อากาศ
ทุกๆ คนต้องเคยเห็นรุ้งกินน้ำมาแล้ว รุ้งกินน้ำเป็นปรากฏการณ์ ของอากาศอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นจากแสงของดวงอาทิตย์ที่ส่องไปยัง เม็ดน้ำในก้อนเมฆ ทำให้ปรากฏเป็นสีต่างๆ โค้งอย่างสวยงาม ซึ่ง จะมีสีสวยๆ ใหญ่ๆ ๗ สีดังนี้ คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สี แสด และสีแดง เมื่อรุ้งกินน้ำปรากฏขึ้นให้เห็น ดวงอาทิตย์ จะต้องส่องจากด้านหลังของผู้ที่เห็นทุกครั้งไป | |
ปรากฏ ปรากฏ
|
ภูมิประเทศ ใน |
|
เราคงได้ทราบในบทความเรื่องโลกของเราแล้วว่า พื้นโลกมีน้ำปกคลุมอยู่เกือบ ๓ ใน ๔ ส่วน และมีพื้นดินอยู่มากกว่า ๑ ใน ๔ ส่วน ของพื้นที่โลกทั้งหมด ตามบริเวณพื้นดินยังมีความแตกต่างกันไปอีก เช่น บริเวณป่าไม้ บริเวณทะเลทราย และบริเวณทุ่งหญ้า เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ส่องลงมายังพื้นที่ต่างๆ ของโลกบริเวณต่างๆ จะร้อนขึ้นไม่เท่ากัน บริเวณพื้นดินหรือทะเลทรายจะร้อนขึ้น มากกว่าบริเวณพื้นน้ำ ดังนั้นอากาศที่อยู่ตามบริเวณพื้นดิน หรือทะเลทรายจะร้อนกว่าอากาศตามบริเวณพื้นน้ำด้วย อากาศร้อนจะเบากว่าอากาศ เย็น และอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้น อากาศเย็นซึ่งหนักกว่าจะพัดเข้ามาแทนที่เกิดเป็นลมขึ้น หรือเราเรียกว่า เกิดการหมุนเวียนของอากาศ
นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อเราขึ้นไปยังบริเวณที่สูงจากพื้นดิน เช่น ที่เขาใหญ่ หรือดอยภูพิงค์ อากาศจะเย็นสบายดี เมื่อเราขึ้นไปสูงจากพื้นดินไปในท้องฟ้า ๑ กิโลเมตร อุณหภูมิจะลดลงราวๆ ๖.๕°ซ. ถ้าขึ้นไปสูงจากพื้นดินประมาณ ๕ กิโลเมตร อุณหภูมิจะเย็น ลงเหลือเท่าๆ กับอุณภูมิของน้ำแข็ง หรือประมาณ ๐°ซ ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศอินโดนีเซีย และภาค ใต้ของประเทศไทย แสงอาทิตย์ส่องลงมาเกือบตรงศีรษะ (หรือเราเรียกว่า ส่องมาเกือบตั้งฉากกับพื้นดิน) ดังนั้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จะได้รับความร้อนมากกว่าบริเวณใกล้ขั้วโลก เพราะบริเวณใกล้ขั้วโลกแสงอาทิตย์ส่องเฉียงๆ ลงมายังพื้นดิน จึงทำให้พื้นโลกได้รับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า
พายุชนิดต่างๆ
พายุฟ้าคะนองนี้มีขนาดตั้งแต่ลูกเดียวโดดเดี่ยวห่างเป็นกิโลเมตรๆ ไป จนถึงติดต่อกันเป็นแนวยาวหลายสิบ หรืออาจถึงร้อยๆ กิโลเมตร
ส่วนพายุที่เราเรียกว่า พายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชันนั้น เป็นพายุที่มีความรุนแรงของลมน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น |