การเลี้ยงปลาในกระชัง หมายถึง การเลี้ยงปลาในภาชนะกักขังตั้งแต่ลูกปลาไปจนถึงปลาขนาดใหญ่น้ำสามารถถ่ายเทได้รอบด้านของภาชนะกักขัง
การเลี้ยงปลาแบบนี้สามารถดำเนินการได้ในแหล่งน้ำทั่วไปในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ คลองส่งน้ำแม้แต่ในบ่อที่ขุดแร่ซึ่งมีน้ำขังหรือแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยตอไม้ก็ใช้ได้การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นวิธีการหนึ่งที่เหมาะสมทั้งทางเศรษฐกิจและการปฏิบัตินอกจากนั้นวิธีนี้อาจจะนำไปใช้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือในทะเลก็ได้การเลี้ยงปลาในกระชังสามารถปล่อยปลาได้หนาแน่นการให้อาหารสมทบที่สมดุลจะให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูงในระยะเวลาอันสั้น
ส่วนประกอบอย่างอื่นของตัวกระชังก็คือ
๑. ทุ่นสำหรับลอยกระชังชนิดที่ลอยผิวน้ำประกอบด้วยทุ่นโลหะหรือพลาสติกหรือท่อพีวีซี (PVC) ปิดหัวท้าย
๒. ฝาปิด ฝาปิดส่วนบนจะช่วยป้องกันศัตรูโดยเฉพาะพวกนกป้องกันสาหร่ายเกาะตัวกระชังและป้องกันขโมยและบางโอกาสทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจกินอาหารดีขึ้นฝาปิดอาจทำด้วยอวนไม้หรือตาข่ายโลหะและผักตบชวา
๓. ที่ให้อาหารควรจะต้องมีมิฉะนั้นจะสูญหายที่ให้อาหารอาจเป็นแป้นสี่เหลี่ยมมีเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร หรือถ้าให้อาหารลอยก็ควรมีกรอบป้องกันอาหารไหลตามน้ำ
รูปร่างลักษณะของกระชังส่วนใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมด้านเท่าบางแห่งสร้างรูปกลมหรือหกเหลี่ยมขนาดของกระชังมีปริมาตร ตั้งแต่ ๑-๑๐๐ ลูกบาศก์เมตร ขนาดเล็ก ๐.๗-๑๐ ลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่ใช้สำหรับทดลองแต่ที่ทำเป็นการค้า เช่น ในอินโดนีเซียอาจมีขนาดถึง ๑๖-๑๕๐ ลูกบาศก์เมตร การเลี้ยงปลาในกระชังไม่ควรจะทำกระชังขนาดใหญ่เพราะมีข้อเสียหายและความไม่สะดวกหลายประการในการจัดการขนาดกระชังที่เหมาะกับการเลี้ยงปลาควรมีขนาดความจุ ๒๐ ลูกบาศก์เมตร
การเลี้ยงปลาในกระชังมิใช่ของใหม่แต่มีมาแล้วไม่น้อย กว่า ๑๐๐ ปี การเลี้ยงปลาดังกล่าวกระทำกันตามทะเลสาบ แม่น้ำ โขงและสาขาของแม่น้ำโขงปลาที่เลี้ยงส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา สวาย ปลาเทโพและปลาดุก การเลี้ยงปลาในกระชังของไทยกระทำกันอยู่ในแม่น้ำน่าน จังหวัดนครสวรรค์และแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดชัยนาท
ควรมีลักษณะดังนี้
ก. ในแง่ทางชีววิทยาและสรีรวิทยา
๑. โตเร็ว
๒. กินอาหารสมทบที่ให้
๓. สามารถเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อได้ดี
๔. สามารถอยู่ได้หนาแน่นแออัด
๕. ทนต่อสภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะในน้ำที่มีก๊าซออกซิเจนต่ำ
๖. ทนทานและมีความต้านทานโรคสูง
๗. หาลูกปลาได้สะดวกมีปริมาณพอเพียง
ข. ในแง่เศรษฐกิจ
๑. ราคาซื้อขายสูง
๒. ขายง่ายขายสดไม่ต้องผ่านกรรมวิธีมาก
๓. ชนิดที่ตลาดต้องการ
ปลาน้ำจืดที่มีความต้านทานที่เหมาะจะเลี้ยงในกระชังมีอยู่ ๕ ครอบครัว คือ
ผลการทดลองปรากฏกว่าปลานิลเหมาะแก่การเลี้ยงในกระชังมากมีการเจริญเติบโตดีและมีอัตรารอดสูงกินอาหารเม็ดและเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อได้ดีมีความต้านทานโรคสูง และสามารถปรับตัวอยู่ได้หนาแน่น
ข้อเสียของปลาสกุลตีลาเบียที่เลี้ยงในบ่อดินก็คืออัตราการขยายพันธุ์ปลาสกุลตีลาเบีย เช่น ปลาหมอเทศมีอัตราการขยายพันธุ์รวดเร็วมากจึงทำให้การเจริญเติบโตชะงักงัน แต่เมื่อนำไปเลี้ยงในกระชังการสืบพันธุ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นเนื่องจากปลาไม่สามารถทำหลุมวางไข่ในกระชังลอยในปัจจุบันได้มีการทดลองเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันในกระชัง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตปลาสูงขึ้นโดยปล่อยปลาไนร้อยละ ๖๕ ปลาลิ่นร้อยละ ๑๘ และปลาซ่งร้อยละ ๑๘ ในระยะเวลาเลี้ยง ๑๑๗ วัน ปลาไนจะ โตจาก ๑๑๐ กรัม เป็น ๕๔๐ กรัม ปลาลิ่นจะโตจาก ๑๕๐ กรัม เป็น ๓๗๐ กรัม และปลาซ่งจะโตจาก ๑๗ กรัม เป็น ๒๐๐ กรัม
กระชังที่เลี้ยงปลาควรจะทำด้วยวัสดุที่มีราคาถูกมีความคงทนและง่ายต่อการรักษาดูแลแต่ในทางปฏิบัตินั้นก็แตกต่างกันไปตามท้องที่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่มีใช้อยู่ในท้องที่นั้น ๆ รวมทั้งรูปแบบและการลงทุนซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจ
ชนิดของปลาที่เลี้ยงในกระชัง คือ ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาช่อน ปลาบู่ ปลาตะเพียน ปลาตะโกก อัตราการปล่อยลูกปลา ขนาด ๓.๘-๖.๓ เซนติเมตร ปลาช่อน ๘๐ ตัวต่อตารางเมตร ปลาสวาย ปลาเทโพ ๙๓ ตัวต่อตารางเมตร ปลาตะเพียน ๓๖๑ ตัว ต่อตารางเมตร และปลาไน ๑๐๗ ตัวต่อตารางเมตร เมื่อเลี้ยงครบ ๑ ปี ผลผลิตในปริมาตรน้ำ ๑ ลูกบาศก์เมตร จะได้ปลา ตะเพียน ๔๕.๕ กิโลกรัม ปลาสวายหรือปลาเทโพ ๖๒.๑ กิโลกรัม ปลาช่อนชะโด ๑๑๒.๘ กิโลกรัม และปลาไน ๑๓๓.๓ กิโลกรัม สรุปแล้วจะเห็นว่าการเลี้ยงปลาไนในกระชังให้ผลผลิตสูงกว่าการเลี้ยงปลาในบ่อ ๑๐- ๒๐ เท่า