หุ่นยนต์ คือ “หุ่นที่มีเครื่องกลไกอยู่ภายในสามารถเคลื่อนไหวและทำงานหลายอย่างแทนมนุษย์ได้” หุ่นยนต์แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๑) หุ่นยนต์ชนิดติดตั้งอยู่กับที่
๒) หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้
นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ใช้หุ่นยนต์ประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ โรงงานอาหารสำเร็จรูปใช้หุ่นยนต์บรรจุกระป๋องอาหารหรือกระป๋องเครื่องดื่มลงในหีบห่อ หุ่นยนต์ชนิดนี้มีแขนเดียวปลายแขนเป็นเครื่องจับที่มีลักษณะเหมือนมือสำหรับหยิบจับชิ้นส่วน
อาจเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเองโดยใช้ล้อ ขา และเท้า หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้มีมากมายหลายแบบ ชนิดที่นิยมสร้างกันมากในปัจจุบัน ได้แก่ หุ่นยนต์ ๒ ขา ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์
หุ่นยนต์ตัวแรกในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีชื่อว่า หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน สร้างโดยวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานเป็นหุ่นยนต์ ๒ ขา มีรูปร่างคล้ายคนขนาดเท่าคนจริง แต่งกายแบบหมอ สามารถเดิน ยกมือไหว้ พูด ฟัง โต้ตอบ และทำงานได้อีกหลายอย่าง จึงนับได้ว่าหุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคนไทยทุกคน ปัจจุบันพัฒนาการของหุ่นยนต์ในประเทศไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่องมีทั้งการวิจัยด้านการออกแบบและการควบคุมหุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์บิน หุ่นยนต์เดิน ๒ ขาคล้ายมนุษย์ หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำ และหุ่นยนต์อื่น ๆ ทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่การแข่งขันเกี่ยวกับหุ่นยนต์ได้เท่าเทียมประเทศอื่นในโลก
หุ่นยนต์ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า robot คือ “เครื่องจักรกลหรือหุ่นที่มีกลไกอยู่ภายในสามารถทำงานได้หลายอย่างร่วมกันกับมนุษย์หรือแทนมนุษย์” หุ่นยนต์ตัวแรกของประเทศไทยมีชื่อว่า หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน สร้างโดยวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยมีอาจารย์สนั่น สุมิตร และอาจารย์สวัสดิ์ หงส์พร้อมญาติ เป็นแม่งานในการสร้าง หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานเป็นหุ่นยนต์เดิน ๒ ขา คล้ายมนุษย์ มีรูปร่างคล้ายคน ขนาดเท่าคนจริง แต่งกายแบบหมอ ยกมือไหว้ พูด ฟัง โต้ตอบ และสามารถทำงานอื่นได้อีกหลายอย่าง
หุ่นยนต์อาจแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑. หุ่นยนต์ชนิดติดตั้งอยู่กับที่
มีแขนเดียว มีข้อต่อที่มีลักษณะเหมือนข้อต่อที่ไหล่ ที่ศอก และที่ข้อมือของคน แขนสามารถขยับและเคลื่อนไหวได้ ปลายแขนมีเครื่องจับซึ่งทำหน้าที่คล้ายมือคนสำหรับหยิบจับชิ้นส่วน หุ่นยนต์ชนิดนี้นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เรียกชื่อว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
๒. หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้
สามารถขยับเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเองโดยใช้ล้อ ขา หรือการขับเคลื่อนในรูปแบบอื่น ๆ
ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ นักวิทยาศาสตร์และนักประพันธ์ชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย ชื่อ ไอแซก อะซิมอฟ (Isaac Asimov) ได้เขียนนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง “รันอะราวนด์” (Run around) ขึ้นโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์และกำหนดกฎ ๓ ข้อ ของหุ่นยนต์ ไว้ในนวนิยายเรื่องนั้น คือ
๑) หุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายมนุษย์หรือปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตราย
๒) หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งของมนุษย์ นอกจากว่าคำสั่งนั้นจะขัดกับกฎข้อที่ ๑ และ
๓) หุ่นยนต์สามารถปกป้องตัวเองได้แต่ต้องไม่ขัดกับกฎข้อที่ ๑ และกฎข้อที่ ๒
กฎ ๓ ข้อของอะซิมอฟนี้เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจหุ่นยนต์และเริ่มพัฒนาหุ่นยนต์อย่างจริงจังนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หุ่นยนต์ชนิดติดตั้งอยู่กับที่
หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้
ใช้ประโยชน์ในการทำงานที่มีอันตรายสูง งานที่สกปรก งานที่น่าเบื่อ เพราะต้องทำซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
งานวิจัยด้านหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่น่าสนใจ ได้แก่
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
ระดับอุดมศึกษา