มักใช้ในอนุประโยคที่สามารถตัดทิ้งได้ หากตัดแล้วความหมายของทั้งประโยคใหญ่ยังจะเหมือนเดิม เช่น
The Chaopraya River, which is the major river in Thailand, is close to my house.
(แม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นเเม่น้ำสายหลักของประเทศไทยอยู่ใกล้บ้านฉัน)
สังเกตว่า อนุประโยค which is the major river in Thailand สามารถละทิ้งได้เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศไทย
The Choapraya River that is my favorite river locates in Thailand.
(แม่น้ำเจ้าพระยาคือแม่น้ำที่ฉันชอบมากที่สุดตั้งอยู่ที่ประเทศไทย)
สังเกตว่า อนุประโยค that is my favorite river ไม่สามารถละทิ้งได้เพราะถ้าตัดออกแล้วความหมายจะไม่เหมือนเดิม ผู้อ่านจะไม่รู้ว่า แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายที่ฉันชอบมากที่สุด
- การใช้ which นำหน้าอนุประโยคนั้นจะมีเครื่องหมาย comma คั่นเสมอ ซึ่งสามารถละได้
- ส่วนการใช้ that นำหน้าอนุประโยคนั้นจะไม่มีเครื่องหมาย comma คั่น นั่นหมายความว่าไม่สามารถละหรือตัดทิ้งได้
Our house that has a red door and green windows needs painting.
Our house, which has a red door and green windows, needs painting.
ประโยคแรกใช้ that หมายความว่าพวกเรามีบ้านหลายหลัง แต่หลังที่มีประตูสีแดงและหน้าต่างสีเขียวเท่านั้นที่ต้องการการทาสี หากตัดอนุประโยค that has a red door and green windows ออกไปแล้วจะไม่รู้ว่าเป็นบ้านหลังไหน
ประโยคที่สองใช้ Which หมายความว่าพวกเรามีบ้านอยู่แค่หลังหลังเดียว บ้านหลังนี้มีประตูสีแดงและหน้าต่างสีเขียว และบ้านนี้ต้องการการทาสี หากตัดอนุประโยค, which has a red door and green windows, ออกไปแล้ว บ้านหลังนี้ก็คือบ้านหลังเดียวที่เราพูดถึง ดังนั้นสามารถตัดออกได้และให้ความหมายเหมือนเดิม