Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

งานทำเล่มและการจำหน่ายจ่ายแจก

Posted By Plookpedia | 30 มิ.ย. 60
4,112 Views

  Favorite

งานทำเล่ม

 

เมื่องานผ่านขั้นตอนการพิมพ์แล้ว ก็จะต้องนำมาพับให้แต่ละหน้าของหนังสือซ้อนกันเป็นลำดับ จะได้อ่านเรียงต่อเนื่องกันไป เครื่องพิมพ์บางเครื่อง จะมีเครื่องพับติดอยู่ตอนปลายของเครื่องพิมพ์ เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว ก็จะพับออกมาเป็นยกพิมพ์เสร็จในตัว โดยเฉพาะแท่นพิมพ์ โรตารี่ที่ใช้กระดาษม้วนพิมพ์ สามารถพิมพ์และพับเป็นเล่มสำเร็จ ออกมาจากแท่นพิมพ์และนำออกไป จำหน่ายจ่ายแจกได้จากปลายแท่นพิมพ์ทันที 

 

การพิมพ์บนกระดาษแผ่น มีแท่นพิมพ์เพียงบางแบบเท่านั้น ที่พิมพ์ได้ทั้งสองหน้าพร้อมกัน ส่วนใหญ่ต้องพิมพ์ทีละหน้า เมื่อพิมพ์ด้านหนึ่งของกระดาษ แล้วก็ต้องกลับแผ่นกระดาษ ไปพิมพ์อีกด้านหนึ่ง แล้วจึงนำไปพับ กระดาษแผ่นหนึ่งอาจพับสอง สาม หรือสี่ครั้งเป็นหนึ่งยกพิมพ์ การพับอาจใช้คนพับ ด้วยมือหรือจะใช้เครื่องพับพับก็ได้ ในขณะนี้ค่าแรงสูงขึ้นในแผ่นหนึ่ง มักพบด้วยเครื่องพับซึ่งสามารถพับได้รวดเร็ว คุณภาพในการพับดีกว่าพับด้วยมือ และค่าใช้จ่ายก็ประหยัดกว่าด้วย 

 

กระดาษแผ่นหนึ่ง เมื่อพับเป็นหน้าเรียบร้อยเรียกว่า ยกพิมพ์ หนังสือเล่มหนึ่งอาจมีหลายยกพิมพ์ และอาจมีแผ่นปลิว คือกระดาษที่พิมพ์เท่ากับ ขนาดหน้าหนังสือพอดีไม่ต้องพับอีก ยกพิมพ์และแผ่นปลิว จะต้องนำมาจัดเรียงซ้อนกันตามลำดับ เป็นเล่มหนังสือ ซึ่งเรียกว่าเก็บเล่ม การเก็บเล่มอาจใช้คนเก็บด้วยมือ โดยหยิบยกพิมพ์และแผ่นปลิวมาเรียงลำดับกันเป็นเล่ม สำหรับการผลิตหนังสือ เป็นจำนวนมากก็มีการใช้เครื่องจักรมาดำเนินการ คือเครื่องเก็บเล่มยกพิมพ์ แต่ละยกจะถูกนำมาป้อนซ้อน ๆ กันในที่ป้อนยกพิมพ์บนเครื่องเก็บเล่ม ซึ่งที่ป้อนยกพิมพ์จะมีหลายที่ วางเรียงกันตามลำดับเป็นแถว ยกพิมพ์ที่นำมาวางบน ที่ป้อนยกพิมพ์จะต้องนำมาวางเรียง ลำดับกันให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นจนจบเล่มหนังสือ จะมีรางเลื่อนเดินผ่านด้านหน้าของที่ป้อนยกพิมพ์ การเก็บเล่มหนังสือ แต่ละเล่มจะมีมือจับด้านหน้า แต่ละยกพิมพ์จับยกพิมพ์จากกองที่ตั้งไว้มาวางที่รางเลื่อน ๆ จะเลื่อนไปตามลำดับ มือจับของกองยกพิมพ์ถัดๆ ไปก็จะจับยกพิมพ์ของแต่ละกอง มาตั้งซ้อน ๆ กันไปตามลำดับจนครบเป็นเล่มหนังสือ หนังสือเมื่อเก็บเล่มเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำไปเย็บเล่มคือการยึดยกพิมพ์ และแผ่นปลิวให้ติดกันเป็นเล่ม การเย็บเล่มมีหลายวิธี คือ

 

๑. เย็บอกหรือเย็บมุงหลังคา

เป็นการนำยกพิมพ์มาเรียงซ้อนกัน โดยอ้าอกยกพิมพ์ยกหนึ่ง คร่อมทับลงบนยกพิมพ์ยกถัดไป ซ้อน ๆ กัน จนครบเล่ม นำปกคร่อมทับบนสุด แล้วเย็บติดกันเป็นเล่ม โดยใช้ลวดเย็บรือด้ายเย็บเย็บทะลุอกของทุก ๆ ยกพิมพ์ หักปลายลวดตรงกลางอก ยึดหนังสือให้ติดกันเป็นเล่ม หรือใช้ปลายเชือกทั้งสองข้าง ผูกติดกับตรงกลางอกหนังสือ หรือเย็บจักรตรงกลางอกหนังสือ ให้กระดาษทุกแผ่นเย็บติดกัน หนังสือเย็บอกมักเป็นหนังสือที่บาง มีหน้าหนังสือไม่มากนัก ส่วนดีของหนังสือเย็บอกอยู่ที่ สามารถเปิดเล่มหนังสือให้กางออกได้เต็มที่

 

การเย็บเล่มหนังสือมีหลายวิธี คือ : ๑. เย็บมุงหลังคา

 

๒. เย็บสัน 

เป็นการนำยกพิมพ์หนึ่งตั้งซ้อนบนอีกยกหนึ่ง เรียงซ้อนขึ้น ๆ ไปตามลำดับจนครบเล่ม การเย็บเล่มลักษณะนี้ อาจนำแผ่นปลิวตั้งทับซ้อนรวมกันไปกับยกพิมพ์ ตามตำแหน่งในเล่มของแผ่นปลิวนั้น และเย็บแผ่นกระดาษทั้งหมดติดกันด้วยลวดหรือเชือก หรือ เย็บด้านข้างของสันหนังสือ หนังสือเย็บสันสามารถเย็บหนังสือเป็นเล่มหนังสือ กางออกแล้วกางออกได ้ไม่เต็มที่เพราะส่วนของสันหนังสือ ส่วนหนึ่งถูกเย็บยึดติดกันไว้ หนังสือเย็บสันจะต้องมีการปิดปาก คือนำปกมาผนึกยึดติดกับสันหนังสือด้วยกาว 
 

๓. เย็บกี่ 

เป็นการเย็บอกของยกพิมพ์แต่ละยก ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน เย็บจากยกพิมพ์หนึ่งไปอีกยกพิมพ์หนึ่ง ติดต่อกันไป จนจบเล่ม การเย้บกี่นี้ สามารถเย็บหนังสือที่เป็นเล่มหนา ๆ มีหน้ามากให้เป็นเล่มเดียวกันได้ และสามารถเปิดเล่มหนังสือทุกหน้าให้กางออกได้เต็มที่ หนังสือเย็บกี่นี้จะต้องมีการปิดปก คือนำปกมาผนึกยึดติดกับสันหนังสือ เช่นเดียวกับหนังสือเย็บสัน 

๔. ไสสันทากาว 

การเย็บเล่มจัดทำอย่างเดียวกับการเย็บสัน คือ นำยกพิมพ์มาตั้งซ้อนกันเรียงกันเป็นเล่ม แล้วนำเล่มไปเข้าเครื่องไสสัน ซึ่งจะตัดหรือเลื่อยสันหนังสือให้ขาดออก โดยด้านหน้าของแผ่นหนังสือแต่ละแผ่น จะขาดออกจากกัน และใช้กาวทาสันหนังสือ โดยการพลิกสันหนังสือไปทางด้านซ้ายทากาวครั้งหนึ่ง และผลักสันหนังสือไปทางด้านขวาทากาวอีกครั้งหนึ่ง ทำให้กาวไปยึดแทรกอยู่ระหว่าง แผ่นหนังสือยึดติดกับแผ่นหน้า และแผ่นหลังติดต่อกันไปทั้งเล่ม กาวที่ทาสันหนังสืออาจเป็นกาวเย็น คือกาวที่เปิดจากภาชนะบรรจุมาใช้ทาได้เลย หรือกาวร้อนซึ่งเป็นกาวที่จะต้องมีการทำให้ร้อน
บนเครื่องทากาวที่ จะต้องทำให้ได้รวดเร็ว และได้หนังสือที่ทนทานมาก มักจะใช้วิธีทำด้วยกาวร้อน
การไสสันทากาวสามารถใช้ทำหนังสือเล่มหนา ๆ ได้ และสามารถกางหน้าหนังสือออกได้กว้างเต็มที่ การไสสันทากาวทำได้รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการเย็บกี่แต่คุณภาพสู้การเย็บกี่ไม่ได้
หนังสือไสสันทากาวจะต้องปิดปกเช่นเดียวกับหนังสือเย็บกี่หรือเย็บสัน 

 

๒. เย็บกี่
๓. เย็บกี่ใส่ปกแข็ง
๔. เย็บสัน


๕. ทำเล่มหนังสือด้วยวิธีกล 

คือ การทำเล่มด้วยวิธีอื่น มักไม่เป็นการยึดแผ่นกระดาษติดกันอย่างถาวร เช่น การเจาะรู ร้อยลวด ร้อยพลาสติก ยึดแผ่นกระดาษด้วยห่วง ด้วยสกรู เป็นต้น เป็นการทำเล่มสำหรับหนังสือที่อาจถอดเปลี่ยน เพิ่มเติม ส่วนหนึ่งส่วนใดของเล่มหนังสือได้

หนังสือที่ผลิต ควรจะทำเล่มในลักษณะใด ย่อมแล้วแต่ลักษณะการใช้งานของหนังสือนั้น ๆ หนังสือเมื่อได้เข้าปิดปกแล้ว ก็จะมีการ เจียนเล่มหรือตัดเล่ม โดยการนำเล่มหนังสือ ไปตัดด้านบน ด้านล่าง และด้านข้างของหนังสือออก เพื่อให้ส่วนที่เป็นสันพับของยกพิมพ์หนังสือขาดออก ทำให้หนังสือสามารถเปิดออกได้ทุกหน้าตลอดเล่ม การเจียนเล่มอาจนำไปตัดเจียน บนแท่นตัดกระดาษทีละด้าน หรืออาจนำไปตัด บนเครื่องตัดสามใบมีดซึ่งสามารถตัดหนังสือ ออกได้ทั้งสามด้านพร้อมกัน
 

การผลิตหนังสือเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งต้องผลิตเป็นจำนวนมาก การเก็บเย็บเล่ม เข้าปก และเจียนเล่มหนังสือ มีเครื่องจักรที่สามารถจัดทำติดต่อกันไปเสร็จเรียบร้อยในเครื่องเดียวกันเรียกว่า เครื่องเก็บเย็บเล่มหนังสือ มีทั้ง เครื่องที่เก็บเล่มเย็บอก ซึ่งมักใช้ในการทำเล่ม นิตยสาร และเครื่องที่เก็บเล่มเย็บสัน ซึ่งมัก ใช้ในการทำหนังสือเล่มโดยทั่วไป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งหนังสือฉบับกระเป๋าและแบบเรียนซึ่ง ผลิตกันแต่ละรายการเป็นจำนวนมาก ได้มีการพัฒนาการเก็บยกพิมพ์ จากการที่เก็บซ้อนตั้งทับกันขึ้นไปในแนวตั้ง เป็นการเก็บเป็นม้วนยกพิมพ์คือ แผ่นที่พิมพ์ และทำเป็นยกพิมพ์เรียบร้อยแล้ว จะนำมาเก็บในที่เก็บซ้อน ๆ กันเป็นม้วน เครื่องเก็บเย็บเล่มหนังสือที่ป้อนด้วยม้วนยกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือได้รวดเร็วกว่าเครื่องที่ป้อนด้วยยกพิมพ์ที่เป็นตั้ง ทำให้สามารถผลิต หนังสือได้รวดเร็วขึ้นมาก

 

แท่นตัดกระดาษแผ่น
เครื่องเก็บเป็นม้วน สามารถผลิตหนังสือได้รวดเร็วกว่าเครื่องที่เก็บยกพิมพ์ซ้อนกันเป็นตั้ง
การเข้าเล่มปกแข็ง

 

 

หนังสือที่ผลิตออกมาเป็นนิตยสาร วารสาร และหนังสือที่ใช้งานทั่วไปที่ไม่ต้องเก็บรักษาไว้นาน ปกติผลิตเป็นหนังสือปกอ่อน โดยใช้ปกที่เป็นกระดาษหนากว่ากระดาษเนื้อใน ปกจะได้รักษาเนื้อในหนังสือไม่ให้ขาดชำรุด ระหว่างการใช้งาน หนังสือที่ต้องการจะเก็บ รักษาไว้นานหรือหนังสือที่ต้องใช้กันบ่อย ใช้กันมากคน เช่น หนังสืออ้างอิงและหนังสือ สำหรับห้องสมุด มักจะจัดทำเป็นหนังสือปกแข็ง หนังสือปกแข็งมีสองรูปแบบคือ หนังสือปกแข็งที่มีสันตรง และหนังสือปกแข็งที่มีสันโค้ง หนังสือปกแข็งที่มีสันตรงนั้น เมื่อเก็บเย็บเล่มเนื้อในหนังสือเรียบร้อยแล้ว ก็จะเจียนเล่มเฉพาะเนื้อในให้เรียบร้อย แล้วนำมาเข้าเล่มเป็นปกแข็ง ส่วนปกแข็งที่มีสันโค้งนั้น จะต้องเอาเนื้อในที่เก็บเย็บเล่ม และเจียนเล่มเรียบร้อยแล้วนั้น มาทำเป็นสันโค้งเสียก่อน โดยเอาเนื้อในเล่มหนังสือ มาเข้าเครื่องหนีบเล่มไว้ และใช้เครื่องมือทุบสันทำโค้ง ทำให้สันหนังสือเป็นรูปโค้ง

 

ปกของหนังสือปกแข็งประกอบด้วย วัสดุหุ้มปก อาจเป็นกระดาษ ซึ่งจะพิมพ์แล้วนำมาหุ้มเป็นปกแข็ง หรือใช้กระดาษหุ้มปกแข็ง ซึ่งผลิตเป็นพิเศษทำผิวเลียนแบบผ้าหรือหนัง หรือจะใช้ผ้าพลาสติกหรือหนังแท้หุ้มเป็นปก แข็งก็ได้ แล้วแต่ว่าจะต้องการให้ได้คุณภาพอย่างใด วัสดุหุ้มปกจะต้องคำนวณตัดให้ได้ ขนาด เมื่อหุ้มทำเป็นปกแข็งแล้วไปประกอบ กับเนื้อในเป็นเล่มหนังสือได้พอดี หนังสือปก แข็งจะมีกระดาษแข็งสองแผ่นเป็นปกด้านหน้า และด้านหลัง ตัดโตกว่าขนาดหน้าของหนังสือ เล็กน้อยเพราะปกแข็งจะยื่นเลยแผ่นกระดาษ เนื้อในออกไปทั้งด้านขอบบน ขอบล่างและขอบ ด้านข้างของหนังสือ เพื่อกันไม่ให้แผ่นกระดาษ เนื้อในกระทบกับสิ่งของต่างๆ ขณะใช้งานกระดาษแข็งจะเลือกเอาขนาดหนาหรือบางอย่างใด เป็นไปตามที่ผู้ผลิตจะกำหนด กระดาษยิ่งหนา ความทนทานก็จะยิ่งมีมาก แต่ราคาก็จะแพงขึ้น นอกจากกระดาษแข็งส่วนปกสองแผ่นแล้วยัง มีกระดาษรองสันปกซึ่งอาจใช้กระดาษบางลง ไปกว่ากระดาษแข็งส่วนปกได้ จะตัดให้ได้ขนาดเล็กกว่าความหนาของสันหนังสือเล็กน้อย เพื่อป้องกันสันปก และเว้นช่องว่างระหว่างกระดาษแข็งรองปก และกระดาษรองสันปก เพื่อให้สะดวกแก่การเปิดปิดหนังสือ ใช้กาวผนึก กระดาษรองปกหนังสือ กระดาษรองสันหนังสือ ลงบนวัสดุหุ้มปกหนังสือตามตำแหน่งที่กำหนด ไว้แล้วพับขอบวัสดุหุ้มปกหนังสือ ผนึกยึด กระดาษแข็งหุ้มปกและกระดาษหุ้มสันหนังสือ ไว้โดยรอบทั้งสี่ด้าน ก็จะได้ปกแข็งที่จะนำไป ประกอบเป็นเล่มหนังสือ ปกแข็งนี้จะนำไป เดินทอง ไปดุนนูน ดุนลึก หรือพิมพ์ให้สวยงาม ก็อาจทำได้ ก่อนนำไปเข้าเล่ม การเก็บเย็บเล่มเนื้อในหนังสือ ที่จะนำไปเข้าเล่มเป็นปกแข็ง จะต้องมีแผ่นผนึกปก และแผ่นปลิวรองปกผนึก ติดอยู่ที่ด้านหน้าและด้านหลังของเล่มเนื้อใน การนำปกแข็งไปเข้าเล่มกับเนื้อใน ทำโดยการ ผนึกแผ่นผนึกปกทั้งด้านหน้าและด้านหลังติด กับแผ่นปกแข็งด้วยกาว

 

หนังสือปกแข็งอาจมีกระดาษหุ้มปก ซึ่งพิมพ์ตามที่ออกแบบให้สวยงาม พับปลายสอดไปทางข้างหลังของปกหน้า และหุ้มอยู่ด้านนอกของปก คลุมไปตลอดจนถึงด้านหลังและพับ ปลายสอดไปทางด้านหน้าของปกหลัง

 

 

การจำหน่ายจ่ายแจก

 

หนังสือแต่ละเล่มกว่าจะผลิตออกมาเป็นเล่มสำเร็จลงได้ ย่อมต้องอาศัยทั้งความคิด ฝีมือ แรงงาน และวัสดุเป็นจำนวนมาก เมื่อผลิตออกมาเรียบร้อยแล้ว ถ้าเก็บกองไว้ ก็เท่ากับกองกระดาษ ซึ่งจะเป็นอาหารของมดปลวกเท่านั้น หนังสือทุกชนิดจึงต้องมีระบบการจำหน่ายจ่ายแจกออกไปให้ถึงมือผู้ใช้งานโดยเร็ว และจะต้องได้อ่าน ได้ใช้งาน จึงจะเกิดประโยชน์ และมีคุณค่าแก่ส่วนรวม

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow