Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พายุหมุนในโซนร้อนหรือพายุไซโคลนในโซนร้อน

Posted By Plookpedia | 04 ก.ค. 60
2,817 Views

  Favorite

พายุหมุนในโซนร้อนหรือพายุไซโคลนในโซนร้อน

สำหรับประเทศไทยไม่ค่อยจะได้รับความกระทบกระเทือนจากพายุหมุนที่มีกำลัง แรงขนาดพายุไต้ฝุ่น เพราะมีเทือกเขา ในประเทศเวียดนามและลาวเป็นกำแพงกั้นไว้ ทำให้กำลังของพายุอ่อนลงเสียก่อนที่จะเข้ามาถึงประเทศไทย ซึ่งส่วนมาก มีกำลังลดน้อยลง เป็นพายุโซนร้อน หรือพายุดีเปรสชั่น จำนวนพายุหมุนในโซนร้อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในปีหนึ่งๆ เฉลี่ยประมาณ ๓ ลูก และจะเริ่มมีโอกาสเข้าสู่ประเทศไทยได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม ช่วงที่พายุหมุนในโซนร้อนมีโอกาสเข้าสู่ประเทศไทยได้มากที่สุดนั้นจะตกประมาณระหว่างเดือนกันยายน และตุลาคม โดยจะมีโอกาสถึงร้อยละ ๒๙ ในเดือนกันยายน และร้อยละ ๓๔ ในเดือนตุลาคม ส่วนในเดือนอื่นๆ นั้น มีโอกาสที่จะเข้าสู่ประเทศไทยได้น้อยกว่า ในระยะเดือนสิงหาคม และกันยายน พายุหมุนในโซนร้อน มักจะเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนเป็นส่วนมาก สำหรับในระยะเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน พายุหมุนในโซนร้อน จะมีแนวทางเข้าสู่บริเวณอ่าวไทย และภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งในระยะนี้ พายุหมุนจะมีกำลังค่อนข้างแรง อยู่ในเกณฑ์พายุโซนร้อน เนื่องจากพายุเหล่านี้ยังมีกำลังพร้อมมูล ไม่ได้เสียกำลังในการปะทะขอบฝั่ง และเทือกเขา ดังนั้นเมื่อเข้าอ่าวไทย จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะอาจทำลายเรือต่างๆ หรืออาคารบ้านเรือนที่อยู่ตามชายฝั่ง รวมทั้งการทำให้เกิดน้ำท่วมโดยฉับพลันได้อีกด้วย

วาตภัย เนื่องจากพายุโซนร้อน แฮเรียต เมื่อวันที่ ๒๕-๒๗ ตุลาคม ๒๕๐๕ ณ ภาคใต้ของประเทศไทย (แหลมตะลุมพุก)

จากสถิติพายุหมุนในโซนร้อนที่เข้าสู่ประเทศไทย ได้มีพายุหมุนลูกสำคัญๆ ที่ก่อความเสียหายให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมากนั้น พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 
ในเดือนกันยายน ๒๔๘๕ พายุหมุนในโซนร้อนเข้าสู่ประเทศโดยผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจำนวน ๒ ลูกติดต่อกัน ยังผลให้มีฝนตกหนักหลายแห่งในบริเวณ ตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไป ทำให้เกิดอุทกภัยทั่วไป โดยเฉพาะภาคกลางมีระดับน้ำสูงมาก และน้ำได้ท่วมเป็นระยะเวลานานร่วมเดือน
ในเดือนตุลาคม ๒๔๙๕ ปรากฏว่า มีพายุหมุนในโซนร้อน ๒ ลูกเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ได้ทำความเสียหาย โดยมีน้ำท่วม และพายุลมแรง แต่ความเสียหายมีน้อยกว่า ในปี ๒๔๘๕
ในเดือนตุลาคม ๒๕๐๕ ได้มีพายุหมุนในโซนร้อนซึ่งมีกำลังขนาดพายุโซนร้อน ชื่อ "แฮเรียต" ได้ก่อตัวขึ้น ในแถบปลายแหลมญวนบริเวณหมู่เกาะปูลูกองดอร์ เมื่อวันที่ ๒๔ ต่อมาในวันที่ ๒๕ พายุหมุนในโซนร้อนลูกนี้ ได้เคลื่อนตัวเข้ามาอยู่ในอ่าวไทย ใน วันที่ ๒๖ พายุหมุนลูกนี้ ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งภาคใต้ของประเทศไทย บริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช และในวันที่ ๒๗ ได้ผ่านภาคใต้ลงสู่อ่าวมะตะบัน แล้วเคลื่อนตัวต่อไปทางทิศตะวันตกลงสู่อ่าวเบงกอล 
พายุหมุนในโซนร้อนลูกนี้ร้ายแรงมาก ได้ทำความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินในประเทศไทย เป็นจำนวนมาก พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

มีผู้เสียชีวิตประมาณเกือบ ๑,๐๐๐ คน 
บ้านเรือนหักพังประมาณ ๔๐,๐๐๐ หลัง 
        รวมค่าเสียหายทั้งสิ้นประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท 
ในปลายเดือนพฤศจิกายน และต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีพายุโซน ร้อนชื่อ "รู้ธ" เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย และเคลื่อนขึ้นฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างจังหวัดชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ลงสู่อ่าวมะตะบัน แล้ววกขึ้นไปทางเหนือ เลียบฝั่งประเทศพม่า ทำให้มีฝนตกหนักเกือบทั่วไป และทำให้เกิดน้ำท่วมถนนหนทางขาดหลายตอน พายุหมุนในโซนร้อนลูกนี้ทำความเสียหายให้แก่จังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร และประจวบคีรีขันธ์เสียหายมากกว่าจังหวัดอื่นๆ 
พายุหมุนในโซนร้อนนับว่าเป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดฝนตกแผ่เป็นบริเวณกว้าง และตกเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ทำให้แผ่นดินได้รับความชุ่มชื้นทั่วไป ในปีหนึ่งๆ ถ้ามีพายุหมุนในโซนร้อนเข้าสู่ประเทศไทยเป็นระยะๆ โดยไม่ต่อเนื่องกันแล้ว ก็ย่อมมีผลดีในทางกสิกรรมเป็นอย่างมาก ถ้าปีใดมีพายุหมุนในโซนร้อนเข้ามาน้อยหรือไม่มีเลย ก็ทำให้เกิดฝนแล้งขึ้นได้

จำนวนพายุหมุนในโซนร้อนที่เข้าสู่ประเทศไทย
ในคาบ ๒๔ ปี (พ.ศ.๒๔๙๐ ถึง ๒๕๑๓)

 

เดือน จำนวนพายุที่เข้าสู่ประเทศไทย (ลูก) คิดเป็นจำนวนร้อยละ
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
-
-
-
-




๑๙
๒๒





๑.๕
๑.๕
๖.๒
๑๒.๓
๒๙.๒
๓๓.๙
๑๐.๘
๔.๖
รวม ๒๔ ปี ๖๕ ๑๐๐.๐
เฉลี่ยปีละ ๒.๗  

 

สถิติ สูงสุด ต่ำสุด ของภูมิอากาศ
สารประกอบภูมิอากาศ โลก ประเทศไทย
อุณหภูมิสูงสุด ๕๘°ซ. (๑๓๖.๔°ฟ.) ที่ อะซีเซีย ตริโปลิตาเนีย แอฟริกา เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๖๕ ๔๔.๕°ซ. (๑๑๒.๑°ฟ.) จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๐๓
อุณหภูมิต่ำสุด -๘๘.๓°ซ. (๑๒๗.๐°ฟ.) ที่ วอสต็อก แอนตาร์กติกา ขั้วโลกใต้ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๐๓ ๐.๑°ซ. (๓๒.๒°ฟ.) จังหวัดเลย ตอนเช้าของวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๙๓ และวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๑๗
ฝนตกมากที่สุดในระยะ ๑๒ เดือน ๒๖,๔๖๒ มม. (๑,๐๔๑.๘ นิ้ว) ที่เมือง เชอราปุนจี อินเดีย ระหว่าง สิงหาคม ๒๓๐๓ ถึงกรกฎาคม ๒๓๐๔ ๖,๘๑๐.๑ มม. (๒๖๘.๑ นิ้ว) ที่จังหวัดระนอง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔
ฝนตกเฉลี่ยมากที่สุดต่อ ๑ ปี ๑๑,๙๘๑ มม. (๔๗๑.๗ นิ้ว) ที่ภูเขาไวอาลีอาลี เกาะเคาไอ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา ๕,๑๐๖ มม. (๒๖๘.๑ นิ้ว) ที่จังหวัดระนอง (เฉลี่ยคาบ พ.ศ. ๒๔๗๔ ถึง ๒๕๐๓)
ฝนตกมากที่สุดในระยะ ๑ เดือน ๙,๒๙๖ มม. (๓๖๖.๐ นิ้ว) ที่เมือง เชอราปุนจี อินเดีย ในเดือนกรกฎาคม ๒๓๐๔ ๒,๐๗๒.๔ มม. (๘๑.๖ นิ้ว) ที่คลองใหญ่ จังหวัดตราด ในเดือนสิงหาคม ๒๕๐๗
ฝนตกมากที่สุดภายใน ๒๔ ชั่วโมง ๑,๘๖๙ มม. (๗๓.๖ นิ้ว) ที่ซิลาโอส ลา เรอุนยอง ฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ มีนาคม ๒๔๙๘ ๖๒๕.๙ มม. (๒๔.๖ นิ้ว) ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๘
ฝนตกน้อยที่สุด ในช่วง ๑๙ ปี เมือง วาดี ไฮฟา ประเทศซูดาน ไม่มีฝนตกเลย ตลอดปี พ.ศ. ๒๔๙๔ มีฝนตกที่จังหวัดตากเพียง ๕๔๒.๕ มม. (๒๑.๔ นิ้ว)
ลมแรงที่สุด ๓๗๐ กม.ต่อชั่วโมง ที่ภูเขาวอชิงตัน รัฐนิวแฮมเชียร์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๗๗ ๑๕๗.๕ กม.ต่อชั่วโมง ที่ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๐๐
 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow