Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน

Posted By Plookpedia | 17 พ.ค. 60
649 Views

  Favorite

ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน


เมื่อการก่อสร้างตัวบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้วเจ้าของบ้านจะต้องไปติดต่อที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของเขตนั้น ๆ เพื่อขออนุญาตใช้ไฟฟ้าเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าจะมาตรวจสอบการวางสายไฟในอาคารดูขนาดของสายไฟดวงโคมและจุดต่าง ๆ ที่ต้องใช้ไฟว่าเป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าหรือไม่เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วทางการไฟฟ้าก็จะนำมิเตอร์ไฟฟ้าซึ่งมีขนาดเพียงพอกับปริมาณไฟฟ้าที่จะขอใช้มาติดยังเสาไฟฟ้าซึ่งปักอยู่หน้าบ้านโดยผู้ขออนุญาตใช้ไฟเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการขออนุญาตเมื่อทำการต่อสายเข้าบ้านและได้สับสวิตช์ซึ่งอยู่ภายในตัวบ้านแล้วบ้านนั้นก็จะมีไฟฟ้าใช้ได้

 

การเดินสายไฟในบ้านและการติดตั้งดวงโคม ฟิวส์และปลั๊กเสียบสวิตช์ไฟต่าง ๆ นับเป็นสิ่งสำคัญมากถ้ามีการใช้ไฟฟ้ามากผิดปกติ เช่น ในกรณีที่ใช้สายไฟฟ้าขนาดเล็กแต่ทางบ้านได้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องหุงต้มไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลมหลาย ๆ อัน ใช้พร้อม ๆ กัน กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้ามาตามสายอย่างมากทำให้สายไฟเกิดร้อนจัดเป็นเหตุให้ฉนวนหุ้มสายเสื่อมใช้การไม่ได้อันตรายจะเกิดขึ้นเมื่อสายไฟมาแตะกันทำให้เกิดวงจรลัด (short circuit) หรือที่เรียกว่าไฟช็อตเป็นเหตุให้กระแสไฟจำนวนมากมายไหลเข้ามาในบ้านหลังนั้นซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ในบ้านหลังนั้นได้เพื่อป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้าเข้าสู่บ้านมากเกินไปจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายดังกล่าวทุกบ้านจะต้องติดตั้งสวิตช์ไฟตัดตอนพร้อมทั้งกลักฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (circuit breaker) เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าเข้าบ้านผิดปกติหรือในกรณีที่เกิดวงจรลัด กระแสไฟจำนวนมากจะไหลผ่านกลักฟิวส์เกิดร้อนละลายขาดออกจากกันกระแสไฟก็จะหยุดไหลเข้าในบ้านหลังนั้นทันที

เครื่องป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

 

 

ในเขตกรุงเทพมหานครการไฟฟ้านครหลวงได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ประชาชนโดยอาศัยกระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลต่าง ๆ เช่น ที่สถานีจ่ายไฟย่อยบางกรวยธนบุรีโรงจักรพลังไอน้ำพระนครเหนือ โรงจักรพลังไอน้ำพระนครใต้ โรงจักรพลังไอน้ำสามเสนและโรงจักรดีเซลตามที่ต่าง ๆ รวมทั้งพลังไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ติดตั้งควบกับกังหันน้ำ ณ เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก เขื่อนสิริกิติ์จังหวัดอุตรดิตถ์ เขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี กระแสไฟฟ้าจากเขื่อนต่าง ๆ จะถูกส่งมาตามสายส่งศักย์สูงซึ่งขึงตึงอยู่บนหอคอย (pylon) วางเป็นระยะ ๆ จากจังหวัดดังกล่าวลงมาผ่านกรุงเทพมหานครและเลยลงไปยังจังหวัดบางจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศ แรงดันไฟฟ้าจากเขื่อนจะถูกยกขึ้นจนสูงถึง ๒๓๐,๐๐๐ โวลต์ โดยใช้หม้อแปลงไฟขึ้น (step-up transformer) และได้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนภูมิพลลงมายังกรุงเทพฯ โดย มีสถานีย่อย (sub-station) ๕ แห่งที่นครสวรรค์อ่างทอง พระนครเหนือบางกะปิและบางกอกน้อย ที่สถานีย่อยนี้แรงดัน ๒๓๐,๐๐๐ โวลต์ จะถูกลดลงมาเหลือ ๖๙,๐๐๐ โวลต์ การสร้างสถานีย่อยนี้เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ โดยลดแรงดันให้เป็น ๑๑,๐๐๐ โวลต์ การลดแรงดันไฟฟ้ากระทำโดยใช้หม้อแปลงไฟลง (step-down transformer) กระแสไฟฟ้าที่มีแรงดัน ๑๑,๐๐๐ โวลต์ ก็จะถูกส่งไปตามสายไฟซึ่งขึงบนเสาคอนกรีตแต่ละเสาปักห่างเป็นระยะทางประมาณ ๕๐ เมตร เมื่อเข้าเขตที่มีอาคารบ้านเรือนการไฟฟ้าจะติดตั้งหม้อแปลงไฟลงอีกชุดหนึ่งเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าที่สูง ๑๑,๐๐๐ โวลต์ ลงมาเหลือเพียง ๒๒๐ โวลต์ อันเป็นแรงดันไฟฟ้าสำหรับใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow