ต้นเหตุของเสียงทำให้เราโกรธ ให้ไกล คงไปห้ามการกระทำของเขาให้เขาหยุดไม่ได้ ... เหตุบังเอิญไม่มีในโลก ทุกอย่างล้วนเกิดแต่กรรม
แต่คุณสามารถห้ามใจคุณให้หยุดการมี มิจฉาทิฐิ ได้
อันปกติธรรมดาของบ่อน้ำที่ควรพึงรักษาไว้ให้ใสสะอาด เพื่อการบริโภคดื่มกิน ชำระล้างความสกปรก ดับร้อนให้ความเย็นใจ แก่ผู้ใช้อยู่ประมาณใด
ผู้รู้พึงรักษาจิตตนไว้ให้ใสสะอาด ร่าเริงขวนขวายนำธรรมมะขึ้นต้น ด้วยพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา ถ่ายถอนและอภัยเสียซึ่งจิตอันรุ่มร้อนนั้น
้เปรียบดังผู้รู้ประโยชน์แห่งบ่อน้ำ หมั่นดูแลกำจัดวัชพืชน้ำไว้ มิให้เจริญเติบโตทำน้ำเน่าเสีย ปลูกแต่พืชให้คุณ คือกุศล มีการเจริญพรหมวิหารสี่เป็นต้น ดังกระทำให้บ่อน้ำนั้นใสสะอาดน่าบริโภค ชำระล้างกายให้ใจสบาย แก่ผู้รักษาไว้ บริโภคไว้ อันมีประพฤติต่างจากผู้ไม่รู้ ไม่มีปกติยินดีในประโยชน์ของการรักษาน้ำให้ใสสะอาดยังประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง และผู้ห้อมล้อม.. กักขังไว้ซึ่งตัณหาทั้งปวง ไม่เจริญความเมตตา เพื่ออภัยเป็นการถ่ายถอนเสียซึ่งตัวตัณหา สุมไว้ให้เจริญเติบโต.. เป็นบ่อน้ำเสีย ขังแล้วแต่วัชพืชน้ำมีปกติทำน้ำเน่าเสีย เป็นแหล่งเจริญแต่สิ่งส่งกลิ่นเหม็นไม่น่าเข้าใกล้ ผู้รู้เห็นแล้ว ควรเจริญไว้ซึ่งพรหมวิหารสี่ ยังจิตใจให้ใสสะอาดดังรู้ประโยชน์แห่งบ่อน้ำ หมั่นรักษาเพื่อตนเอง และเพื่อผู้ห้อมล้อมไว้โดยประมาณนั้น บ่อน้ำใสสะอาดแล้ว เป็นที่อยู่ เป็นที่ดับร้อนให้ความสำราญแก่เหล่าสรรพสัตว์แวดล้อมฉันใด.. จิตที่ผู้รู้เจริญไว้ด้วยพรหมวิหารสีแล้ว จึงเป็นที่รักของเหล่าเทพยดา และผู้ห้อมล้อมฉันนั้น
วิธีที่ 1. แก้ที่เหตุ
ปรับความเข้าใจกันถ้าเราเป็นฝ่ายผิดก็ขอโทษเขา....ถ้าเขาผิดต่อเราก็ให้อภัยเขาไป เพราะเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
วิธีที่ 2. การที่ผูถูกด่ารู้สึกเป็นเดือดเป็นร้อนทุรนทุรายมากเท่าไร ยิ่งเป็นที่ชอบใจของผู้ด่าเพราะนั่นเท่ากับว่าการด่าของเขาสัมฤทธิ์ผล
ในเมื่อเราไม่ได้เป็นในสิ่งที่เขาด่าก็ไม่ต้องเอามาเป็นอารมณ์
พระพุทธองค์ทรงเปรียบผู้ด่าเป็นเจ้าของบ้านผู้ถูกด่าเป็นแขกมาเยือน ผู้เป็นเจ้าของบ้านนำน้ำอาหารมาต้อนรับ(คำด่า)แต่แขกผู้มาเยือนไม่รับ เพราะฉนั้นน้ำและอาหารนั้นจะเป็นของใคร คำตอบ:น้ำอาหารมา(คำด่า)นั้นก็ยังคงเป็นของเจ้าบ้าน(ผู้ด่า) การที่ผู้ถูกด่าไม่แสดงปฏิกริยาต่อคำด่าก็ยิ่งทำให้ผู้ด่าเร่าร้อน ถูกเผาด้วยไฟโทสะของตนเอง
วิธีที่ 3. ให้แผ่เมตตา
ถ้าคุณผู้ถูกด่าเป็นผู้มีศีลมีคุณธรรมสูงก็ยิ่งเป็นบาปมากสำหรับผู้ด่า จึงสมควรสงสารเขามากกว่าที่จะโกรธตอบ
พระพุทธองค์ทรงสอนว่าผู้ที่โกรธตอบย่อมเลวกว่าผู้โกรธก่อน เพราะผู้ที่โกรธก่อนเขาจุดไฟโทสะของเขาขึ้นกองเดียว แต่ผู้โกรธตอบเป็นผู้ทำให้ไฟโทสะเจริญขึ้นทั้งสองฝ่าย
วิธีที่ 4. จงเลือกเสพแต่อามรมณ์ที่ดี
อารมณ์ที่ไม่ดีก็กองไว้ตรงนั้นไม่ต้องใส่ใจ ทิ้งไว้ตรงนั้นเหมือนลมที่พัดผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ต้องเก็บมาคิด ไม่ต้องเอากลับไปฝากคนที่บ้าน