Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

แอนิเมชัน

Posted By Plookpedia | 04 เม.ย. 60
8,406 Views

  Favorite

แอนิเมชัน

      เด็ก ๆ รู้บ้างไหมว่า “แอนิเมชัน” หรือ “การ์ตูน” ที่ดูในโทรทัศน์ทุกวันนี้มีมาตั้งแต่ยุคหินเลยทีเดียวด้วยความต้องการที่จะให้ภาพที่วาดสามารถกระโดดโลดเต้นได้เหมือนมีชีวิตจริง จึงทำให้มนุษย์พยายามคิดค้นเทคนิคใหม่ ๆ สำหรับการทำการ์ตูนมาโดยตลอด จนกระทั่งสามารถสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนได้สำเร็จเมื่อเกือบร้อยปีก่อนนี้เองแล้วเด็ก ๆ รู้ไหมว่ากว่าจะเป็นภาพยนตร์การ์ตูนแต่ละเรื่องได้นั้นมีความยุ่งยากมากแค่ไหนโดยเฉพาะในสมัยก่อนต้องมีคนจำนวนมากช่วยกันวาดภาพตัวการ์ตูนนับหมื่น ๆ ภาพ จากนั้นจึงนำภาพทั้งหมดมาเรียงต่อ ๆ กันแล้วฉายภาพวาดนั้นด้วยความ เร็วที่มากพอก็จะหลอกสายตาของพวกเราให้มองเห็นภาพวาดเหล่านั้นเคลื่อนไหวไปมา เด็ก ๆ ก็สามารถทำภาพการ์ตูนที่เคลื่อนไหวเองได้โดยการหาสมุดโทรศัพท์หรือสมุดเล่มหนา ๆ มาวาดการ์ตูนที่มุมกระดาษทีละแผ่น ๆ เช่น วาดภาพกระต่ายค่อย ๆ โผล่ออกมาจากรูเมื่อวาดได้มากพอแล้วลองพลิกกระดาษเร็ว ๆ เด็ก ๆ ก็จะเห็นกระต่ายเคลื่อนไหวได้เหมือนมีชีวิตจริง ๆ ซึ่งเป็นหลักการเดียว กันกับการทำการ์ตูนแอนิเมชันนั่นเอง

 

แอนิเมชัน

 

 

 

 

      ในยุคหินมีการค้นพบภาพบนผนังถ้ำเป็นภาพหมูป่าที่มี ๘ ขาซึ่งเป็นความพยายามของมนุษย์ในยุคนั้นที่ต้องการจำลองภาพการเคลื่อนไหวของหมูป่าอาจถือได้ว่าเป็นการคิดค้นการทำภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “แอนิเมชัน” หลังจากยุคหินเป็นต้นมามนุษย์ได้พัฒนาวิธีการทำการ์ตูนมาโดยตลอดจนกระทั่งในพ.ศ. ๒๔๕๗ วินเซอร์  แมกเคย์ ศิลปินชาวอเมริกันก็ประสบความสำเร็จสามารถสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันขนาดสั้นเรื่อง “เจอร์ที เดอะไดโนเสาร์”  ซึ่งนับเป็นภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันขนาดสั้นเรื่องแรกที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจนทำให้นายทุนทั้งหลายเริ่มสนใจธุรกิจการผลิตแอนิเมชัน เทคโนโลยีในการผลิตแอนิเมชันจึงได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงเวลานั้นเอง ต่อมาในยุคที่อุตสาหกรรมแอนิเมชันกำลังก่อตัวขึ้นมีนักวาดการ์ตูนเกิดขึ้นมาก มายโดยหนึ่งในนั้นเป็นนักวาดการ์ตูนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลกและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ วอลต์ ดิสนีย์ (Walt Disney)  ซึ่งมีความสามารถทั้งด้านการทำแอนิเมชันและการบริหารจัดการด้านธุรกิจจนในที่สุดก็สามารถก่อตั้งสตูดิโอตามชื่อของเขาและสร้างแอนิเมชันที่โด่งดังมากมายอย่างที่เราได้เห็นกันทุกวันนี้

 

แอนิเมชัน
วอลต์ ดิสนีย์

 

วีรบุรุษวงการแอนิเมชันไทย

      ความจริงแล้วอุตสาหกรรมแอนิเมชันเกิดขึ้นในประเทศไทยก่อนประเทศญี่ปุ่นและบุคคลสำคัญที่ริเริ่มสร้างสรรค์งานแอนิเมชันในประเทศไทยก็คือ อาจารย์ปยุต เงากระจ่าง ซึ่งสามารถผลิตผลงานภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันไทยเรื่องแรกได้สำเร็จในชื่อเรื่องว่า “เหตุมหัศจรรย์” เป็นภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันขนาดสั้นที่มีความยาว ๑๒ นาที นำออกฉายครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ หลังจากนั้นอาจารย์ปยุตก็ผลิตภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันขนาดสั้นต่อมาอีก ๒ เรื่อง คือ เรื่อง “หนุมานเผชิญภัย” และ “เด็กกับหมี”  

 

แอนิเมชัน
อาจารย์ปยุต  เงากระจ่าง

 

      ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ อาจารย์ปยุตได้เริ่มต้นทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื่อผลิตภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันขนาดยาวเรื่องแรกของไทยแม้จะขาดเงินทุนและขาดการสนับสนุนแต่ด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเท ของอาจารย์ปยุตในที่สุดผลงานภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันไทยเรื่อง “สุดสาคร” ก็ได้ออกฉายในพ.ศ. ๒๕๒๒  หลังจากนั้นอาจารย์ปยุตจำเป็นต้องยุติการผลิตผลงานการ์ตูนเนื่องจากดวงตาข้างซ้ายสูญเสียการมองเห็นจากการทำงานหนักอย่างไรก็ตามผลงานของท่านก็ยังเป็นแรงบันดาลใจและแบบอย่างให้แก่ผู้ทำงานในวงการการ์ตูนไทยมาโดยตลอด  ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๔๑ มูลนิธิหนังไทยได้มีการเชิดชูเกียรติของอาจารย์ปยุต เงากระจ่าง โดยการตั้งชื่อรางวัลภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมด้านแอนิเมชันว่า “รางวัล ปยุต เงากระจ่าง” เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านและทุกปีมีการจัดประกวดในเทศกาลภาพยนตร์สั้นของประเทศไทยจึงนับได้ว่าท่านเป็น “วีรบุรุษวงการแอนิเมชันไทย” 

 

 

แอนิเมชัน
หนังสือ "คือชีวิต คือปยุต คือ Animation" ที่รวบรวมประวัติและผลงานการ์ตูนของ อาจารย์ปยุต  เงากระจ่าง

 

บทบาทของแอนิเมชันในสังคมไทยปัจจุบัน

      ปัจจุบันแอนิเมชันได้เข้ามามีบทบาทในวงการต่าง ๆ เช่น วงการภาพยนตร์โดยนอกจากจะมีภาพยนตร์ของชาวต่างชาติที่ผลิตในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชันแล้วภาพยนตร์การ์ตูนของไทยก็เป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น เรื่อง “ก้านกล้วย” ซึ่งเป็นภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันแบบสามมิติเรื่องแรกของไทยซึ่งได้จัดทำออกฉายแล้วหลายภาคเนื่องจากได้รับความชื่นชมอย่างมากนอกจากนี้ยังมีเรื่อง “นางนาค” แต่อาจไม่ได้รับความนิยมมากนัก นอกจากนี้แล้วแอนิเมชันยังแพร่หลายในวงการโฆษณาดังที่เราได้เห็นภาพยนตร์โฆษณาสินค้าหลายอย่างจัดทำในรูปแบบแอนิเมชัน

 

แอนิเมชัน
ภาพยนต์การ์ตูนแอนิเมชันเรื่อง "สุดสาคร" ผลงานอันทรงคุณค่าของอาจารย์ปยุต เงากระจ่าง

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

Content

3
ประเภทของแอนิเมชัน
แอนิเมชันแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ แอนิเมชันแบบภาพสองมิติ แอนิเมชันรูปแบบนี้จะเน้นการใช้วิธีวาดเป็นหลักโดยแอนิเมชันที่ใช้มือวาดในยุคแรก ๆ นั้นเรียกว่า แอนิเมชันใช้แผ่นใส (cel animation) เป็นการ์ตูนแบบดั้งเดิมที่ใช้การวาดและระ
6K Views
5
แบบจำลองสามมิติ (Three-dimensional model)
เป็นการสร้างรูปทรงหรือรูปร่างแบบสามมิติโดยการกำหนดจุดต่าง ๆ และเชื่อมโยงจุดด้วยเส้นตรงเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างรูปทรงสามมิติอาจทำได้โดยอัตโนมัติด้วยโปรแกรม ในกรณีที่รูปทรงเป็นแบบสมมาตร
3K Views
6
การให้แสง-เงา (Shading)
เป็นการนำแบบจำลองสามมิติซึ่งประกอบด้วยรูปหลายเหลี่ยมจำนวนมากมาระบายสีและให้แสง-เงาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ภาพสมจริง ในขั้นตอนนี้ผู้วาดภาพจะกำหนดลักษณะของวัสดุและสีของรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ ตลอดจนประเภทของการให้แสง-เงา (shad
3K Views
10
การเปลี่ยนรูปและการแปลงร่าง (Warping and Morphing)
หรือเรียกทับศัพท์ว่าวอร์ปปิงและมอร์ฟฟิงเป็นเทคนิคที่ใช้สร้างสีสันให้แก่แอนิเมชันวอร์ปปิงหมายถึง การเปลี่ยนรูปของภาพแต่ยังคงมีสภาพเดิมอยู่ เช่น การทำแอนิเมชันเงาของภาพใบหน้าคนในน้ำที่กระเพื่อมซึ่งยังคง
3K Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow