มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนนอกจากจะต่างกันเรื่องวิธีคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ความทันสมัย ครบครันของอุปกรณ์การเรียนการสอน หรือไลฟ์สไตล์ของผู้เรียนแล้วนั้น เรื่องเงินเรื่องค่าใช้จ่ายนี่ก็ต่างกันมากเลยทีเดียวล่ะ น้อง ๆ คงอยากรู้ว่า เรียน ม.รัฐ กับ ม.เอกชน ใช้เงินต่างกันเท่าไหร่ ? ค่าใช้จ่ายเรื่องอะไรบ้าง แล้วต่างกันสักกี่บาทเชียว จริงตามที่ใคร ๆ เคยบอกหรือเปล่านะ ตามมาดูกันดีกว่าครับจะได้คลายข้อสงสัยกันไปเลยวันนี้
ค่าเทอมเป็นเงินส่วนที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บจากการลงทะเบียนเรียนหรืออาจรวมถึงค่าประกัน ค่าบำรุงต่าง ๆ ซึ่งอาจเหมาจ่ายหรือจ่ายตามจริงก็แล้วแต่กำหนด โดยแต่ละแห่งจะเก็บไม่เท่ากันใช่ไหมล่ะครับน้อง ๆ อย่างที่เรารู้กันว่ามหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่จะเรียกเก็บสูงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ ซึ่ง ค่าเทอมที่เรียกเก็บและผลต่างของจำนวนเงินโดยประมาณมีดังนี้ครับ
ค่าเทอมมหาวิทยาลัยรัฐ ประมาณ 17,000 บาท/เทอม
ค่าเทอมมหาวิทยาลัยเอกชน ประมาณ 25,000 บาท/เทอม
ค่าครองชีพหรือค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากเสียจริง เพราะเราต้องกินต้องจ่ายต้องใช้ทุกวันว่าไหมล่ะครับ ซึ่งสำหรับน้อง ๆ ที่เรียนมหาวิทยาลัยเอกชนและรัฐก็อาจประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ตลอดจนผลต่างของจำนวนเงินที่ใช้จ่ายได้ดังนี้
- ค่ากิน 4,200 บาท
- ค่าที่พัก 4,000 บาท
- ค่าน้ำ/ค่าไฟ 300 บาท
- ค่าเดินทาง 300 บาท
- ค่าอุปกรณ์การเรียน 1,200 บาท
- ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 2,500 บาท
รวม 12,500 บาท
- ค่ากิน 6,000 บาท
- ค่าที่พัก 5,000 บาท
- ค่าน้ำ/ค่าไฟ 800 บาท
- ค่าเดินทาง 600 บาท
- ค่าอุปกรณ์การเรียน 2,500 บาท
- ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 3,500 บาท
รวม 18,400 บาท
ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นเพียงค่าเฉลี่ย ซึ่งความจริงอาจจะเยอะกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ แต่การเลือกเรียน ม.รัฐ หรือ ม.เอกชน ค่าใช้จ่ายนั้นต่างกันแน่นอนอย่างในตัวอย่าง
เหตุผลนั่นก็เพราะเอกชนลงทุนเองเป็นหลักยังไงล่ะ ต่างจากมหาวิทยาลัยรัฐที่รัฐบาลมีเงินสนับสนุนให้ ซึ่งมหาวิทยาลัยเอกชนอาจจะเหนือกว่าเรื่องเทคโนโลยี อุปกรณ์การเรียนที่ครบครันทันสมัยแถมยังครอบคลุมผู้เรียนอีกต่างหาก ต่างจากมหาวิทยาลัยรัฐที่รัฐอาจสนับสนุนได้ไม่เต็มที่ เครื่องไม้เครื่องมือจึงมีไม่เพียงพอ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนค่าเทอมและค่าใช้จ่ายจึงแพงกว่า แต่เมื่อเทียบกับประสบการณ์หลายคนก็บอกว่าคุ้มค่ามากเลยทีเดียวเลยล่ะครับ
ดู ๆ แล้วค่าใช้จ่ายของเด็กมหาวิทยาลัยเอกชนจะสูงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐพอสมควรนะครับ น้อง ๆ สนใจเรียนมหาวิทยาลัยแบบไหนก็ลองสำรวจความพร้อมของตัวเองรวมถึงปรึกษาพ่อแม่ด้วย จะดีมากเลยโดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่ทางบ้านจะเป็นคนดูแลให้น้อง ๆ ใช่ไหมล่ะ นอกจากช่วยให้จัดการเรื่องเงินได้อย่างดีแล้ว ยังช่วยให้น้อง ๆ อุ่นใจและเรียนอย่างมีความสุขอีกด้วย
ก็ใช่ว่าม.รัฐจะไม่มีอุปกรณ์ในการเรียนนะ มีจ้า ตัวอย่างคณะที่ต้องใช้อุปกรณ์ อย่างเช่นคณะนิเทศศาสตร์ เครื่องไม้เครื่องมือ กล้อง สตูดิโอต่าง ๆ มีแต่อาจจะไม่เยอะ ไม่หรูหรา ไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา แต่ก็สามารถสับเปลี่ยนวนเวียนใช้กันได้ทั่วถึง คณะอื่น ๆ ที่ไม่ใช้อุปกรณ์ในการเรียน แต่มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ครบถ้วนและอาจารย์ที่มากประสบการณ์ ทุกมหาวิทยาลัยก็ผ่านมาตราฐาตรการประเมินคุณภาพการศึกษามาแล้วทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเรียนที่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ แต่ละคน และที่สำคัญคือใจของผู้เรียน หากเรามีความตั้งใจที่จะศึกษา อยู่ที่ไหนก็ประสบความสำเร็จได้ครับ
เรื่อง : ภานุวัฒน์ มานพ