Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ชีพจักรแมลงครั่ง

Posted By Plookpedia | 28 มี.ค. 60
750 Views

  Favorite

ชีพจักรแมลงครั่ง


แมลงครั่งออกลูกเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตที่เรียกว่าแบบครบ ๔ ขั้น (complete metamorphosis) เป็นไข่ ตัวอ่อน ดักแด้และตัวแก่ ตามลำดับตัวเมียมีอายุครอกละประมาณ ๖ เดือน ปีหนึ่งจึงสืบพันธุ์ได้ ๒ ครอก การแพร่พันธุ์นั้นเกิดจากตัวอ่อน (larva) ซึ่งฟักออกจากไข่เมื่อแข็งแรงแล้วก็จะออกจากรังตัวเมียเพื่อหาอาหารคือ น้ำเลี้ยงต้นไม้ดำรงชีวิตต่อไปครั่งตัวเมียที่สมบูรณ์ให้ลูกครอกละ ๒๐๐-๕๐๐ ตัว ตัวอ่อนมีลักษณะเป็นจุดโตเท่าปลายเข็มหมุดสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่ามันจะเคลื่อนไหวได้ช้า ๆ ลูกครั่งเมื่อออกจากซากรังแม่ครั่งแล้วก็จะไต่คลานสับสนไปมาตามกิ่งไม้เพื่อหาบริเวณกิ่งตอนที่เปลือกนิ่มและบางอ่อนนุ่มจะพบตัวอ่อนอาศัยอยู่ประมาณ ๒-๓ วัน ตัวอ่อนที่เห็นว่าบริเวณตอนใดมีกิ่งเหมาะสมก็เอางวงไชลงไปในท่ออาหารของเปลือกไม้จนถึงทางเดินน้ำเลี้ยงแล้วก็อาศัยดูดกินเป็นอาหารของเปลือกไม้จนถึงทางเดินน้ำเลี้ยง แล้วก็อาศัยดูดกินเป็นอาหารโดยไม่เคลื่อนย้ายต่อไปอีก

ลักษณะเซลล์ครั่งในระยะต่างๆ

 

 

ตัวอ่อนจะเกาะรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ตามกิ่งไม้เป็นหมู่ ๆ ลำตัวเบียดชิดกัน ความยาว ๑ ฟุต เกาะเรียงกันอยู่ประมาณ ๑๐๐-๕๐๐ ตัว ครั่งจะจับที่กิ่งสดนิ่มอวบอ่อนดีเสียก่อน บริเวณด้านล่างของกิ่งทางทิศตะวันออกครั่งชอบจับมากส่วนบริเวณอื่น ๆ นอกจากนี้ครั่งจะจับทำรังภายหลังแล้วแมลงครั่งจึงเริ่มขับระบายยางครั่ง (lac resin) แมลงครั่งดูดกินเลี้ยงต้นไม้แล้วจะกลั่นยางครั่งออกมาทำรังห่อหุ้มเป็นเกราะป้องกันอันตรายแก่ตัวเองยางครั่งที่ขับระบายออกมาจากต่อมมีลักษณะเหนียวเป็นสีเหลืองทองเมื่อถูกอากาศก็จะแข็งแรงและมีน้ำตาลทับถมซ้อนกันภายในทุกวันจนหนาตัวอ่อนที่อยู่ภายในเจริญเติบโตขึ้นรูปร่างลักษณะที่เป็นแมลงจะเปลี่ยนแปลงไปและรังมีลักษณะกลม ๆ ส่วนยางครั่งที่ขับระบายนั้นพอกพูนหนาและเชื่อมติดกันกับผนังครั่งอื่น ๆ และหุ้มกันยาวออกไปบางทีวนจนรอบกิ่งไม้ต่อมาประมาณ ๒ เดือน รังครั่งจะแตกต่างกันเป็นลักษณะของรังตัวผู้กับรังตัวเมีย รังตัวเมียจะกลม รังตัวผู้จะยาวรูปบุหรี่ซิการ์อัตราส่วนครั่งตัวผู้กับครั่งตัวเมีย ประมาณ ๓๐ : ๗๐

แมลงครั่งตัวเมียอายุต่างๆ กัน (ตัวอ่อน-ตัวแก่)

 

 

ด้านบนของรังครั่งตัวเมียประกอบด้วยช่องผสมพันธุ์และใช้เป็นช่องขับถ่ายด้วย (anal tubercular pore) และอีก ๒ ช่อง ซึ่งเล็กกว่าเป็นช่องใช้หายใจอยู่ทางด้านข้างที่ช่องทั้ง ๓ นี้จะมีขนขี้ผึ้งสีขาว (waxy white filament) ยื่นออกมารวมกันเป็นกระจุก ๆ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าช่องทั้ง ๓ นี้เปิดไม่มียาครั่งมาอุดปิดเลยฉะนั้นเมื่อมองดูรังครั่งที่จับตามกิ่งไม้จึงเห็นเป็นสีขาวอยู่ซึ่งใช้สังเกตว่าครั่งยังมีชีวิตอยู่

 

ด้านบนของรังครั่งตัวผู้จะมีช่องกลม ๆ ๑ ช่องเป็นทางสำหรับให้แมลงครั่งตัวผู้ที่ถึงวัยผสมพันธุ์ออกไปผสมพันธุ์กับแมลงครั่งตัวเมียที่อยู่ในรัง

ตัวอ่อนเมื่อมีอายุ ๖-๘ สัปดาห์รูปร่างจะเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะเดิมมาเข้าเป็นวัยตัวแก่สมบูรณ์ต่อไปปริมาณยางครั่งระยะนี้ยังมีน้อย 

แมลงครั่ง

 

 

แมลงครั่งตัวผู้เมื่อแก่ถึงวัยผสมพันธุ์จะออกไปผสมพันธุ์ฤดูผสมพันธุ์ของครั่งมีประมาณ ๑ เดือนเศษ ครั่งตัวผู้เมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ก็จะคลานออกมาจากรังทางด้านบนที่มียางครั่งบาง ๆ ปิดอยู่ (trap door) ขนาดของครั่งตัวผู้ที่แก่สมบูรณ์มีสีแดงขนาดโตเป็น ๒ เท่าของลูกครั่งจะมีได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีกอยู่ปะปนกันครั่งตัวผู้จะไต่ไปที่รังครั่งตัวเมียแล้วผสมพันธุ์โดยใช้อวัยวะสืบพันธุ์สอดเข้าไปตามช่องผสมพันธุ์พวกครั่งตัวผู้ที่มีปีกสามารถบินไปผสมพันธุ์กับครั่งตัวเมียตามกิ่งไม้อื่นหรือต้นไม้อื่น ๆ ได้เมื่อครั่งตัวผู้ผสมพันธุ์แล้วจะตายไปภายใน ๒-๓ วันต่อมาเท่านั้น

แมลงครั่งอายุประมาณ ๒ เดือน

 

 

บางครั้งจะพบว่าครั่งตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะมีลูกสืบพันธุ์ได้เองและลูกหลานที่เกิดมาก็สามารถให้ยางครั่งได้ดีไม่แตกต่างกันจากลูกครั่งที่เกิดจากการผสมพันธุ์และยังมีปริมาณลูกครั่งที่เกิดมีทั้งตัวเมียและตัวผู้เป็นอย่างปกติอีกด้วยครั่งตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วระบายยางครั่งมาพอกพูนทำรังอย่างขนานใหญ่รังครั่งจะหนาและโตอย่างรวดเร็วจนผนังรังเชื่อมติดกันและรังครั่งจะมีลักษณะสีเหลืองแก่คล้ำบางทีกลับหุ้มทับรังตัวผู้ตายไปแล้วด้วยส่วนขนขี้ผึ้งนั้นยังคงเจริญเติบโตยาวออกไปข้างนอกรังมากขึ้นเมื่อนำรังคลั่งมาผ่าจะเห็นครั่งตัวเมียมีลักษณะเปลี่ยนแปลงจากแมลงทั่ว ๆ ไปคือ ตา ๒ ตา จะหายไปลำตัวจะสั้นและกลมคล้ายไข่ส่วนอวัยวะภายในร่างกายยังคงทำหน้าที่ย่อยอาหารซึ่งได้แก่น้ำเลี้ยงของต้นไม้ทึ่งวงของครั่งดูดมาจากต้นไม้ให้เป็นอาหารสำเร็จรูปนับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกรรมวิธีเคมี (biochemical process) ยางครั่งใช้ห่อหุ้มตัวครั่งส่วนวัตถุในตัวครั่งเป็นของเหลวมีสีแดงสามารถละลานย้ำได้ซึ่งจะได้สีแดงส่วนถุงหนังรูปไข่ที่เป็นผิวตัวครั่งเป็นไคติน (chitin) มีสีแดงไม่ค่อยละลายในน้ำเนื้อครั่งที่เป็นรังห่อหุ้มตัวครั่งประกอบด้วยสารหลายชนิดผสมกันเกิดเป็นยางครั่งซึ่งไม่แข็งแต่คงรูปร่างได้ดียืดขยายตัวได้ตามขนาดตัวครั่งยางครั่งที่ระบายจากครั่งจะพอกพูนซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ จากภายในส่วนที่ระบายมาก่อนอยู่ชั้นบนและชั้นที่อยู่ผิวภายนอกจะแข็งเป็นเกราะป้องกันความร้อนจากแสงแดดป้องกันศัตรูและรักษาอุณหภูมิให้คงที่ เพื่อให้ไข่ฟักเป็นตัวขนขี้ผึ้งจะงอกออกเป็นเส้นอย่างเส้นไหมยาวออกมาตามอายุครั่งที่เจริญบางเส้นก็ถูกยางครั่งห่อหุ้มปะปนกันเป็นรังครั่งไปด้วยก็มีนอกจากนี้ตัวครั่งยังขับน้ำหวานเหนียวข้นอย่างน้ำเชื่อมออกมาเป็นหยดทางช่องผสมพันธุ์ตกเรียราดหมักหมมตามกิ่ง ใบไม้และบนพื้นดินเกิดเป็นราดำ (black fungi) พวกมดจะพากันไต่ตอมไปตามรังครั่งเพื่อกินน้ำหวานเป็นอาหารต้นไม้ใดที่มีสีดำตามใบตามลำดับและตามกิ่งมองดูแล้วมีสีขาวแสดงว่าเป็นต้นไม้ที่มีรังครั่งจับทำรังอยู่

 

ครั่งตัวเมียที่แก่เต็มที่เมื่อตรวจดูผิวภายนอกของรังครั่งจะพบจุดสีเหลืองส้มอยู่ที่ช่องผสมพันธุ์ระหว่างช่องขับถ่ายจุดนี้จะขยายใหญ่ขึ้นทุกวันเพราะเหตุว่าตัวครั่งที่อยู่ภายในรังหดตัวเล็กลงมีช่องว่างเกิดระหว่างตัวครั่งกับผนังรังครั่งสำหรับให้อากาศถ่ายเทความร้อนรักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะสำหรับไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนเมื่อตัวอ่อนคลานออกมาทางช่องสืบพันธุ์เป็นหมู่ ๆ เป็นการย้ายรังใหม่ใช้เวลาประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ แต่จะมีเพียง ๓-๔ วันเท่านั้นที่ลูกครั่งคลานออกมามากที่สุดการตัดเก็บครั่งลงจากกิ่งไม้เพื่อทำพันธุ์ควรตัดก่อนที่ตัวอ่อนจะฟักเป็นตัวออกมาประมาณ ๗ วัน ถ้าหากนานกว่านี้ตัวอ่อนจะตายในซากรังเก่าหรืออ่อนแอแต่ถ้าตัดเมื่อตัวอ่อนออกจากรังไปแล้วก็จะได้ตัวอ่อนจำนวนน้อย

ต้นพุทราที่ใช้เลี้ยงครั่ง

 

 

ปริมาณการผลิตครั่ง 

ในรอบหนึ่งชีวิตของตัวครั่งตัวเมียจะระบายยางครั่งได้ ประมาณ ๑ : ๑๐,๐๐๐ ออนซ์

 

ชนิดต่างๆของพันธุ์ครั่ง


ชนิดพันธุ์ครั่งแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่เกิดของครั่งประเทศอินเดียมีพันธุ์ใหญ่อยู่ ๒ พันธุ์ คือ ครั่งพันธุ์สำหรับเลี้ยงกับไม้ตะคร้อใช้เลี้ยงได้กับไม้ตะคร้อแล้วให้ครั่งดีมีคุณภาพสูงได้ราคารังครั่งหนาปริมาณมากสีครั่งอ่อนใสและอีกพันธุ์หนึ่งซึ่งประเทศไทยก็มีและมีทั่วไป เรียกว่า ครั่งพันธุ์สามัญเลี้ยงได้กับไม้อื่น ๆ นอกจากไม้ตะคร้อ แต่ให้ปริมาณครั่งน้อยรังครั่งบางสีแก่เข้มไม่ได้ราคาในตลาดรูปร่างตัวครั่งก็เล็กกว่าครั่งพันธุ์ที่เลี้ยงกับไม้ตะคร้อ 

นอกจากนี้ในประเทศไทยและอินโดจีนยังมีครั่งอีกพันธุ์หนึ่งซึ่งแตกต่างจากประเทศอินเดียครั่งชนิดนี้ผลิตครั่งได้มากรังครั่งหนาดีแต่มีสีเข้มเกือบดำราคาในตลาดต่ำกว่าครั่งอินเดีย

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow