การเจริญพันธุ์ของไวรัส
ไวรัสทั่วไปตามธรรมชาติจำเป็นต้องเข้าไปเจริญ และทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น โดยยีนของไวรัส และยีนของเซลล์ ที่เพาะเลี้ยงไวรัส ต้องมีกลไกสอดคล้องต้องกัน ไวรัสจะสามารถเจริญแพร่พันธุ์สร้างไวรัสใหม่ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ และชนิดของไวรัส ดังนั้น แต่ละชนิดของไวรัสจึงทำให้เกิดโรคเฉพาะมนุษย์ สัตว์ แมลง พืช สาหร่ายสีน้ำเงิน รา หรือบัคเตรีต่างๆ กัน
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เมื่อฉีดเพาะเลี้ยงลงในถุงน้ำคร่ำลูกไก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะทวีจำนวนได้มากมาย แต่ถ้าฉีดเลี้ยงบนเยื่อคอริโออลันตอยส์ของลูกไก่ จะไม่เกิดการสังเคราะห์ไวรัสไข้หวัดใหญ่เลย แสดงว่า สภาพแตกต่างกัน โดยรูปร่าง และหน้าที่ (differentiation) ของเซลล์ถุงน้ำคร่ำ กับเซลล์เยื่อคอริโออลันตอยส์ อำนวยให้มีความสามารถ ในการสังเคราะห์ไวรัสได้ต่างกัน
ไวรัสหูดของโชพ เมื่อฉีดเข้าผิวหนังกระต่ายบ้าน จะเกิดเป็นหูดที่ผิวหนัง ภายในเซลล์ที่เป็นหูด จะมีการสร้างสารของไวรัสหูด ของโชพ แต่จะไม่สร้างไวรัสหูดที่สมบูรณ์เลย แต่ถ้าทดลองกับกระต่ายป่าหางปุยฝ้าย จะพบว่าสร้างไวรัสที่หูดที่สมบูรณ์ได้มากมาย
ในการทวีแพร่พันธุ์ของไวรัสนั้น ไวรัสจะสังเคราะห์ไวรัสที่สมบูรณ์ได้โดย ๑. เข้าไปอยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพราะไวรัสไม่มีเอนไซม์ ต้องอาศัย เอนไซม์ของเซลล์ ๒. สังเคราะห์สร้างกรดนิวคลีอิคเพิ่มขึ้น ๓. สังเคราะห์โปรตีนที่ห่อหุ้มกรดนิวคลีอิคของไวรัส ๔. สังเคราะห์อินทรียสาร ที่กำหนดโดยแต่ละยีนของไวรัสโดยเฉพาะ | ||||
สำหรับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคพืชสาหร่ายสีน้ำเงิน รา บัคเตรี ไวรัสจะต้องผ่านผนังเซลล์ก่อนที่จะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปข้างใน โปรตีนที่พอกห่อหุ้มกรดนิวคลีอิคของไวรัสจะทำปฏิกิริยากับผนังเซลล์ (อาจจะเป็นไลโพโพลิแซกคาไรด์ หรือมูโคโพลิแซกคาไรด์) กระตุ้นกลไก ให้กรดนิวคลีอิคของไวรัส หรือไวรัสเปลือยผ่านเยื่อหุ้มเข้าไปในเซลล์ได้สะดวก การทดลองใช้กรดนิวคลีอิคของไวรัส หรือไวรัสเปลือยอย่างเดียว ผ่านผนังเซลล์พืชมักไม่ได้ ทำให้ทราบว่าโปรตีนที่พอกห่อหุ้มกรดนิวคลีอิคของไวรัส มีความสำคัญในการช่วยให้ไวรัสเข้าไปเจริญแพร่พันธุ์ในเซลล์ได้ อย่างไรก็ดี ในระยะหลังนี้ได้พบว่า กรดนิวคลีอิคของไวรัส หรือไวรัสเปลือยของโรคไวรัสใบยาสูบด่าง ก็สามารถผ่านผนังเซลล์ใบยาสูบ และสังเคราะห์ไวรัสใบยาสูบด่างที่สมบูรณ์ได้ ด้วยกลไกพิเศษ สภาวะดังกล่าวนี้ ปัจจุบันเรียกว่า "ทรานสเฟคชัน"(transfection)
สำหรับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์ ไวรัสที่มีเยื่อหุ้มมักเข้าไปในเซลล์ทั้งอนุภาคไวรัส เยื่อมักค้างติดอยู่ที่ผิวเซลล์ โปรตีนที่หุ้มห่อกรดนิวคลีอิคของไวรัสจะถูกย่อยสลายภายในเซลล์ ทำให้กรดนิวคลีอิคของไวรัส หรือไวรัสเปลือยอยู่ภายในเซลล์
เมื่อกรดนิวคลีอิคของไวรัสเปลือยเข้าไปในเซลล์แล้ว ไวรัสเปลือยอาจจะ ถ้าเป็นดี เอ็น เอ สองสาย (+ และ -) เฉพาะ ดี เอ็น เอ สาย (+) จะสร้าง ดี เอ็น เอ สาย (-) ส่วน ดี เอ็น เอ สาย (-) ก็จะสร้าง ดี เอ็น เอ สาย (+) ทำให้ ดี เอ็น เอ สองสาย ทั้งคู่ใหม่และคู่เก่าเหมือนกันทุกประการ ถ้าเป็น ดี เอ็น เอ สายเดียว (+) ก็จะสร้าง ดี เอ็น เอ สาย (-) ก่อน ดี เอ็น เอ สาย (-) ก็จะเป็นแม่พิมพ์ในการสร้าง ดี เอ็น เอ สาย (+) ต่อมาเฉพาะ ดี เอ็น เอ สาย (-) เท่านั้นจะ สลายเหลือแต่ ดี เอ็น เอ สาย (+) อย่างเดียว ข. อาร์ เอ็น เอ สร้าง อาร์ เอ็น เอ ซึ่งยีนของไวรัสเป็นอาร์ เอ็น เอ เช่น ไวรัสโปลิโอ ไวรัสบัคเตรี เอฟ ๒ ถ้าเป็น อาร์ เอ็น เอ สองสาย (+และ-) อาร์ เอ็น เอ (+) ก็จะสร้าง อาร์ เอ็น เอ สาย (-) ส่วน อาร์ เอ็น เอ สาย (-) ก็จะสร้าง อาร์ เอ็น เอ สาย (+) ถ้าเป็น อาร์ เอ็น เอ สายเดียว (+) ก็จะสร้าง อาร์ เอ็น เอ สาย (-) ก่อน อาร์ เอ็น เอ สาย (-) ก็จะเปลี่ยนเป็นแม่พิมพ์ ในการสร้าง อาร์ เอ็น เอ สาย (+) ต่อมา เฉพาะ อาร์ เอ็น เอ สาย (-) เท่านั้นที่สลายไปเหลือแต่ อาร์เอ็นเอ สาย (+) แต่อย่างเดียว
เฉพาะในไวรัส อาร์ เอ็น เอ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ซึ่งเป็น อาร์ เอ็น เอ ชนิดสายเดียว (+) อาร์ เอ็น เอ สาย (+) จะสร้าง ดี เอ็น เอ ของไวรัสในลักษณะ ดี เอ็น เอ สองสายช่วง ซึ่งจะแฝงตัวอยู่กับ ดี เอ็น เอ ของเซลล์ในสภาพโปรไวรัส ดี เอ็น เอ ในสภาพโปรไวรัส นี้ จะเป็นแม่พิมพ์ในการสร้าง อาร์ เอ็น เอ สาย (+)
เมื่อผลิตกรดนิวคลีอิคได้แล้ว นอกจากจะผลิตโปรตีนเพื่อพอกห่อหุ้มกรดนิวคลีอิค ไวรัสยังต้องใช้เวลาผลิตโปรตีนเฉพาะ สำหรับทำปฏิริยาในการเกาะผนังเซลล์ (attach- ment protein) โปรตีนที่ควบคุมการทวีแพร่พันธุ์ไวรัส โปรตีนที่ช่วยให้เซลล์สลาย โปรตีนชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะแต่ละไวรัส ฯลฯ จึงจะได้อนุภาคไวรัสที่สมบูรณ์ ระยะเวลาที่กรดนิวคลีอิคของไวรัส เข้าไปในเซลล์ จนถึงก่อนระยะสร้างไวรัสที่สมบูรณ์นี้ คือ ระยะไวรัสคราส ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่สามารถตรวจพบไวรัสที่สมบูรณ์เลย ในบางกรณี เมื่อไวรัสไม่สามารถสร้างโปรตีน เพื่อพอกกรดนิวคลีอิคดังกล่าวได้ครบถ้วน ก็ได้ไวรัสที่ไม่สมบูรณ์
กรดนิวคลีอิคของไวรัสที่ไม่มีโปรตีนพอก มักจะแฝงตัวอยู่กับกรดนิวคลีอิคของ เซลล์ในสภาพโปรไวรัส โปรไวรัสจะสร้างโปรไวรัสพร้อมๆ กับการสร้างกรดนิวคลีอิค ของเซลล์ใหม่ทุกครั้ง
หลังจากไวรัสเจริญและทวีแพร่พันธุ์ ไวรัสบางชนิดก็ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภายในเซลล์อย่างใด แต่ไวรัสบางชนิด ก็ทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงผิดปกติ จนเซลล์นั้น ตาย ซึ่งจะเป็นวงชีพเภทะ ในบางกรณีไวรัสสองชนิด แต่ละชนิดไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์เลย แต่เมื่อไวรัสดังกล่าวทั้งสองชนิดเมื่อนำมาเพาะเลี้ยงร่วมกันในเซลล์ อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ได
บางไวรัสอาจจะพบการเปลี่ยนแปลงในเซลล์คือ ทำให้เกิดอนุภาคพิเศษขึ้นภายใน เซลล์เรียกว่า "อินคลูชัน" อินคลูชันนี้ อาจพบในไซโตพลาสมิก (cytoplasmic inclusion bodies) และ/หรือภายในนิวเคลียส (nuclear inclusion bodies) อินคลูชันนี้ เห็นได้ด้วยกำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา อินคลูชันอาจจะมีไวรัสภายในหรือไม่มีก็ได้ ไวรัสบางชนิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่ผิวเซลล์ ทำให้เซลล์หลายเซลล์เชื่อมรวม กันเป็นเซลล์เดียว บางไวรัสสามารถจะทำให้เซลล์ปกติเปลี่ยนสภาวะเป็นมะเร็งได้ บาง ไวรัสก็แฝงตัวอยู่เฉยๆ ในเซลล์นั้นในสภาพโปรไวรัส แม้เซลล์จะมีการทวีจำนวน โปรไวรัสก็สามารถแฝงตัวอยู่กับเซลล์เหล่านั้นได้ตลอดไป ซึ่งจะเป็นวงชีพเภทนะ โปรไวรัสนี้ จะแผลงฤทธิ์ ทวีแพร่พันธุ์เป็นไวรัสที่สมบูรณ์ในเซลล์เหล่านั้นต่อเมื่อโอกาสเหมาะอำนวย ไวรัสที่ทวีแพร่พันธุ์นี้ อาจจะมีบางอนุภาค (หนึ่งในล้าน) ต่างจากไวรัสดั้งเดิม อันเป็น ผลเนื่องจากการผันแปร (mutation) รหัสของยีน (genetic code) ที่ถ่ายทอดทางกรรม พันธุ์ อาทิเช่น ไวรัสของบักเตรีที่ ๒ อาจมีน้ำตาลกลูโคส เกาะที่หมู่ไฮดรอกซี เมธิลไซโตซีน การผันแปรดังกล่าว มีผลทำให้ชนิดของโปรตีนที่เคลือบพอกไวรัสแตกต่างจากเดิม ไปด้วยบางทีไวรัสที่ผันแปร อาจเพิ่มหรือลดความรุนแรงของอาการ ที่เป็นโรค นอกจาก นี้ยังพบว่าไวรัสบางชนิดสามารถนำยีนจากเซลล์หนึ่งไปให้อีกเซลล์หนึ่งได้ (transduction) ในการศึกษาไวรัสแต่ละชนิดที่เกี่ยวกับโรคโดยสมบูรณ์มักจะต้องศึกษาทุกด้าน คือ
ประการสำคัญที่เป็นปัญหาปัจจุบันนี้ก็คือ การสลับเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิค ก็คือรหัสของยีน อันเป็นสัญลักษณ์ที่นักวิชาการทั่วโลก ได้พยายามพากเพียรถอดแปลความหมายของรหัสยีน นอกจากนี้ ไวรัสยังอาจจะเป็นสาเหตุอันหนึ่ง ที่เป็นปัจจัยในการที่เซลล์ปกติ เปลี่ยนสภาวะมาเป็นมะเร็งได้ เพราะระหว่างที่เป็นมะเร็ง จะตรวจพบไวรัสได้ ในบางพวกที่ตรวจไม่พบไวรัส ก็เชื่อว่า มีโปรไวรัส แฝงอยู่กับกรดนิวคลีอิคของเซลล์มะเร็ง ปัจจุบัน การศึกษากลไกของไวรัส ที่ทำให้เป็นมะเร็ง ยังผลให้ทราบการเปลี่ยนสภาพปกติ กลายเป็นมะเร็ง อันจะเป็นแนวทางให้นักวิทยาศาสตร์สามารถหาหนทางที่จะยับยั้ง หรือป้องกันมิให้เกิดมะเร็งได้ นอกจากนี้การใช้ไวรัส เสมือนเครื่องมือในการเพิ่มเติม เสริมสอดยีนใหม่ให้แก่ สิ่งที่มีชีวิตที่ต่างชนิด (species) ก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาน่าสนใจยิ่งทางชีววิทยาในอนาคต โดยที่เอาเฉพาะโปรตีนของไวรัสโปลีโอม่าห่อหุ้มยีนหนู ซึ่งสกัดจาก ดี เอ็น เอ ของนิวเคลียสเซลล์หนู ทำเป็นไวรัสเทียม (pseudovirus) แล้วให้เข้าไปเจริญในเซลล์คน ก็พบ ดี เอ็น เอ ของนิวเคลียสคน มี ดี เอ็น เอ ของนิวเคลียสหนูแฝงอยู่ หรืออีกนัยหนึ่ง ยีน ของเซลล์คนมียีนของเซลล์หนูแฝงอยู่
|