Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เซต

Posted By Plookpedia | 06 ก.ค. 60
10,324 Views

  Favorite

 

เซต

 

ในชีวิตประจำวันของเรา ใช้คำต่างๆ กัน เมื่อกล่าวถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ เช่น ฝูงนก โขลงช้าง คณะรัฐมนตรี สำรับกับข้าว เป็นต้น ในวิชาคณิตศาสตร์ เราใช้เซตเพียงคำเดียวเท่านั้น เมื่อบ่งถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ

นี่คือฝูงนก ซึ่งจะเรียกว่า เซตของนก

 

 

 

 

นี่คือช้างโขลงหนึ่ง ซึ่งจะเรียกว่า เซตของช้าง

 

 

 

 

เซตหนึ่งๆ ไม่จำเป็นจะต้องประกอบด้วยของชนิดเดียวกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 

นี่คือเซตที่ประกอบด้วยหนูหน่อยกับของเล่นของเขา

 

 

 

 

เซตอาจประกอบด้วยเซตต่างๆ ก็ได้ เช่น เซตของทีมฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมในปีพ.ศ. 2521 (ทีมฟุตบอลเป็นเซตของนักฟุตบอล)

 

 

 

อ่านว่า หนูหน่อย เป็นสมาชิกของเซต ที่ประกอบด้วย หนูหน่อย คุณพ่อ คุณแม่ และ น้องชาย

 

 

 

อ่านว่า 4 ไม่เป็นสมาชิกของเซต ที่ประกอบด้วย 1, 3, 5, 7

 

 

การเขียนเซต



ในการเขียนเซต นอกจากจะเขียนวงกลมหรือวงรีล้อมรอบสมาชิกทั้งหมด ของเซตไว้ดังที่แสดงมาแล้ว เรายังมีวิธีเขียนเซตแบบอื่นอีก คือ 

1. วิธีแจกแจงสมาชิก 

วิธีนี้ เราเขียนสมาชิกทั้งหมดลงในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา และคั่นระหว่างสมาชิกด้วยเครื่องหมายจุลภาค เช่น

 

 

 

 

ถ้าเซตมีสมาชิกมากมายไม่สิ้นสุดเราใช้ "..." เพื่อบอกว่ายังมีสมาชิกตัวอื่นๆ อยู่ในเซตนี้ด้วย เช่น เซตของจำนวนนับ เขียนแทนด้วย {1, 2, 3,...} แต่ถ้าเซตมีสมาชิกมาก และ มีสมาชิกสุดท้าย เราใช้ "...," แล้วตามด้วยสมาชิกสุดท้าย เช่น เซตของจำนวนเต็มบวกที่น้อยกว่า 100 เขียนแทนด้วย {1, 2, 3,..., 99}

2. วิธีบ่งลักษณะของสมาชิก 

วิธีนี้ เราเขียนตัวแปรตัวหนึ่งแทนสมาชิกของเซตไว้ในวงเล็บปีกกา พร้อมทั้งมีคำอธิบายคุณสมบัติของสมาชิกที่อยู่ในเซตนั้น เช่น

เซตของวันในหนึ่งสัปดาห์ เขียนแทนด้วย { x | x เป็นวันในหนึ่งสัปดาห์ } 
อ่านว่า เซตของ X ซึ่งมีคุณสมบัติว่า X เป็นวันใดๆ ในหนึ่งสัปดาห์

{1, 2, 3} เขียนแทนด้วย { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x<4 }
อ่านว่า เซตของ x ซึ่งมีคุณสมบัติว่า x เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ ที่มีค่าน้อยกว่า 4

เซตของจำนวนจริงที่อยู่ระหว่าง 0 และ 1 เขียนแทนด้วย { x | x เป็นจำนวนจริง และ 0 < x < 1 } 
อ่านว่า เซตของ x ซึ่งมีคุณสมบัติว่า x เป็นจำนวนจริงที่มีค่ามากกว่า 0 และ น้อยกว่า 1

 
เพื่อความสะดวกในการอ้างถึงเซตต่างๆ อาจกำหนดชื่อเซตนั้นด้วยตัวอักษร เช่น 

A = { 1, 2, 3,..., 99 } 
B = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x < 4 }

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags

Content

1
ลักษณะของเซตบางชนิด
ลักษณะของเซตบางชนิด เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกเลย เขียนแทนด้วยหรือ { } เช่น เซตของจำนวนเต็มบวกที่อยู่ระหว่าง 1 และ 2 เซตของภูเขาไฟในประเทศไทย เซตของจำนวนจริงที่ยกกำลังสองแล้วเท่ากับ -1 เซตจำกัด คือ เซตที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากับจำนวนเต็มบวกหรือศูน
3K Views
2
เซตที่เท่ากัน
เซตที่เท่ากัน ถ้า A = { หนูหน่อย, น้อง }, B = { น้อง, หนูหน่อย } จะเห็นว่าสมาชิก ทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B และ สมาชิกทุกตัวของ B เป็นสมาชิกของ A เราจึงกล่าวว่า A และ B เป็นเซตที่เท่ากัน หรือเซตเดียวกัน เขียนแทนด้วย A = B ถ้า C = { 1,2 },
995 Views
4
การเทียบเท่ากัน
การเทียบเท่ากัน พิจารณาเซตต่อไปนี้ A = { คุณพ่อ, คุณแม่, หนูหน่อย, น้อง } B = { หมวก, ร่ม, กระเป๋า, รถ } จะเห็นว่า AB แต่เซตทั้งสองมีคุณสมบัติตรงกันอย่างหนึ่ง คือมีจำนวน สมาชิกเท่ากัน ซึ่งทำให้สมาชิกจับคู่ระหว่างสมาชิกของ A และ B แบบหนึ่งต่อ หนึ่งได้พอด
3K Views
8
แผนภาพของเวน
แผนภาพของเวน (Venn Diagram) การพิจารณาเกี่ยวกับเซตจะง่ายลง ถ้าเราใช้แผนภาพของเวนเข้ามาช่วย ในการใช้แผนภาพของเวน เราจะแทนเอกภพสัมพันธ์ด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และ เซตที่พิจารณา ซึ่งเป็นสับเซตของเอกภพสัมพันธ์ แทนด้วยวงกลม หรือวงรี ภาย ในสี่เหลี่ยมผืนผ้า
3K Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow