคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น นอกจากเส้นที่เห็นได้ง่ายบนใบไม้แล้ว ยังมีสิ่งอื่น ๆ ในธรรมชาติที่มีลักษณะเป็นรูปวงกลม รูปเหลี่ยมรูปลูกบาศก์ และ รูปอื่น ๆ อีกหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ลักษณะของวงกลมของส้มผ่าซีก
ลักษณะหกเหลี่ยมของรังผึ้ง
ลักษณะห้าเหลี่ยมของปลาดาวทะเล
ลักษณะสี่เหลี่ยมของผลึกแร่ลิโมไนท์
ลักษณะสามเหลี่ยมของแร่ทั่วมาลิน
นอกจากตัวอย่างง่ายๆ ที่พอจะเห็นได้ ก็ยังมีสิ่งอื่นๆ อีกมากมายที่มีรูปลักษณะต่างๆ กันออกไปดังกล่าวแล้ว เช่น ผลึกของแร่หลายชนิดมีลักษณะเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น
ผลึกของแร่เบริล แวไรอิตี้ อความาริน ผลึกของแร่การ์เนต ผลึกของแร่บิสมัท
ประมาณศตวรรษที่ ๑๓ โธมัส อะควินัส (Thomas Aquinas) เป็นผู้หนึ่ง ที่สังเกตเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความงามกับคณิตศาสตร์ ทั้งที่อยู่ในปรากฏการณ์ธรรมชาติ และ ในศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้น เขากล่าวแสดงความชื่นชมว่า "เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่ธรรมชาติได้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นเอง อย่างได้สัดส่วนที่พอเหมาะ"
ธรรมชาติสร้างลักษณะสมมาตร โครงสร้างมนุษย์ ผีเสื้อ หอยรูปหัวใจ ใบไม้
นอกจากความงามที่เกิดจากธรรมชาติตามหลักคณิตศาสตร์แล้ว ยังมีความงามในศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาศัยหลักคณิตศาสตร์ เช่น
การนำหลักการสมมาตรมาใช้ การนำรูปทรงแบบต่าง ๆ ทางเรขาคณิตมาประกอบกัน