Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Grammar: คำกริยา (Verb) และกลุ่มคำที่ต้องตามด้วย Gerunds (กริยาเติม ing)

Posted By Plook Creator | 05 ต.ค. 60
143,481 Views

  Favorite

Gerund คือ คำกริยาเติม ing ที่ทำหน้าที่ครึ่งกริยาครึ่งนาม เรียกกันว่า กริยานาม Gerund ทำได้หลายหน้าที่ในประโยค ทั้ง ประธาน กรรมของกริยา กรรมของบุพบท ส่วนเติมเต็มของกริยา ซึ่งจะมีคำกริยาและกลุ่มคำบางกลุ่มที่ต้องตามด้วย Gerund มีคำไหนบ้างท่องจำไว้เลย   


คำกริยา (Verb) ที่ต้องตามด้วย Gerund

คำกริยา Verb

ความหมาย

admit

ยอมรับ

advise             

แนะนำ

allow              

อนุญาต

anticipate        

คาดหวัง, คาดคะเน

appreciate     

ซาบซึ้ง, ชื่นชอบ

avoid             

หลีกเลี่ยง

begin             

เริ่มต้น

cease            

จบ, หยุด

complete       

ทำทั้งหมด, เสร็จ

confess

สารภาพ

consider        

พิจารณา

continue         

ดำเนินต่อไป

defend          

แก้ตัว, แก้ต่าง

defer

เลื่อนออกไป

delay             

ทำให้ช้า

deny            

ปฏิเสธ

despise         

เหยียดหยาม, ดูถูก

detest

รังเกียจ

discuss       

สนทนาแลกเปลี่ยน, อภิปราย

dislike          

ไม่ชอบ

dread             

กลัวมาก

encourage     

ปลุกใจ, ส่งเสริม, สนับสนุน

enjoy             

สนุก

escape

หลบหนี

excuse

แก้ตัว, อ้าง

fancy

นึก, จินตนาการ

feel

รู้สึก

finish              

เสร็จ

forget             

ลืมไป (เหตุการณ์ที่ทำไปแล้ว)

forgive

ยกโทษ

hate                

เกลียด

imagine         

จินตนาการ

involve          

เกี่ยวข้อง

keep              

ทำบางอย่างต่อไป

like                 

ชอบ

love                

รัก

mention         

อ้างถึง, พูดถึง, กล่าวถึง

mind              

รังเกียจ

miss               

พลาด

need              

จำเป็น, ต้องการ

neglect          

ไม่สนใจ, พลาด

permit           

อนุญาต

postpone       

เลื่อน

practice         

ฝึกฝน

prefer            

ชอบมากกว่า

prevent

ขัดขวาง

propose        

เสนอ

quit                

หยุด, ล้มเลิก

recall       

ทำให้หวนคิดถึง, ระลึก

recognize

จำได้

recollect       

ย้อนระลึก

recommend    

แนะนำ

regret             

เสียใจ

remember     

จำได้

report            

รายงาน

require         

ต้องการ, เรียกร้อง

resent            

ขุ่นเคือง

resist          

ต้านทาน

risk                 

เสี่ยง

start              

เริ่มต้น

stop                

หยุด

suggest         

แนะนำ

tolerate         

ยอมให้เกิดขึ้น

try                  

พยายาม

understand    

เข้าใจ

urge               

กระตุ้น, ผลักดัน


ตัวอย่าง
He admitted making a mistake. 
(เขายอมรับการทำผิด)

She advised seeing doctor.
(เธอแนะนำให้พบหมอ)

My parents don’t allow smoking in the house.
(พ่อแม่ของฉันไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ในบ้าน)

I prefer driving to traveling by train.
(ฉันชอบขับรถเที่ยวมากกว่าไปด้วยรถไฟ)

Sompong avoided talking to his boss.
(สมพงศ์หลีกเลี่ยงการคุยกับหัวหน้าของเขา)

My sister began learning Korean.
(น้องสาวของฉันเริ่มเรียนภาษาเกาหลี)

Tom tried eating tomato.
(ทอมพยายามกับการกินมะเขือเทศ)

We don’t tolerate cheating
(พวกเราไม่ยอมให้การโกงเกิดขึ้นหรอก)

He risked getting in trouble for me.
(เขาเสี่ยงอันตรายเพื่อฉัน)

We stopped working at 6 o’clock.
(พวกเราเลิกงานหกโมง)

Tom likes playing the guitar.
(ทอมชอบเล่นกีตาร์)

I love reading.
(ฉันรักการอ่าน)


กลุ่มคำที่ต้องตามด้วย Gerund

คำกริยา Verb

ความหมาย

can't bear      

ทนไม่ได้

can't help      

อดไม่ได้

can't stand    

ทนไม่ได้

Do you mind…?
Would you mind…?              

คุณจะรังเกียจไหมในการ....

think of

คิดถึง (การ)...

go on

ทำต่อไป

keep on

ทำต่อไป

give up

เลิก ไม่ทำต่อ

look forward to 

ตั้งตาคอยการ....


ตัวอย่าง
I can’t bear working overtime.
(ฉันทนไม่ไหวแล้วกับการทำงานล่วงเวลา)

I can’t help thinking about you.
(ฉันอดไม่ได้ที่จะคิดถึงคุณ)

He can’t stand her smoking in the bedroom.
(เขาทนไม่ไหวที่เธอสูบบุหรี่ในห้องนอน)

Would you mind closing the window?
(คุณจะรังเกียจไหมที่จะทำการปิดหน้าต่าง)  

I often think of going to Japan.
(ฉันคิดถึงการไปญี่ปุ่นบ่อย ๆ) 


นอกจากนี้ยังมีคำกริยาหรือกลุ่มคำบางคำที่ตามได้ทั้ง Gerund หรือ Infinitive with to แล้วความหมายเหมือนกัน เช่น
I like swimming.
I like to swim.
(ฉันชอบว่ายน้ำ) 

และกริยาหรือกลุ่มคำที่ตามด้วย Gerund แล้วความหมายต่างจากที่ตามด้วย Infinitive with to เช่น
She stopped talking. (เธอหยุดพูด)
She stopped to talk. (เธอหยุด (ทำอย่างอื่น) เพื่อที่จะพูด)

ซึ่งทั้งสองกรณีนี้จะขอกล่าวถึงในลำดับต่อไปค่ะ

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow