Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Grammar: การใช้ Phrasal Verbs (กริยาวลี) ในภาษาอังกฤษ

Posted By Plook Creator | 03 ก.ค. 60
272,900 Views

  Favorite

Phrasal Verbs หรือ Two word verb คือ กริยาวลี เป็นการนำกริยามารวมกับ adverb หรือ preposition หรือทั้งสองคำ แล้วทำให้ความหมายของคำกริยาเปลี่ยนไปจากเดิม มาทำความเข้าใจหลักการใช้ Phrasal Verbs กันค่ะ


ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า กริยาวลี (Phrasal Verbs) นั้นแตกต่างกับ คำกริยาที่ต้องตามด้วยคำบุพบท (อย่าเพิ่งทำคิ้วขมวดค่ะ> < ไม่ยากอย่างที่คิด)

คำกริยาที่ตามด้วยคำบุพบท (verb + preposition) คือ คำกริยาบางตัวที่บังคับว่าต้องมีคำบุพบทต่อท้าย แต่ความหมายของคำกริยาจะไม่เปลี่ยนไป เช่น believe in (เชื่อใน....), agree with (เห็นด้วยกับ...)

แต่...กริยาวลี (Phrasal Verbs) คือ กลุ่มคำที่ประกอบด้วยคำกริยาตามด้วย adverb, preposition หรือทั้งสองคำบุพ แล้วมีความหมายใหม่ ไม่ตรงตัว เช่น see off หมายถึง ไปส่ง (เช่น ที่สนามบิน) มาจาก see เป็นกริยาแปลว่า เห็น รวมกับ off ที่เป็นบุพบทแปลว่า ออกจาก


คราวนี้มาดูหลักการใช้ Phrasal Verbs กันดีกว่า...


Phrasal Verbs แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. Separable verbs คือ กริยาวลีที่สามารถแยก verb กับ preposition ได้ มักเป็นกริยาวลีที่ต้องการกรรม เช่น


call off = ยกเลิก        
give out = แจก
look up = มองหา        
try on = ลองสวม
turn on = เปิด (ไฟ)     
turn off = ปิด (ไฟ)


ตัวอย่าง
                 Tom was giving leaflets out to everyone in front of the school.
หรือเขียนว่า  Tom was giving out leaflets to everyone in front of the school.
                  (ทอมแจกใบปลิวให้ทุกคนที่หน้าโรงเรียน)


ข้อควรระวัง :

1. ถ้ากรรมเป็นคำสรรพนามจะอยู่หน้า preposition เสมอ เช่น
                   You’ll need to do it over.
   แต่เขียนว่า  You’ll need to do over it. ไม่ได้

2. ถ้ากรรมเป็นกลุ่มคำยาว ๆ จะต้องอยู่หลังกริยาวลีเสมอ เช่น
    She put on a ridiculous red hat to go to the party.
    (เธอสวมหมวกสีแดงน่าตลกไปงานปาร์ตี้)


2. Inseparable Verbs คือ กริยาวลีที่ถ้ามีกรรมมารับจะไม่สามารถแยก verb กับ preposition จากกันได้ โดยกรรมจะวางไว้หลังกริยาวลีเสมอ เช่น


Look after = ดูแล เลี้ยงดู        
Run into = พบโดยบังเอิญ
Cope with = จัดการกับ         
Get on/off = ขึ้น/ลง (รถบัส, เรือ, เครื่องบิน, รถไฟ, จักรยาน, มอเตอร์ไซด์)    

ตัวอย่าง
I always run into Nida at the mall.
(ฉันบังเอิญเจอนิดาที่ห้างสรรพสินค้าบ่อย ๆ)

We get on the bus here.
(พวกเราขึ้นรถบัสที่นี่)


Inseparable Verbs บางตัวก็ไม่ต้องมีกรรม เช่น


Carry on = ทำต่อไป     
Come in = เข้ามาถึง        
Grow up = เติบโต        
Wake up = ตื่นนอน

ตัวอย่าง
He’s really starting to grow up now.
(ตอนนี้เขาเริ่มเติบโตขึ้นแล้ว)

We have no choice but to carry on.
(พวกเราไม่ทางเลือกอื่น นอกจากทำต่อไป)


บางครั้งกริยาวลีอาจมีบุพบทมากกว่า 1 ตัว ซึ่งเรียกว่า Three word phrasal verbs เช่น


Catch up with = ตามทัน     
Run out of  = หมด
Put up with = อดทนกับ     
Look out for = เตรียมพร้อม


ตัวอย่าง
I can’t put up with my roommate’s noise any longer.
(ฉันไม่สามารถทนกับเสียงดัง ๆ ของเพื่อนร่วมห้องได้อีกต่อไป)


จำให้ขึ้นใจ :

1. กริยาวลีบางตัวเป็น Separable (แยกได้) และนอกนั้นจะเป็น Inseparable (แยกไม่ได้)
**กริยาวลีบางตัวเป็นทั้ง Separable และ Inseparable เช่น pass out ถ้าเป็น Separable หมายถึง แจก แจกจ่าย แต่ถ้าเป็น Inseparable หมายถึง หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
2. กริยาวลีแบบ Inseparable ต้องวางกรรมไว้หลัง preposition เสมอ
3. กริยาวลีแบบ Separable สามารถวางกรรมไว้ระหว่าง verb กับ preposition หรือจะวางกรรมไว้หลัง preposition เหมือนกริยาวลีแบบ Inseparable ก็ได้
4. ในกริยาวลีแบบ Separable ถ้ากรรมเป็นสรรพนาม ต้องวางกรรมไว้หน้า preposition เสมอ

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow