บางคนอาจเคยได้ยินเรื่องมีผู้ใจบุญอุทิศร่างกายของตนหลังจากที่ตายแล้วให้แก่โรงพยาบาลเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ผ่าตัดเพื่อการศึกษาวิชาความรู้ที่เกี่ยวกับร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าของมนุษย์หรือสัตว์เรียกว่าวิชากายวิภาคศาสตร์ผู้ที่จะเรียนสายแพทย์ต้องศึกษาวิชานี้และต้องศึกษาโดยการชำแหละร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์เพื่อศึกษาผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดโลหิต เส้นประสาท กระดูกและอวัยวะต่าง ๆ
ถ้า
เมื่อ
__________________________________________________________________
ใน
การ
ส่วน
และ
๑. ระบบผิวหนัง
ผิวหนังทำหน้าที่ปกคลุมห่อหุ้มร่างกายรับความรู้สึกการสัมผัสไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวดหรือความรู้สึกร้อนเย็นช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายและทำหน้าที่เป็นอวัยวะขับถ่ายคือขับเหงื่อและไขมันด้วย
๒. ระบบกระดูก
กระดูกเป็นสิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยเซลล์เส้นใยพังผืดและเกลือแร่ซึ่งทำให้กระดูกมีทั้งความแข็งและความยืดหยุ่นถ้าเป็นกระดูกอ่อนจะยืดหยุ่นมากกว่าเพราะไม่มีเกลือแร่ไม่ว่ากระดูกหรือกระดูกอ่อนต่างก็ทำหน้าที่ให้ร่างกาย แขน ขา คงรูปอยู่ได้
๓. ระบบกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อทำให้ส่วนของร่างกายเคลื่อนไหวได้โดยการหดตัวแบ่งเป็นกล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจกล้ามเนื้อเรียบหรือกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจและกล้ามเนื้อหัวใจ
๔. ระบบทางเดินอาหาร
อวัยวะต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปาก ต่อมน้ำลาย คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ช่องทวารหนัก ตับ ถุงน้ำดีและตับอ่อน
๕. ระบบหายใจ
งานสำคัญของระบบหายใจคือการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไปกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดในการศึกษาระบบหายใจจะแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เป็นทางผ่านของลมหายใจ ได้แก่ จมูก ปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ หลอดลมย่อยและแขนงและส่วนที่ทำหน้าที่หายใจ คือ ถุงลม
๖. ระบบขับปัสสาวะ
อวัยวะที่อยู่ในระบบนี้ ได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ
๗. ระบบสืบพันธุ์
ในการศึกษาระบบสืบพันธุ์ของชายจะต้องศึกษาถึงอัณฑะ ท่อจากอัณฑะ ต่อมเซมินัลเวสิเคิล ท่อฉีดอสุจิและต่อมลูกหมากถ้าเป็นระบบสืบพันธุ์ของหญิงจะต้องศึกษาถึง รังไข่ ท่อมดลูก มดลูก ช่องคลอด อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกรวมทั้งต่อมนม
๘. ระบบเลือดไหลเวียน
อวัยวะสำคัญของระบบเลือดไหลเวียน ได้แก่ หัวใจ หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ
๙. ระบบน้ำเหลือง
ทำหน้าที่ช่วยระบายของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกับหลอดเลือดดำโดยวิธีการดูดซึมของสารน้ำที่เรียกว่าน้ำเหลืองอวัยวะสำคัญของระบบน้ำเหลือง ได้แก่ หลอดน้ำเหลืองปุ่มน้ำเหลืองและม้ามปุ่มน้ำเหลืองทำหน้าที่กรองสิ่งแปลกปลอมและเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดมาในหลอดน้ำเหลืองและเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดขาวด้วยม้ามนั้นทำหน้าที่เป็นคลังเก็บเลือดและปล่อยกลับสู่กระแสเลือดได้เมื่อร่างกายต้องการและยังสามารถทำลายเม็ดเลือดแดงที่แก่แล้วและเชื้อโรคสร้างเม็ดเลือดขาวและภูมิคุ้มกัน
๑๐. ระบบประสาท
ทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอวัยวะสำคัญของระบบประสาท ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ
๑๑. ระบบต่อมไร้ท่อ
ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนซึ่งเป็นสารเคมีที่จะไปควบคุมสมรรถภาพของเซลล์ของอวัยวะอื่น ได้แก่ ต่อมหมวกไต ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมไทมัส ต่อมใต้สมอง ต่อมเหนือสมอง
๑๒. อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ
ได้แก่ ตา จมูก ลิ้น หู และผิวหนัง ซึ่งรับรู้การเห็น กลิ่น รส การได้ยินและความรู้สึกร้อนเย็น สัมผัสและเจ็บกดต่าง ๆ ตามลำดับ
เนื้อหาของสรีรวิทยาที่กล่าวถึงจะเป็นเรื่องเฉพาะสรีรวิทยาของมนุษย์ซึ่งมีกลไกในการทำงานสลับซับซ้อนมากหลักใหญ่ก็คือการศึกษาถึงกระบวนการที่ได้มาซึ่งพลังงานจากอาหารที่เรากินเข้าไปและการใช้พลังงานของเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายเพื่อการดำรงชีวิต ในการศึกษากลไกการทำงานของเซล์ลต่าง ๆ ก็คือศึกษา พิจารณาเป็นระบบ ๆ ไป เช่นเดียวกับวิชากายวิภาค
เนื้อหาจึงเป็นการศึกษาการทำงานของระบบประสาทระบบเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อ ระบบการไหลเวียนเลือด ระบบการหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์
แต่ละระบบจะได้อธิบายถึงหน้าที่และการทำงานอย่างละเอียดทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมเราต้องกินอาหารทำไมเราต้องหายใจทำไมเราต้องเคลื่อนไหวต้องขับถ่ายของเสียต้องมีการควบคุมและประสานงานทั่วร่างกายทำไมเราต้องสืบพันธุ์และกลไกของระบบต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วเป็นอย่างไร
ความรู้เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการแพทย์และการอนามัยที่จะนำไปศึกษาต่อและประยุกต์ใช้เพื่อความดำรงอยู่และความยืนยาวแห่งชีวิตมนุษย์