Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

บุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

Posted By Plookpedia | 05 เม.ย. 60
4,535 Views

  Favorite

บุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจะมีลักษณะหรือปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

๑) อายุตั้งแต่ ๔๐ ปี ขึ้นไป
๒) อ้วน และ/หรืออ้วนลงพุง
๓) มีพ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคเบาหวาน
๔) เคยตรวจพบว่า มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูงกว่าปกติ (IGT) หรือระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (IFG)
๕) มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอท หรือกำลังรับยาลดความดันโลหิตอยู่
๖) มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่าหรือเท่ากับ ๒๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ/หรือเอชดีแอลคอเลสเตอรอล น้อยกว่า ๓๕ มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
๗) มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM)
๘) เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดเกิน ๔ กิโลกรัม
๙) มีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติ ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด แท้งบุตร บุตรเสียชีวิตในครรภ์
๑๐) มีประวัติของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดของขาและแขนตีบตัน
๑๑) มีการใช้ยาที่อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะไทอะไซด์ (thiazide) ยากันชักฟีนีโทอิน (phenytoin)
๑๒) มีภาวะดื้ออินซูลินที่พบร่วมกับโรครังไข่มีถุงน้ำหลายถุง (polycystic ovarian syndrome) หรือพบมีลักษณะดื้ออินซูลิน คือ ผิวหนังบริเวณลำคอหรือรักแร้ มีปื้นหนาสีคล้ำ (acanthosis nigrican)

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจะมีลักษณะหรือปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

๑) อายุตั้งแต่ ๔๐ ปี ขึ้นไป
๒) อ้วน และ/หรืออ้วนลงพุง
๓) มีพ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคเบาหวาน
๔) เคยตรวจพบว่า มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูงกว่าปกติ (IGT) หรือระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (IFG)
๕) มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอท หรือกำลังรับยาลดความดันโลหิตอยู่
๖) มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่าหรือเท่ากับ ๒๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ/หรือเอชดีแอลคอเลสเตอรอล น้อยกว่า ๓๕ มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
๗) มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM)
๘) เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดเกิน ๔ กิโลกรัม
๙) มีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติ ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด แท้งบุตร บุตรเสียชีวิตในครรภ์
๑๐) มีประวัติของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดของขาและแขนตีบตัน
๑๑) มีการใช้ยาที่อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะไทอะไซด์ (thiazide) ยากันชักฟีนีโทอิน (phenytoin)
๑๒) มีภาวะดื้ออินซูลินที่พบร่วมกับโรครังไข่มีถุงน้ำหลายถุง (polycystic ovarian syndrome) หรือพบมีลักษณะดื้ออินซูลิน คือ ผิวหนังบริเวณลำคอหรือรักแร้ มีปื้นหนาสีคล้ำ (acanthosis nigrican)

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน

 

 

ตัวอย่าง ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานที่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก ได้แก่

๑. อ้วน (obesity)

น้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นสิ่งบ่งชี้สุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่ง

ในผู้ใหญ่ โดยทั่วไปสามารถใช้ค่าดัชนีมวลกาย (body mass index : BMI) สำหรับประเมินน้ำหนักตัวที่เหมาะสมได้

ดัชนีมวลกาย  คำนวณจาก น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร (ทศนิยม ๒ ตำแหน่ง) ยกกำลังสอง

BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)๒

ดังนั้นดัชนีมวลกายจึงมีหน่วยเป็น กิโลกรัม/เมตร๒ ดัชนีมวลกายที่เหมาะสมสำหรับชาวเอเชีย และคนไทยคือ  ๑๘.๕ - ๒๒.๙ กิโลกรัม/เมตร๒

ดัชนีมวลกายมีค่าระหว่าง ๒๓ - ๒๔.๙ กิโลกรัม/เมตร๒  ถือว่าน้ำหนักตัวเกิน ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ ๒๕ กิโลกรัม/เมตร๒ ถือว่า เป็นภาวะอ้วน ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันผิดปกติในเลือด และโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาจประเมินน้ำหนักตัวที่เหมาะสมคร่าวๆ โดยเทียบน้ำหนักตัวกับส่วนสูง มีวิธีคิดคือ

ผู้ชาย น้ำหนักตัวที่เหมาะสม (กิโลกรัม) คือ ส่วนสูงเป็นเซนติเมตร - ๑๐๐

ผู้หญิง น้ำหนักตัวที่เหมาะสม (กิโลกรัม) คือ (ส่วนสูงเป็นเซนติเมตร - ๑๐๐) x ๐.๙

ในเด็กและวัยรุ่น น้ำหนักตัวที่เหมาะสมประเมินโดย การเทียบน้ำหนักตัวกับตารางหรือกราฟน้ำหนักตัวมาตรฐานตามเพศและอายุ หากน้ำหนักตัวมากเกินกว่าค่ามาตรฐานร้อยละ ๒๐ ถือว่า อ้วน

ผู้ที่น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน หากสามารถลดน้ำหนักลงได้ร้อยละ ๕ หรือมากกว่า จะทำให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารลดลง ความดันโลหิตลดลง และระดับไขมันในเลือดเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น คือ ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง และอาจทำให้เอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น

๒. อ้วนลงพุงหรือไขมันในช่องท้องมากเกิน (intra-abdominal adiposity)

อ้วนลงพุงเกิดจากการที่มีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกิน หรือที่เรียกกันว่า ไขมันสะสมที่อวัยวะในช่องท้อง (visceral fat) มากเกิน ดัชนีมวลกายของบางคนมีค่าใกล้เคียงเกณฑ์มาตรฐาน หรือสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานเพียงเล็กน้อย แต่มีหน้าท้องใหญ่มาก นั่นคือ มีลักษณะที่เรียกว่า อ้วนลงพุง การวัดรอบพุงหรือรอบเอวสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดทางอ้อม เพื่อบอกถึงปริมาณไขมันในช่องท้อง หรือไขมันสะสมที่อวัยวะในช่องท้องได้ มาตรฐานรอบพุงหรือรอบเอวในแต่ละเชื้อชาติต่างกัน คนไทยที่มีรอบพุงหรือรอบเอว เกินมาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง คือ ผู้ชายที่มีเส้นรอบเอว ๙๐ เซนติเมตรขึ้นไป และผู้หญิงที่มีเส้นรอบเอว ๘๐ เซนติเมตรขึ้นไป บุคคลกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันผิดปกติในเลือด ความดันโลหิตสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คนที่อ้วนมากจะอ้วนลงพุงด้วย แต่คนอ้วนลงพุงบางคนอาจดูไม่อ้วน

 

ภาวะอ้วนลงพุงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานที่สังเกตเห็นได้จากภายนอก

 

๓. โรคอ้วนลงพุงหรือกลุ่มอาการเมแทบอลิก (metabolic syndrome)

เป็นกลุ่มอาการที่พบความผิดปกติหลายอย่างอยู่ร่วมกัน ผู้ที่มีโรคอ้วนลงพุงเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โดยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจะสูงกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตามลำดับ

สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย กำหนดว่า ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุงหรือกลุ่มอาการเมแทบอลิก คือ ผู้ที่มีความผิดปกติ ๓ ใน ๕ อย่าง ดังนี้

๑. อ้วนลงพุง โดยผู้ชายมีเส้นรอบพุงหรือรอบเอว ๙๐ เซนติเมตรขึ้นไป และผู้หญิงมีเส้นรอบพุงหรือรอบเอว ๘๐ เซนติเมตรขึ้นไป
๒. ความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๓๐/๘๕ มิลลิเมตรปรอท หรือได้รับยาลดความดันโลหิตเป็นประจำ
๓. ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร
๔. ระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลต่ำ คือในผู้ชายมีระดับต่ำกว่า ๔๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร และในผู้หญิงมีระดับต่ำกว่า ๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร
๕. ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๐๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือได้รับยาควบคุมโรคเบาหวาน

หากนำคะแนนของปัจจัยเสี่ยงรวมกันได้สูงสุดเท่ากับ ๑๗ คะแนน ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน แต่หากคะแนนรวมได้มากกว่าหรือเท่ากับ ๖ คะแนน ในอนาคตมีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานสูง ควรแก้ไขหรือลดปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่ โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และพบทีมสุขภาพเป็นระยะๆ เพื่อช่วยลดหรือควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างถูกต้องและได้ผล

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow