ประเพณีภาคอีสานที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์นรกหรือเปรต
ทั้งนี้ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต
นอกจากนี้ บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่
มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในพระธรรมบทว่า ญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์ เมื่อตายไปจึงไปเกิดในนรก พระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วไม่ได้อุทิศให้ญาติที่ตายไป พอตกกลางคืนเหล่าญาติของพระเจ้าพิมพิสารที่ตายไปมาปรากฎตัวเปล่งเสียงร้องน่ากลัวบริเวณพระราชนิเวศ รุ่งเช้าพระเจ้าพิมพิสารจึงได้รีบไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์จึงบอกเหตุให้ทราบว่า ญาติที่ไปตกอยู่ในภูมินรก ต้องการได้รับส่วนกุศล จึงได้ก่อเกิดการทำบุญข้าวประดับดินขึ้นมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาตที่ตายไปแล้ว
ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำมาเป็นประจำ ไม่ใช่แค่เหล่าญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่บรรดาวิญญาณเร่รอน ก็สามารถรับส่วนกุศลนั้นไปด้วย ดังนั้น การทำบุญข้าวประดับดิน คือการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี
มีดังนี้
1. วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ 4 ส่วน
ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว
ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง
ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง
ส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์
2. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ
ประเพณีคนลาวและไทยอีสาน มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า กลางคืนของเดือนเก้า หรือ ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี
ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็นการนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด
3. หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า
เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คน
อาจมีดังนี้
1. ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน
2. เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว
3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไป (ถือเป็นอาหารหวาน)
4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ
พอได้เรียนรู้ประเพณีดี ๆ ของภาคอีสาน อย่างประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้ากันแล้ว ก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานคงช่วยกันสานต่อประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้มีโอกาสเรียนรู้ประเพณี และวัฒนธรรมดี ๆ แบบนี้ด้วยเช่นกัน