Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ควบคุมการผลิตทางอุตสาหกรรม

Posted By Plookpedia | 10 ก.ค. 60
5,377 Views

  Favorite

การใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ควบคุมการผลิตทางอุตสาหกรรม


ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก ทั้งนี้ก็ด้วยสาเหตุหนึ่งคือ การนำเอาการควบคุมอัตโนมัติเข้ามาช่วย ในกระบวนการผลิต ซึ่งอาจมีการควบคุมความร้อน แสง เวลา การเคลื่อนที่ อัตราเร็ว ความดัน ระดับน้ำ กระแสแรงดันไฟฟ้า และกำลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องมีหน่วยสัมผัสสัญญาณ (sensor) และมีการเปลี่ยนสัญญาณที่ได้รับมา ให้เป็นสัญญาณ ของพลังงานรูปอื่น (transducer) เช่น รับสัญญาณมาเป็นพลังงานความร้อน แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เรียกว่า เทอร์โมคัปเปิล (thermocouple) รับสัญญาณมาเป็นพลังงานแสงเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เรียกว่า โฟโตอิเล็กทริกเซลล์ (photoelectric cell) เป็นต้น ให้นำสัญญาณเหล่านี้ป้อนเข้าอินเทอร์เฟซของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งจะทำการประมวลผลตามชุดคำสั่ง ที่เตรียมไว้แล้ว ไมโครโพรเซสเซอร์ทำงาน แล้วส่งสัญญาณออกมาป้อนให้อินเทอร์เฟซ อินเทอร์เฟซจะทำหน้าที่ขยายสัญญาณ ให้ใหญ่มากพอที่จะไปเปิดปิดสวิตช์ ดึงลิ้นปิดเปิด หมุนมอเตอร์ ซึ่งสามารถควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้ผลดีทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น

 

แผนภาพของหุ่นยนต์ที่มีกล้องโทรทรรศน์ประกอบในแขนกล
ทำให้มองเห็น และหยิบชิ้นส่วนต่างๆ มาวางประกอบกันได้

 

 

ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อาจใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ หลายหน่วยทำหน้าที่ต่างๆ กัน ประสานงานกัน ภายใต้การควบคุม ของมินิคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถใช้พนักงาน จำนวนน้อยเข้าควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตขนาดใหญ่ได้ พนักงานปฏิบัติงานด้วยความไม่เคร่งเครียด ไม่เหน็ดเหนื่อย และสนุกในการทำงาน

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เข้าทำหน้าที่บังคับการทำงานของเครื่องมือ ที่มีลักษณะเหมือนแขน (robot) สามารถยกแขนขึ้นลง แกว่งไปมา หมุน หดเข้า ยื่นออก พลิกกลับไปกลับมา ซึ่งเหมือนกับการเคลื่อนไหว ของไหล่ ข้อศอก ข้อมือ มือ และนิ้วมือ ของมนุษย์มาก แต่สามารถทำงานได้เกินกว่ามนุษย์ โดยสามารถทำงานต่อเนื่องกัน หลายพันชั่วโมง สามารถทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น ในสิ่งแวดล้อม ที่มีอุณหภูมิสูง มีประกายไฟในกลุ่มควัน หรือกลุ่มฟองพิษ โรงงาน อุตสาหกรรมนิยมเอา "แขน" นี้มาใช้ในกระบวนการผลิตแบบ เส้น (production line หรือ assembly line เป็นกระบวนการ ผลิตแบบต่อเนื่องเป็นแนวเส้นตรง โดยเริ่มจากคนที่ ๑ ทำ งานที่ ๑ แล้วส่งต่อให้คนที่ ๒ ทำงานที่ ๒ เสร็จแล้วส่งต่อไป ตามลำดับ จนงานเสร็จ) โดยเขียนชุดคำสั่ง สั่งให้แขนแต่ ละแขนปฏิบัติงาน ณ ที่ต่างๆ กันแต่ประสานงานกัน เช่น  เชื่อม พ่น ทาสี ขัด ตัก ยก หล่อ กลึง เจาะ และเคลื่อนย้ายสิ่งของประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เป็นต้น แขน บางแขนมีหน่วยสัมผัสสัญญาณติดตั้งไว้ด้วย จึงสามารถดู หรือตรวจสอบชิ้นงานว่า ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ ถ้ามีสิ่ง ผิดปกติเกิดขึ้น แขนจะสามารถแก้ไขดัดแปลงหรือหยุดทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เขียนสั่งไว้ ถ้าชิ้นงานยังส่งผ่านมา ไม่ถึงก็รู้จักรอคอยและสิ่งที่สำคัญนั้นคือ เราสามารถสอน หรือเขียนชุดคำสั่งใหม่ สั่งให้แขนทำงานอย่างใหม่ได้ โดยปรับให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแบบแผน เพื่อปรับปรุงผลผลิต โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานเคมี โรงงงานผลิตแผ่น โลหะ โรงงานพลาสติกและโรงงานอื่นๆ อีกมาก นิยมนำ แขนนี้ไปใช้งาน สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น มีคุณภาพดี มีความแม่นยำสูง มีประสิทธิภาพดี และให้ผลคุ้มค่าการ ลงทุน

 

การใช้แขนกลในงานเชื่อมโลหะ ในโรงงานอุตสาหกรรม

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow