โปรตีนเกษตรเกิดจากการค้นคว้าและวิจัยโดย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุดประสงค์หลักคือต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโปรตีนสูงจากพืชมาแทนเนื้อสัตว์ เริ่มทำการค้นคว้าและวิจัยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 จนถึงปี 2517 รวมระยะเวลา 6 ปี โดยในช่วงแรกใช้ชื่อเรียกว่า "เกษตรโปรตีน" จากนั้นมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนสูตร วัตถุดิบหลักและกรรมวิธีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาเป็นตัวช่วยให้มีรสชาติ สี กลิ่นที่น่ารับประทานมากขึ้น ลดระยะเวลาการเตรียมและนำไปประกอบอาหารได้สะดวกขึ้น ดูดซึมน้ำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม วางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2523 และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลกินเจ จึงทำให้โปรตีนเกษตรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมายจนกลายมาเป็นโปรตีนเกษตรที่เป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน
โปรตีนเกษตรทำมาจากแป้งถั่วเหลืองที่ผ่านการสกัดไขมันออกไป (defatted soy flour) นำมาผ่านกระบวนการเอ็กซทรูชั่นด้วยความดันและอุณหภูมิสูงจนได้มาเป็นโปรตีนเกษตรแห้งรูปทรงต่าง ๆ ที่วางขายให้เห็นตามท้องตลาดพร้อมให้นำไปประกอบอาหารเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ได้
เพราะผลิตจากถั่วเหลืองทำให้โปรตีนเกษตรมีโปรตีนสูงถึง 49.47% มีกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วนโดยเฉพาะ ไลซีน ซึ่งพบในปริมาณสูงมากและยังให้คาร์โบไฮเดรตถึง 37.20% ไขมัน 0.26% มีไฟเบอร์ 1.10% และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายอย่าง โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก โซเดียมและวิตตามินบีอีกด้วย คุณภาพโปรตีนที่ได้จากพืชนี้พบว่ามีค่า PER ใกล้เคียงกับเคซีนในน้ำนมวัวเลยทีเดียว
------------------------------------
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลกินเจเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ
ประวัติและความเป็นมาของเทศกาลกินเจ
รวมเมนูอาหารเจสายคลีน กินแล้วไม่อ้วน
3 วิธีรับมือกับเทศกาลกินเจ กินเจอย่างไรให้ไม่อ้วน