Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Grammar: การอ่านปีค.ศ.-พ.ศ. และการนับปีคริสตศักราชในภาษาอังกฤษ

Posted By Sasipim J. | 30 ก.ย. 60
416,568 Views

  Favorite

การอ่านปีพ.ศ. และ ค.ศ.ในภาษาอังกฤษ ยังมีหลายคนสับสนว่าอ่านอย่างไร รวมถึงการพูดถึงยุคต่าง ๆ เช่น ยุคซิกตี้ เซเว่นตี้ หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าคือยุคไหน เป็นช่วง ค.ศ. อะไร เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องการอ่านปีพ.ศ.- ค.ศ. และการนับปีคริสตศักราชในภาษาอังกฤษกันค่ะ 

 

การอ่านปีคริสตศักราช (ค.ศ.)

     - ปีที่ต่ำกว่าหนึ่งพัน อ่านแบบอ่านเลขปกติ เช่น
          ปี 470 อ่านว่า four hundred and seventy
 

     - ปีที่เลขคู่ที่สองเป็นเลขต่ำว่าหลักสิบ จะอ่านเลข 0 ว่า oh (โอ) เช่น
          ปี 1506 อ่านว่า fifteen oh six

     - ปีที่เลขคู่ที่สองเป็น 00 อ่านว่า hundred เช่น
          ปี 1500 อ่านว่า fifteen hundred

     - ช่วงก่อนปี 2000 อ่านตัวเลขเป็นคู่ เช่น
          ปี 1569 (15/69) อ่านว่า fifteen-sixty-nine
          ปี 1975 (19/75) อ่านว่า nineteen-seventy-five

     - หลังจากปี 2000 ถึงปี 2009 อ่านว่า two thousand and ..... เช่น
          ปี 2001 อ่านว่า two thousand and one
          ปี 2009 อ่านว่า two thousand and nine

     - ตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปัจจุบัน อ่านได้สองแบบ คือ แบบ two thousand and ..... หรือ อ่านเป็นคู่ก็ได้ เช่น
          ปี 2011 อ่านว่า two thousand and eleven หรือ twenty eleven
          ปี 2017 อ่านว่า two thousand and seventeen หรือ twenty seventeen


การอ่านปีพุทธศักราช (พ.ศ.)

การอ่านปีพุทธศักราช จะอ่านแยกทีละ 2 หลัก แล้วเติมคำว่า BE (Buddhist Era) ต่อท้าย ยกเว้น ปี พ.ศ. 2500 ให้อ่านทั้ง 4 หลัก เช่น

ปีพุทธศักราช

คำอ่าน

2495

twenty - four - ninety - five BE

2500

twenty - five hundred BE

2518

twenty - five - eighteen BE

2523

twenty - five - twenty - three BE

2534

twenty - five - thirty - four BE

2560

twenty - five - sixty BE

 

การนับทศวรรษแบบตะวันตก

เนื่องจากฝรั่งชอบนับเวลาสำคัญเป็นช่วงเวลา จึงมีการนับช่วงปีเป็นทศวรรษ หรือนับทีละสิบปี โดยจะนับปีที่ลงท้ายด้วยเลขศูนย์ถึงปีที่ลงท้ายด้วยเลขเก้า ซึ่งนับได้เป็นสิบปีพอดี โดยจะเรียกยุคดังกล่าวโดยใช้ the นำหน้า และต่อท้ายด้วย s หรือ ในปีที่เริ่มต้น  เช่น ปี 1980 – 1989 คือ the 1980s มาดูตัวอย่างรูปประโยคกันค่ะ
 
Since the 1920s, Jazz has recognized in American.
(ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1920 ดนตรีแจ๊สได้กลายเป็นที่รู้จักในหมู่คนอเมริกัน)
 
ในบางครั้ง เราจะได้เห็นคำว่า early, mid และ late ปรากฏอยู่หน้าทศวรรษอีกด้วย ซึ่งเป็นการระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นในช่วงตอนต้น กลาง หรือปลายของยุคนั้น ๆ นั่นเอง ดังตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ค่ะ 
 
World War 2 occurred in the early 1930s until the middle 1945s.
(สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1930 ถึงช่วงกลางทศวรรษ 1945)
 

แล้วยุค Sixty, Seventy, Eighty ที่ได้ยินบ่อยๆ คืออะไร

ยุค Sixty, Seventy, Eighty หรือแม้กระทั่งยุค Ninety เป็นการนับปีในช่วง ค.ศ. 1900 ซึ่งเป็นยุคที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งในด้านการเมือง สังคม สงคราม โดยเฉพาะแฟชั่น ภาพยนตร์ และเพลง ซึ่งโด่งดังมากมาจากทางฝั่งตะวันตก จึงได้มีการแบ่งช่วงนั้นเป็นทศวรรษ และเรียกตามยุคดังกล่าวคือ
 
ปี 1960 – 1969 หรือ the 1960s ว่ายุค Sixty
ปี 1970 – 1979 หรือ the 1970s ว่ายุค Seventy 
ปี 1980 – 1989 หรือ the 1980s ว่ายุค Eighty
ปี 1990 – 1999 หรือ the 1990s ว่ายุค Ninety
 
มาดูตัวอย่างรูปประโยคกันค่ะ
 
The Beatles is most popular band in the 1960s.
(วงเดอะบีเทิลเป็นวงที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในยุค 1960)
 

แล้วการนับศตวรรษล่ะ นับอย่างไร

สำหรับการนับศตวรรษหรือ Century ก็มีหลักคล้ายกันคือ แบ่งช่วงเวลาในคริสต์ศักราชเป็นช่วงละ 100 ปี หากแต่การนับศตวรรษจะเริ่มต้นที่ปีที่หนึ่งของศตวรรษนั้นและจบด้วยปีที่ศูนย์ของศตวรรษถัดไป และถือเอาปีที่นับไปถึงเป็นชื่อศตวรรษที่เราหมายถึง เช่น ศตวรรษที่ 19 คือช่วงปี 1801-1900, ศตวรรษที่ 20 คือช่วงปี 1901-2000 ดังตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
 
Information Technology was developed in the 20st century.
(เทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 20)
 

การนับปีและเรียกยุคโดยแบ่งเป็นทศวรรษและศตวรรษนั้น มีหลักที่ไม่ยากเกินไปเลยนะคะ หากเราจำหลักดังกล่าวได้ ก็จะทำให้เราอ่านข้อมูลประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ได้เข้าใจยิ่งขึ้น แต่อย่าลืมว่าหลักดังกล่าวเป็นหลักเฉพาะคริสต์ศักราชเท่านั้น ไม่รวมพุทธศักราชนะคะ อย่างไร พบกันใหม่ในคอลัมน์หน้าค่ะ สวัสดีค่ะ

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Sasipim J.
  • 6 Followers
  • Follow