Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

Posted By Plookpedia | 03 ก.ค. 60
3,074 Views

  Favorite

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

๑. เพาะเชื้อโรค 

      วิธีการเพาะเชื้อไวรัสนี้เป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก มีห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคน้อยแห่งที่ทำการเพาะเชื้อโรคได้เพราะจะต้องมีอุปกรณ์ครบครันมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัย  นอกจากนั้นการเพาะเชื้อยังสิ้นเปลืองทั้งค่าใช้จ่ายและกินเวลาต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้และประสบการณ์สูงจึงจะทำการแยกเชื้อได้  การเพาะเชื้อจะเพาะได้จากเม็ดเลือดขาว พลาสมา และอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การเพาะเชื้อมีประโยชน์อย่างไร 

      ๑. ประเมินว่าบุคคลที่ติดเชื้อจะสามารถแพร่โรคได้มากน้อยเพียงใด
      ๒. ประเมินผลการรักษาโรค 
      ๓. นำเชื้อที่เพาะได้ไปศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงหรือความผันแปรในส่วนประกอบของไวรัส 
      ๔. เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ เช่น ในกรณีทารก เป็นต้น

 

การเพาะเชื้อโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น การเพาะเชื้อโรค

 

๒. ตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อโดย การตรวจหาแอนติ-เอชไอวีแอนติบอดี

๒.๑ การตรวจเบื้องต้น (Screening test) 

ได้มีการพัฒนาการตรวจเบื้องต้นขึ้นมาหลายวิธี โดยอาศัยหลักการของการทดสอบดังต่อไปนี้ คือ

  • ELISA Test

  • Gel particle agglutination 

  • Immunofluorescence

  • Immunoprecipitation 

และยังมีวิธีการตรวจอื่น ๆ ที่กำลังจะนำมาใช้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวิธีการตรวจที่ง่ายและรวดเร็ว (Rapid diagnostic test) 

๒.๒ การตรวจเพื่อยืนยัน (Supplementary or Confirmetary tests)

      การตรวจเบื้องต้นนั้นจะมีความไวค่อนข้างสูง แต่ความจำเพาะอาจจะไม่ถึงร้อยละ ๑๐๐ (เช่น ตรวจพบว่าให้ผลบวก แต่จริง ๆ แล้วเป็นผลบวกลวงหรือตรวจแล้วให้ผลลบ แต่อันที่จริงแล้วควรจะเป็นบวกซึ่งถือว่า ผลลบลวง)  ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการตรวจยืนยันการตรวจดังกล่าวมีหลายชนิด คือ

  • Western Blot method 

  • Dot test 

  • การตรวจหาส่วนประกอบบางส่วนของไวรัส หรือแอนติเจนหรือเอนไซม์ 

  • การตรวจหา IgM และ IgG จำเพาะ

  • ตรวจหา RNA หรือ cDNA โดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส

๒.๓ การตรวจดูจำนวนเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน (ตรวจ T lymphocyte) 
      คือ ตรวจเม็ดเลือดขาวชนิด T4 หรือ CD 4+ และ T8 หรือ CD 8+ 
๒.๔ การตรวจทางผิวหนัง (Skin Test) 
      เป็นการตรวจเพื่อดูการตอบสนองของร่างกายทางด้านภูมิแพ้  ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมการตอบสนองจะต่ำหรือไม่มีเลยก็ได้  โดยใช้แอนติเจนต่าง ๆ เช่น แคนดิดา แอนติเจน ทอกซอยด์ป้องกันบาดทะยัก ฯลฯ

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow