ในชีวิตประจำวัน แต่ละคนจะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคล และ สิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนในตอนเช้า กิจวัตรที่จะต้องทำ ก็คือ แปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ไปโรงเรียน หรือ ไปทำงาน สิ่งของที่เราจะต้องเกี่ยวข้องด้วยก็คือ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ น้ำ เสื้อผ้า อาหาร ฯลฯ บุคคลที่จะต้องเกี่ยวข้องด้วยก็มี บิดา มารดา พี่ น้อง ครู เพื่อนนักเรียน หรือ เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ แต่ถ้าใครถามเราว่า "ความเกี่ยวข้อง" คืออะไร เราคงไม่ทราบว่าจะตอบอย่างไร เมื่อพิจารณาดูความเกี่ยวข้องใดความเกี่ยวข้องหนึ่ง สิ่งที่เราอาจเห็นได้ หรือ ทราบได้ก็คือ สิ่งที่มีความเกี่ยวข้องนั้นๆ ต่อกัน เช่น "การชอบรับประทาน" เป็นความเกี่ยวข้องอย่างหนึ่ง เรามองไม่เห็นการชอบรับประทาน แต่เราทราบว่า เด็กหญิงจุกชอบรับประทานมะม่วง เด็กชายแดงชอบรับประทานกล้วย และ ขนุน เด็กหญิงน้อยชอบรับประทานส้ม และ เด็กชายนิดชอบรับประทานมะม่วง เป็นต้น เราทราบแต่เพียงว่า เด็กคนไหนเกี่ยวข้องกับผลไม้ชนิดใดด้วย "การชอบรับประทาน" ในที่นี้ก็คือ
จำนวนลูกกวาด | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
ราคา (สตางค์) | 40 | 80 | 100 | 140 | 180 | 200 | 240 | 280 | 300 | 340 |
ในกรณีที่ฟังก์ชันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่างๆ การใช้สูตร กำหนหดฟังก์ชันจะทำให้ง่ายขึ้น เช่น ความยาวของด้าน ของรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีความสัมพันธ์กันด้วยสูตร
พ = ด x ด
= ด^2
โดยที่ พ แทนพื้นที่ และ ด แทนความยาวของด้าน
ในที่นี้จะเห็นว่าเมื่อกำหนดค่า ด เป็นจำนวนใดจำนวนหนึ่ง จะหาค่า พ ได้หนึ่งค่า และเมื่อค่า ด เปลี่ยนไปค่า พ ก็เปลี่ยนตามไปด้วย ดังแสดงได้ด้วย ตารางต่อไปนี้
ตัวอักษรที่ใช้แทนค่าที่เปลี่ยนได้ เช่น ตัว ด และ พ ในตัวอย่างนั้นเรียกว่า ตัวแปรค่า หรือ ตัวแปร
อาจนำฟังก์ชันหรือความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่างๆ มาแสดงให้เข้าใจ ได้ง่ายๆ โดยการแสดงด้วยกราฟ การแสดงฟังก์ชัน หรือความสัมพันธ์ด้วยกราฟ นี้ ทำได้โดยเขียนแทนคู่ลำดับคู่หนึ่งด้วยจุดในระนาบ เช่น ในความสัมพันธ์ ระหว่างพื้นที่ กับความยาว ของด้านของรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสนั้น ความยาวของด้าน ด กับพื้นที่ พ ประกอบกันเป็นคู่ลำดับ (พ, ด) ความสัมพันธ์นี้คือ
{(1,1), (1.1,1.21), (1.5, 2.25), (2,4), (3,9),...}
เมื่อนำคู่ลำดับเหล่านี้แทนด้วยจุดในระนาบจะได้กราฟ ดังรูปต่อไปนี้
เนื่องจากฟังก์ชันเป็นเซตของคู่ลำดับ และนิยมใช้อักษรแทนเซต ดังนั้น จึงใช้อักษรแทนฟังก์ชันด้วย เช่น ความสัมพันธ์ ระหว่างพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสกับความยาวด้าน ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นฟังก์ชัน ถ้าแทนฟังก์ชันนี้ ด้วยอักษร f ดังนั้น
f = {(1,1), (1.1,1.21), (1.5,2.25), (2,4), (3,9),...}
สมาชิกตัวหลังในคู่ลำดับต่างๆ ของเซต f คือ ค่า ของฟังก์ชัน f ดังในตัวอย่าง จะเห็นว่า 1 เป็นค่าของฟังก์ชัน f ที่ 1,1.21 เป็นค่าของฟังก์ชัน f ที่ 1.1, 4 เป็นค่าของฟังก์ชัน f ที่ 2 ฯลฯ โดยทั่วๆ ไป ถ้า (x,y) เป็นคู่ลำดับในเซต f แล้ว y เป็นค่าของฟังก์ชัน f ที่ x และ เขียนแทน y ด้วย f (x) หรือ y = f (x) สำหรับฟังก์ชัน f ในตัวอย่างเขียนได้ดังนี้
f (1) = 1, f(1.1) = 1.21, f(1.5) = 2.25 f(2) = 4...ฯลฯ
เซตของบรรดาค่าทั้งหลายของฟังก์ชัน f มีชื่อว่า พิสัยของฟังก์ชัน f จากตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าพิสัยของฟังก์ชัน f คือ
{ 1, 1.21, 2.25, 4, 9,... }
ถ้าจะให้คำจำกัดความอย่างง่ายๆ ของพิสัยของฟังก์ชัน f ก็คือเซตของสมาชิก ตัวหลังในคู่ลำดับของเซต f นั่นเอง
สิ่งที่คู่กับพิสัยของฟังก์ชัน f ก็คือ โดเมนของฟังก์ชัน f ซึ่งจะเป็นเซต ของสมาชิกตัวหน้าของคู่ลำดับทั้งหลายในเซต f ในตัวอย่างจะเห็นว่า โดเมนของ ฟังก์ชัน f คือ
{ 1, 1.1, 1.5, 2, 3,...}
การกำหนดฟังก์ชันซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนั้น มักจะทำโดย การแทนค่าของฟังก์ชันด้วยสูตร เช่น
f (x) = 2 + 3x + 5x^2
g (x) = 2x^x
เนื่องจากฟังก์ชันเช่นนี้มีค่าเป็นจำนวนจริง และ ตัวแปร x เป็นตัวแปรที่ ใช้แทนจำนวนจริง ฟังก์ชันเช่นนี้เรียกว่า ฟังก์ชันค่าจริงของตัวแปรจริง (real valued function of real variable) ซึ่งอาจจำแนกฟังก์ชันประเภทนี้ ตามคุณสมบัติของสูตร ที่กำหนดค่าของฟังก์ชัน
ฟังก์ชัน f ใดๆ ถ้าสามารถบอกค่าของฟังก์ชันนั้นได้ด้วยสูตรต่อไปนี้เรียก ว่าเป็นฟังก์ชันโพลิโนเมียล (polynomial function)
f (x) = ao + a1x + a2x^2 + ... + anxn โดยที่ ao, a1, ...,an เป็นค่าคงที่
ตัวอย่างของฟังก์ชันโพลิโนเมียล ได้แก่
f (x) = 2 - 7x + 5x^2
g (x) = 2 + 8x
h (x) = 7
ถ้าเขียนกราฟของฟังก์ชันเหล่านี้ดู จะสังเกตเห็นได้ว่า ถ้าสูตรของค่าของฟังก์ชันโพลิโนเมียลไม่มีพจน์ x ที่มีกำลังสูงกว่าหนึ่งอยู่เลย จะได้กราฟของฟังก์ชันเป็นเส้นตรง เช่น ฟังก์ชัน g และฟังก์ชัน h จะมีกราฟเป็นเส้นตรง ฟังก์ชันโพลิโนเมียลที่ค่าของฟังก์ชันเขียนได้ในรูป
f (x) = a + bx
เรียกว่า ฟังก์ชันเชิงเส้น (linear function) ในกรณีที่ b เป็นศูนย์ กราฟของ f (x) = a จะเป็นเส้นตรงขนานกับแกนในแนวนอน ซึ่งแสดงว่าค่าของฟังก์ชัน f ไม่ เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามค่าของ x เลย ฟังก์ชันเช่นนี้เรียกว่า ฟังก์ชันคงที่ (constant function)
ฟังก์ชัน f ใดๆ ที่มีค่า f(x) คล้องตามสมการในรูป
P0(x) + P1(x) f(x) + P2(x) ( f(x) )^2 +... + Pn(x) ( f(x) )^n = 0
โดยที่ P0(x), P1(x), ..., Pn (x) ต่างเป็นฟังก์ชันโพลิโนเมียล เรียกฟังก์ชัน f นี้ ว่า ฟังก์ชันพีชคณิต (algebraic function) เช่น
คล้องตามสมการ
4 + 2x (f(x)) - (f(x))^2 = 0
ถ้าสมการที่ฟังก์ชันพีชคณิต f(x) คล้องตามนั้นไม่ยุ่งยากนักจะแก้สมการ หาสูตรของ f(x) ได้ในรูปของรากกำลังต่างๆ ของ P0(x), P1(x),... Pn(x) แต่ โดยทั่วๆ ไปแล้ว จะแก้สมการหาสูตรของ f(x) ในพจน์ของ P0(x),...,Pn(x) ไม่ได้ ในกรณีพิเศษที่สมการดังกล่าวเป็นสมการในรูป
ฟังก์ชันพีชคณิตประเภทนี้เรียกว่า ฟังก์ชันตรรกยะ (rational function)
จะเห็นได้ว่าฟังก์ชันตรรกยะก็คือฟังก์ชันที่สามารถเขียนในรูปของเศษส่วน ของค่าของฟังก์ชันโพลิโนเมียลสองฟังก์ชันได้นั่นเอง ในเศษส่วนดังกล่าวนี้ฟังก์- ชันที่เป็นส่วนอาจเป็นฟังก์ชันที่มีค่าคงที่ ในกรณีเช่นนี้ฟังก์ชันตรรกยะก็เป็นฟังก์ชันโพลิโนเมียลนั่นเอง ดังนั้นบรรดาฟังก์ชันโพลิโนเมียลทั้งหลายต่างก็เป็นพังก์ชัน พีชคณิตด้วย ด้วยเหตุนี้คำว่าฟังก์ชันพีชคณิต จึงมีความหมายครอบคลุมไปถึงฟังก์ชันต่างๆ อีกมากมาย แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีฟังก์ชันที่ไม่ใช่ฟังก์ชันพีชคณิต อีกมาก เช่น ฟังก์ชัน f(x) = 2^x, g(x) = log x, h(x) = sin x ฯลฯ ฟังก์ชันที่ ไม่ใช่ฟังก์ชันพีชคณิตเหล่านี้ เรียกว่า ฟังก์ชันอดิศัย (transcendental function)