เมล็ดข้าวสาลีจะแก่จัด พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ภายใน ๓๐-๔๕ วันหลังจากออกรวง ซึ่งเป็นระยะที่ลำต้นและรวงมีลักษณะแห้ง ปลายรวงจะชี้ลงดิน ข้อที่ลำต้นหมดสีเขียว เมล็ดแข็ง เมื่อลองใช้ฟันขบเมล็ดดูจะเห็นว่า เมล็ดเปราะเกี่ยวโดยใช้เคียวตัดลำต้น มัดเป็นกำขนาดประมาณ ๑๕-๒๐ เซนติเมตร วางกำข้าวสาลีพิงกัน โดยให้รวงอยู่ข้างบน กองหนึ่งมีข้าวสาลีประมาณ ๑๒-๑๕ กำ วางกองข้าวสารบนพื้นดินแห้ง ทิ้งช่องระหว่างกองพอสมควร ควรวางกองให้อยู่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เพื่อความสะดวกในการดูแล ตากแดดไว้ประมาณ ๓-๕ วัน
เมื่อตากแดดได้ที่แล้ว จึงนวด วิธีนวดก็คือ ฟาดกำข้าวสาลีกับกระบุงขนาดใหญ่ ที่มีใช้กันอยู่ทางภาคเหนือ ใช้ไม้ตีกำข้าวที่วางอยู่บนพื้น หรือใช้สัตว์ย่ำ หรือทำยกพื้นขึ้นมา วางกำข้าวสาลีบนยางรถยนต์ แล้วใช้ไม้ตี หรือนวดด้วยเครื่อง เมื่อนวดแล้ว เมล็ดกับเปลือกจะหลุดออกจากกัน ต่อจากนั้น
ใช้กระด้งฝัดเมล็ดให้สะอาด ควรหาเสื่อรองพื้น ระวังขี้ดินปนติดมา
เมื่อนวดได้เมล็ดข้าวสาลีแล้ว จะต้องนำเมล็ดไปตากแดดอีก ให้เกลี่ยเมล็ดข้าวสารบนพื้นลาด ตากในวันที่มีแดดจัด อุณหภูมิของเมล็ดบนลานจะต้องขึ้นสูงถึง ๕๐ ๕๒ ๕๒ องศาเซสเซียส เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง จากนั้น รวมเมล็ดให้เป็นกอง โดยอุณหภูมิของเมล็ดในกองไม่ต่ำกว่า ๔๖ องศาเซสเซียส ทิ้งกองไว้ประมาณ ๓ ชั่วโมง ความชื้นของเมล็ดจะต่ำกว่า ๑๒ % แล้วนำเมล็ดไปเก็บในถังพลาสติกหรือถังเหล็ก ซึ่งไม่มีอากาศถ่ายเท ถ้าจะให้ดีควรเป็นยุ้งคอนกรีต ฉาบตัวยุ้งและคลุมกองเมล็ดด้วยวัสดุกันความชื้นและเป็นตัวฉนวนถ่ายเทความร้อน เพราะอุณหภูมิของเมล็ดที่เก็บไว้ในสัปดาห์แรกไม่ควรต่ำกว่า ๔๐ องศาเซสเซียส
ปัญหาใหญ่ในช่วงเก็บรักษาข้าวสาลี คือ ความเสียหายอันเนื่องจากมอดในโรงเก็บ มอดเหล่านี้จะเข้าทำลายความเสียหายต่อเมล็ดข้าวสาลีได้ง่าย เพราะเมล็ดข้าวสาลีไม่มีเปลือกแข็งห่อหุ้ม
มอดที่พบมากได้แก่
มอดข้าวสาร หรือ ด้วงงวงข้าว (Rice weevil - Sitophilus oryzae L.)
ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลแก่ จนถึงสีดำ ลำตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร ส่วนหัวเรียวแหลมยาวออกมา ลักษณะคล้ายงวง แมลงชนิดนี้กัดกินเมล็ด จนเป็นดักแด้ จะเจาะเมล็ดออกมา เมื่อเป็นตัวแก่ ดังนั้น เมล็ดข้าวสาลีที่ถูกแมลงนี้ทำลาย จึงเป็นรูและข้างในเป็นโพรง ใช้ประโยชน์ไม่ได้
มอดข้าวเปลือก หรือ มอดหัวป้อม (Lesser grain borer - Phyzopertha dominica F.)
ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลแก่ ตัวกลมป้อม และหัวสั้น ลำตัวยาวประมาณ ๓ มิลลิเมตร ทำลายข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลีและแป้งด้วย ตัวเมียวางไข่ได้มากกว่าร้อยฟองบนผิวเมล็ด ตัวหนอนอาศัยกินอยู่ในเมล็ด จนกลายเป็นตัวแก่ จึงเจาะรูออกมา ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน ตัวแก่ยังแทะเล็มเมล็ดให้เป็นรอย หรือเป็นรูด้วย และยังขับถ่ายสิ่งสกปรกออกมา
มอดแป้ง
มีสองชนิด คือ Red flour beetle (Tribolium castancum Hbst.) และ Confused flour beetle (Tribolium confusum Duv.) เป็นมอดสีน้ำตาลปนแดง ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๒.๕-๔.๕ มิลลิเมตร ลำตัวค่อนข้าวแบนชอบทำลายเมล็ดที่ถูกมอดข้าวสาร หรือมอดข้าวเปลือกกัดกินไปแล้ว
มอดฟันเลื่อย (Saw-toothed grain beetle Oryzaephilus surinamensis L.)
เป็นมอดสีน้ำตาลแดง ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕-๓.๐ มิลลิเมตร ชอบทำลายเมล็ดข้าวสาลีที่ถูกมอดข้าวสาร หรือมอดข้าวเปลือกกัดกินไปแล้ว พบมากในโรงยุ้งที่สกปรกและอบ ทำลายเมล็ดธัญพืชได้หลายชนิด
ปริมาณการขยายตัวของจำนวนมอดจะลดลงได้โดย