Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วงชีพ

Posted By Plookpedia | 07 เม.ย. 60
2,327 Views

  Favorite

วงชีพ

      เชื้อมาลาเรียที่แพร่โรคจากผู้ป่วยสู่คนอื่นนั้นอาศัยยุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำเชื้อโดยเริ่มจากยุงก้นปล่องเพศเมียกัดและดูดเลือดจากผู้ป่วยมาลาเรียแล้วได้รับเชื้อมาลาเรียเพศผู้และเพศเมียเข้าไปผสมพันธุ์กันในกระเพาะอาหารของยุงแล้วเจริญเป็นเชื้อที่ผสมแล้วหรือไซโกต (zygote) เกาะที่ผนังกระเพาะอาหารของยุงจากนั้นไซโกตจะเจริญเป็นถุงเชื้อหรือโอโอซีสต์ (oöcyst) ซึ่งภายในถุงมีเชื้อระยะแพร่หรือสปอโรซอยต์ (sporozoite) เมื่อถุงเชื้อเจริญเต็มที่แล้วก็จะแตกสปอโรซอยต์จะกระจายไปทั่วตัวยุงรวมทั้งในต่อมน้ำลายยุงด้วยเมื่อยุงไปกัดคนก็จะปล่อยเชื้อเข้าไปในกระแสเลือดคน แล้วเข้าไปเจริญในเซลล์ตับหลังจากนั้นจะเข้าไปเจริญในเม็ดเลือดแดง  เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการจับไข้และหนาวสั่นระยะเวลาที่เชื้อเจริญในยุงและในคนจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดดังแสดงไว้ในตารางนี้

 

โรคมาลาเรีย

 

* ระยะเวลาตั้งแต่ถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจนกระทั่งเกิดอาการของโรคในคน  เช่น  มีไข้

 

โรคมาลาเรีย
วงชีพเชื้อมาลาเรีย

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow