Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์

Posted By Plookpedia | 07 มี.ค. 60
602 Views

  Favorite

โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ 


ในการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาษาไทย หลักพื้นฐานของตัวอักษรไทยแตกต่างกับภาษาอังกฤษเดิมที่ใช้คอมพิวเตอร์ คือ โครงสร้างภาษาไทยมีถึง ๔ ระดับ และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ

โครงสร้างตัวอักษรภาษาไทย มีการแบ่งตามระดับการจัดเรียงพิมพ์ ดังต่อไปนี้

  • ระดับที่ ๑ ได้แก่  ตัวอักษรเหล่านี้ จะเลื่อนไปอยู่ในระดับที่ ๒ ถ้าตำแหน่งนั้นไม่มีตัวอักษรอื่นอยู่

  • ระดับที่ ๒ได้แก่ และ ํ (นิคหิต)

  • ระดับที่ ๓ ได้แก่ ก ข ............ฮ ำ เ แ โ ใ ไ ะ า ๆ และ ฯ

  • ระดับที่ ๔ ได้แก่  ุ  ู  ฺ (พิณทุ)

ตัวอักษรเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนจอเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอักษรจะแสดงในลักษณะรูปโมเสกเป็นช่องๆ ดังนั้นระดับที่ ๑ อาจห่างจากระดับที่ ๒ ทำให้ดูไม่สวยงาม จึงใช้วิธีการสร้างตัวอักษร โดยแสดงด้วยการรวมตัวอักษรระดับที่ ๑ และระดับที่ ๒ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะได้เป็นระดับรวม (combine) ซึ่งได้แก่ 

 .................

เมื่อเป็นเช่นนั้น ระดับการแสดงผลจะเหลือเพียง ๓ บรรทัด ซึ่งในที่นี้จะใช้ได้ดังนี้

  • ระดับบน ได้แก่ สระตัวบนทั้งหมดทั้งที่แยกตัวและรวมกับวรรณยุกต์

  • ระดับปกติ ได้แก่ พยัญชนะและสระที่อยู่บน บรรทัดกลาง

  • ระดับล่าง ได้แก่ บรรทัดล่างซึ่งมีสระ ุ  ู และ ฺ (พิณทุ)

ในการประมวลผลตัวอักษรนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบของตัวอักษรให้เป็นรหัส เพื่อให้อุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ เข้าใจ รหัสเพื่อแทนความหมายสำหรับใช้ในการสื่อสารมีมานานแล้ว มนุษย์สมัยโบราณใช้ควันไฟเป็นรหัส ใช้สัญญาณเสียง ที่ตะโกนส่งต่อกัน เป็นการแสดงความหมาย แต่รหัสที่ใช้ให้มนุษย์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องจักรได้ในยุคแรก คือ รหัสโทรเลข ซึ่งได้แก่ รหัสโทรเลขแบบมอร์ส (Morse code) ซึ่งได้คิดขึ้นโดยมอร์ส (Samuel Morse, ค.ศ. ๑๗๙๑- ๑๘๗๒, ศิลปินและนักประดิษฐ์ ชาวอเมริกัน) เริ่มใช้กันมาครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๗๗ และแพร่หลายกันจนเป็นรหัสสากล

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow