หน่วยงานที่รับผิดชอบระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ หน่วยงานที่รับผิดชอบระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ คือ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) เป็นองค์กรของรัฐที่บริหารงานเป็นอิสระ ภายใต้การกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ มีห้องปฏิบัติการอยู่ ณ เทคโนธานี รังสิต คลองห้า จังหวัดปทุมธานี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระรามที่ ๖ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชาติให้สอดคล้องกับระบบมาตรวิทยาสากล มีการถ่ายทอดความถูกต้องของการวัด ไปสู่ผู้ใช้งาน ส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพด้านมาตรวิทยา และความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมถึงการทำให้สังคมตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของมาตรวิทยา อาจสรุปได้ถึงบทบาทหน้าที่ของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ดังนี้ |
|
พันธกิจ การพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัด สู่กิจกรรมการวัดต่างๆ ในประเทศ และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาสู่สังคมไทย เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรวิทยา อีกทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
|
ค่านิยมองค์กร
๑) ฝ่ายเทคนิคมาตรวิทยา
|
๒) ฝ่ายสนับสนุน
รับผิดชอบการสนับสนุนงานให้กับฝ่ายเทคนิคมาตรวิทยา และดำเนินโครงการพิเศษต่างๆ ตามแผนงานที่ระบุไว้ในแผนแม่บท การพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ โดยแบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ ฝ่ายบริหารงานกลาง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ตรวจสอบภายใน
กิจกรรมการให้บริการ ๑) การบริการสอบเทียบครอบคลุมในสาขาการวัดต่างๆ ได้แก่ สาขาความยาว สาขาไฟฟ้า สาขาเวลาและความถี่ สาขาความดัน สาขาสุญญากาศ สาขามวล สาขาแรง สาขาแรงบิด สาขาความแข็ง สาขาปริมาตร สาขาการไหล สาขาเสียง สาขาการสั่นสะเทือน สาขา อุณหภูมิ สาขาเคมีและชีวภาพ และสาขาแสง |
|
๒) การให้บริการฝึกอบรมและสัมมนา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่ห้องปฏิบัติการระดับทุติยภูมิ ภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป |
๓) การให้บริการให้คำปรึกษาตามความต้องการของลูกค้า โดยให้ความช่วยเหลือ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการวัด และสอบเทียบเครื่องมือวัด ตลอดจนร่วมกันแก้ปัญหาทางเทคนิคด้านการวัดที่เป็นอุปสรรค เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการผลิต และการบริการ ของภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก | |
๔) การให้บริการสารสนเทศทางด้านมาตรวิทยา ข้อมูลข่าวสาร และเทคนิคใหม่ๆ แก่สาธารณชน ซึ่งผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลสารสนเทศได้ที่ www.nimt.or.th |