Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รถโดยสาร

Posted By Plookpedia | 04 ก.ค. 60
1,425 Views

  Favorite

รถโดยสาร

ลักษณะของรถโดยสารอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน ส่วนที่เหนือโครงประธาน คือ ส่วนที่เป็นลำตัวของรถโดยสาร และส่วนใต้โครงประธานซึ่งได้แก่แคร่ รถโดยสารส่วนใหญ่ จะเป็นชนิด ๒ แคร่ แคร่ละ ๔ เพลา ๔ ล้อ การออกแบบรถโดยสาร จะคำนึงถึงสมรรถนะในการวิ่ง และการทรงตัวของรถขณะวิ่ง ความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร

ห้องรถโดยสารชั้น ๒ แบบที่นั่งปรับเอนได้

รถโดยสารที่ใช้การอยู่ในการรถไฟฯ แบ่งออกเป็นหลายแบบ สุดแต่จะใช้การรถเหล่านั้นไปในลักษณะใด โดยปกติมักจะแยกประเภทเป็นรถนั่ง รถนั่งนอน รถเสบียง และรถบรรทุกสัมภาระ รถนั่งมีทั้งชั้น ๓ จุคนโดยสารได้ประมาณ ๘๐ คน และชั้น ๒ จุคน โดยสารประมาณ ๕๐ คน รถนั่งส่วนใหญ่เป็นรถใช้ในเวลากลางวัน แต่ผู้โดยสารไม่อาจจะนอนได้ รถนั่งนอนคือ รถที่ใช้เป็นที่นั่งในตอนกลางวัน และดัดแปลงเป็นที่นอนในตอนกลางคืน สำหรับใช้กับขบวนรถที่เดินทางไกลในเวลากลางวัน และกลางคืนต่อเนื่องกัน รถนั่งนอนที่แยกเป็นห้องเหมาะสำหรับผู้โดยสาร ๑ หรือ ๒ คน ซึ่งมีเฉพาะชั้น ๑ รถเสบียงสำหรับปรุง และขายอาหาร รถบรรทุกสัมภาระสำหรับบรรทุกสัมภาระของผู้โดยสาร และเป็นที่ทำงานของพนักงานขบวนรถ 
ในปัจจุบันรถโดยสารบางชนิดของการรถไฟฯ ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศอยู่จำนวนหนึ่ง เพื่อให้บริการความสบายเพิ่มขึ้นแก่ผู้โดยสาร เครื่องปรับอากาศนี้จะทำความเย็นภายในรถโดยสารด้วยการดูดอากาศภายในผสมกับอากาศจากภายนอกอีกส่วนหนึ่งผ่านที่กรองอากาศ เพื่อลดฝุ่นละออง แล้วนำไปผ่านเครื่องทำความเย็น ทำให้อากาศนั้นเย็นลง และถูกเป่าโดยพัดลมให้ไหลไปตามท่อ ซึ่งจ่ายไปสู่ส่วนต่างๆ ของตัวรถโดยสาร

ห้องโดยสารชั้นสองแบบที่นั่งปรับเอนได้

รถโดยสารที่มีเครื่องปรับอากาศนี้ ใช้ระบบติดเครื่องอุปกรณ์ปรับอากาศมีสองแบบ แบบแรกประจำตัวรถแต่ละคัน เครื่องกำเนิดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินเครื่องปรับ อากาศเป็นเครื่องทำไฟฟ้าขับโดยเพลาล้อ และมีแบตเตอรี่สำรองจ่ายกระแสไฟเมื่อรถหยุด โดยติดตั้งอยู่ใต้ท้องรถเช่นกัน อีกแบบหนึ่งใช้เครื่องทำไฟฟ้าขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องทำไฟฟ้าดังกล่าว จะจ่ายกระแสไฟฟ้ากับเครื่องปรับอากาศทั้งในเวลารถเดิน และรถหยุด สำหรับรถโดยสารปรับอากาศที่เป็นรถนั่งจะติดตั้งเก้าอี้เอนได้แบบที่ใช้ในเครื่องบิน

ส่วนในประเทศหนาว รถโดยสารจะต้องมีเครื่องทำความอบอุ่นภายในรถ ความ ร้อนที่นำมาใช้กับเครื่องทำความอบอุ่น บางระบบนำเอาน้ำร้อนมาจากหม้อน้ำ ติดตั้งอยู่ กับรถพ่วงต่างหากในขบวน แล้วจ่ายไปตามท่อตลอดทุกคันในขบวน บางระบบรถแต่ ละคันทำความอบอุ่นด้วยความร้อนจากไฟฟ้า ซึ่งจะได้กระแสไฟฟ้ามาจากเครื่องกำเนิด ไฟฟ้าซึ่งติดตั้งอยู่แต่ละคันรถ หรือติดตั้งอยู่ที่รถจักรแล้วจ่ายรวมกันไปยังรถพ่วงทุกคัน ในขบวน

ภายในรถนั่งนอนชั้นสอง ซึ่งปรับเป็นที่นั่งและนอนได้

การจุดแสงสว่างภายในรถและการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างในรถ จะใช้กระแส ไฟฟ้าจากหม้อแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ใต้ท้องรถ ปกติหม้อแบตเตอรี่จะจ่ายกระแสได้นานพอ ประมาณ ๕ ชั่วโมง ในการนี้จำเป็นต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับอัดประจุแบตเตอรี่ให้ เต็มอยู่เสมอทำนองเดียวกับรถยนต์ เครื่องอัดประจุแบตเตอรี่นี้จะถูกขับให้หมุน โดยเพลา ล้อด้วยการต่อสายพานจากพลู่เล่ย์ที่เพลาล้อมายังเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
นอกจากนั้นในรถโดยสารแต่ละคันยังได้จัดให้มีน้ำใช้ด้วย น้ำใช้ได้มาจากถังเก็บ น้ำซึ่งติดตั้งอยู่ใต้ท้องรถแต่ละคัน การนำน้ำจากถังเก็บข้างล่างมาใช้การ เป็นต้นว่า ในห้อง สุขา ห้องนอน ห้องทำอาหารฯลฯ บางระบบใช้สูบน้ำขึ้นสู่ถังเก็บใต้หลังคา เพื่อจะให้ มีแรงดันจ่ายให้ไหลไปได้ บางระบบใช้แรงดันของลมจากเครื่องทำลมไปดันน้ำในถังเก็บ ข้างล่างให้ไปสู่ ณ ที่ต้องการใช้การ

ภายในห้องรถนั่งนอนปรับอากาศชั้นที่ ๑ ซึ่งปรับเป็นที่นั่งและที่นอนได้

การออกแบบและสร้างตัวรถ รถโดยสารส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นรถเหล็กล้วนหรือ เหล็กไร้สนิม แต่รถชนิดที่ลำตัวเป็นไม้ล้วนแต่ส่วนประกอบอื่นๆ เป็นเหล็กก็ยังมีใช้การอยู่ รถที่มีลำตัวเป็นไม้นี้ไม่ใคร่ได้รับความนิยมใช้การเพราะมีน้ำหนักมาก และในทางเทคนิค ความแข็งแรงสู้รถเหล็กล้วนไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเวลารถตกรางผู้โดยสารอาจจะได้รับ อันตรายมากกว่าตัวรถที่ทำด้วยเหล็ก ปัจจุบันการรถไฟไทยได้เปลี่ยนมาใช้รถลำตัวเหล็ก ล้วนเกือบหมดแล้ว

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow