Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย

Posted By Plookpedia | 05 ก.ย. 60
7,805 Views

  Favorite

ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย 

 

เมื่อคนไทยรวมกันเป็นหมู่ในแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยนี้เมื่อมีการเกิด เจ็บและตาย ได้พยายามใช้ยาตามธรรมชาติ เช่น รากไม้ ใบไม้ รักษาโรค เมื่อนับถือพระพุทธศาสนาได้นำการแพทย์ของอินเดียเข้ามาร่วมด้วยนอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากจีนและไสยศาสตร์ เช่น มีการสะเดาะเคราะห์หมอในสมัยโบราณจึงเป็นไปในลักษณะของหมอทางไสยศาสตร์

 

 

ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการติดต่อกับชาวตะวันตกโดยเฉพาะในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้มีการนำความรู้ทางการแพทย์เข้ามาด้วยต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีแพทย์แผนปัจจุบันชาวต่างประเทศเข้ามาทำการรักษาคนเจ็บป่วยซึ่งขณะนั้นคนไทยยังไม่มีสถานที่รักษาพยาบาลของตนเองจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้นำไม้และวัสดุจากเมรุที่ใช้ในการพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ มาสร้างเป็นโรงศิริราชพยาบาลทำการรักษาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" มีการรับนักเรียนเข้าเรียนแพทย์และพยาบาลด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ที่ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างสถานศึกษาขึ้นบางส่วนและส่งคนไทยไปศึกษายังต่างประเทศพร้อมกับขอความร่วมมือจากมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ให้ช่วยส่งอาจารย์มาพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนโบราณจึงได้หมดไปจากโรงเรียนแพทย์

 

 

การแพทย์แผนปัจจุบันได้ขยายไปทั่วประเทศและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก

 

______________________________________________________________

 

ประวัติการแพทย์ไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยอยู่รวมกันเป็นหมู่ในแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันมีหลักฐานการขุดพบเขากวางซึ่งเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการแพทย์ที่จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม อุดรธานี ราชบุรี ซึ่งตรงกับสัญลักษณ์ที่ผนังถ้ำในเทือกเขาพีรีนีสประเทศฝรั่งเศสในตอนกลางของทวีปยุโรปนอกจากนี้ยังขุดพบการเจาะรูในกะโหลก ซึ่งเชื่อว่ากระทำเพื่อรักษาโรคปวดศีรษะอย่างแรง

 

เนื่องจากการขุดพบมีแต่กระดูกเท่านั้นส่วนเนื้อเยื่อเน่าเปื่อยไปหมดจึงไม่สามารถบอกได้ว่าในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะมีโรคเกิดขึ้นมากน้อยเพียงไรกับอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น วัณโรคที่เกิดกับปอดย่อมเน่าเปื่อยไปพร้อมกับอวัยวะนอกจากนี้ยังมีพิธีไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น "พิธีเสียกบาล" ซึ่งทำกับคนมีเคราะห์

ซามูเอล เรโนลดส์ เฮ้าส์

 

 

อิทธิพลการแพทย์ของอินเดียและจีนได้เข้ามาเกี่ยวข้องคนไทยรู้จักท่านชีวกโกมารภัจจ์แพทย์ประจำพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นบรมครูของการแพทย์แผนโบราณของไทยเรารู้จากประวัติของท่านว่าท่านเรียนแพทย์ที่เมืองตักกสิลาใช้เวลาเรียน ๗ ปี ซึ่งตามกำหนดต้องใช้เวลาถึง ๑๔ ปี จึงจะสำเร็จแสดงว่าวิชาแพทย์นั้นเป็นวิชาที่เรียนสำเร็จยากมาแต่โบราณกาลส่วนหมอจีนที่รู้จักกันดีคือ หมอฮัวโต๋ในหนังสือสามก๊กได้รับการยกย่องว่าเป็นหมอผ่าตัด เช่น ผ่าตัดแผลเกาทัณฑ์ที่ต้นแขนของกวนอูยาระงับความรู้สึกในสมัยนั้น ได้แก่ สุรา ลำโพง การแพทย์ของอินเดียส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาทางยาส่วนการแพทย์จีนมีการผ่าตัดมากกว่าของอินเดีย

 

คนไทยเรารู้จักรักษาสุขภาพอนามัยมาตั้งแต่โบราณ เช่น การรักษาโรคด้วยสมุนไพรแต่การศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคต่าง ๆ ยังไม่แพร่หลายการแพทย์ปัจจุบันเริ่มขึ้นเมื่อไทยติดต่อกับประเทศทางตะวันตกใน พ.ศ. ๒๐๕๔ ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พวกแรกที่เข้ามาคือ พวกโปรตุเกส คนเดินทางสมัยนั้นนอกจากลูกเรือและนักสอนศาสนาแล้วยังมีแพทย์รวมอยู่ด้วยต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งตรงกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗) มีฝรั่งชาติต่าง ๆ เดินทางมาติดต่ออีกมาก เช่น สเปน ฝรั่งเศษ เยอรมนี

แดน บีช บรัดเลย์

 

 

การแพทย์ของตะวันตกเริ่มแต่สมัยฮิปโปเครตีส เมื่อ ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น การค้นพบกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ วิลเลียม ฮาวีย์ พบการไหลเวียนของเลือดแพทย์ที่เข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นที่รู้จักกันดี คือ หมอบรดเลย์ และหมอเฮาส์ท่านทั้งสองตั้งร้านขายยาและนำการป้องกันโรคผีดาษมาใช้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงค์และข้าราชการจัดตั้งโรงพยาบาลเพื่อเป็นทานแก่ประชาชนทั่วไปขณะที่กำลังดำเนินการอยู่เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ได้สิ้นพระชนม์ลงภายหลังการพระราชทานเพลิงพระศพได้นำไม้และวัสดุจากเมรุมาสร้างโรงพยาบาลในที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณวังหลัง ใช้ชื่อว่า "โรงศิริราชพยาบาล" เพื่อรักษาโรคให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดเงินมีการรักษาทั้งทางแผนปัจจุบันและแผนโบราณนอกจากการรักษาโรคแล้วยังตั้งโรงเรียนแพทย์มีกำหนดเวลาเรียน ๓ ปี  ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ มีนักเรียนแพทย์เรียนสำเร็จรุ่นแรก ๙ คน ในเวลาต่อมาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนผดุงครรภ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ 

พ.ศ. ๒๔๖๔ เริ่มยุคทองของการแพทย์แผนปัจจุบันโดยสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนมากสร้างสถานศึกษาและมอบทุนการศึกษาให้คนไทยไปศึกษาวิชาแพทย์ยังต่างประเทศ มีการติดต่อกับมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ให้ช่วยส่งอาจารย์มาร่วมสอนตามหลักสูตรสากลมูลนิธินี้ได้ให้การช่วยเหลือถึง ๑๒ ปี การแพทย์แผนโบราณจึงได้หมดไปในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์ขยายขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และทุกภาคของประเทศไทยนอกจากนี้การแพทย์ของไทยยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกอีกด้วย

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags

Content

1
การแพทย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และใกล้ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
การแพทย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และใกล้ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ประเทศไทยมีการแพทย์สองอย่าง คือ ๑. การแพทย์พื้นบ้าน ชาวบ้านได้ใช้กันมาเป็นเวลานานขณะนี้ประชาชนจำนวนมากก็ยังใช้กันอยู่ปัจจุบันเรียกว่าการแพทย์แผนโบราณไม่ได้ใช้ว่าการแพทย์เดิมหรือการแพทย์พ
1K Views
4
การแพทย์แผนโบราณและการแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยอยุธยา
การแพทย์แผนโบราณและการแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยอยุธยา ขณะที่ประเทศไทยใช้วิธีการแพทย์แบบที่เรียกว่าการแพทย์แผนโบราณอยู่นั้นการแพทย์ฝ่ายประเทศทางตะวันตกโดยอาศัยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้าไปมาก ฉะนั้นเมื่อประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศโดยเฉ
2K Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow