พุทธศาสนาถือกำเนิดจากประเทศอินเดียเมื่อประมาณสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว เข้ามาในประเทศไทยได้นับพันปีแล้ว คนไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาโดยผสมผสานกับความเชื่อแบบพราหมณ์ และความเชื่อดั้งเดิมนับถือผีซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เราจึงเห็นพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีสู่ขวัญ งานบุญประเพณีพื้นบ้านต่าง ๆ พุทธศาสนามีความสำคัญมากต่อสังคมไทย วัดเคยเป็นศูนย์กลางของชุมชน นอกจากเป็นที่ที่ผู้คนไปทำบุญ ไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนา และฟังเทศก์แล้ว ยังเป็นที่เรียนหนังสือเป็นที่พบปะประชุมและจัดงานพิธีต่าง ๆ บางแห่งเป็นที่รักษาคนเจ็บป่วย เป็นที่พักคนเดินทาง เป็นที่รวมของงานศิลปะ และวรรณกรรมต่าง ๆ
นอกจากพุทธศาสนายังมีศาสนาอิสลาม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า ชาวมุสลิม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล นอกนั้นก็อยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ เกือบทั่วประเทศ
ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยมีสองนิกาย คือ นิกายโรมันคอทอลิกซึ่งมักเรียกว่า คาทอลิก หรือ คริสตัง และนิกายโปรเตสแตนต์ที่มักเรียกว่า โปรเตสแตนต์ หรือ คริสเตียน นิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เข้ามาในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ศาสนาคริสต์มีบทบาทในงานการศึกษาและสาธารณสุข ได้ก่อตั้งโรงเรียนและโรงพยาบาลหลายแห่ง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่มาพร้อมกับชาวอินเดีย พราหมณ์เข้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัยส่วนฮินดูซึ่งมาจากศาสนาพราหมณ์เข้ามาเมื่อร้อยปีเศษ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้านับถือเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น พระพรหม พระนารายณ์ เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีชาวซิกข์ซึ่งนับถือ ศาสนาซิกข์ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าผ้ามีผ้าโพกศีรษะไม่ตัดผมตลอดชีวิต ชาวจีนก็มีความเชื่อและศาสนาของตนเองพวกเขานับถือบรรพบุรุษตามลัทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า นับถือเทพเจ้าต่าง ๆ และนับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานซึ่งแตกต่างไปจากพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีชาวเขาซึ่งอาศัยอยู่ตามจังหวัดชายแดนและอยู่บนเขามีความเชื่อและพิธีกรรมของตนเองแต่ละเผ่าไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะนับถือผีซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามีอยู่ในธรรมชาติถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยก็เชื่อว่าผีเป็นต้นเหตุก็จะมีพิธีกรรมขอโทษผี ไล่ผี
คนไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาซึ่งเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ก่อนนั้นคนไทยนับถือศาสนาพรมหมณ์และนับถือผีซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมื่อพุทธศาสนาเข้ามาจึงมีการผสมผสานกัน ดังจะเห็นได้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน คือ มีพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่วัด มีพิธีกรรมทางพราหมณ์ เช่น การตั้งศาลพระภูมิ การบายศรีสู่ขวัญ มีพิธีกรรมทางผี เช่น การทำบุญบ้าน การเลี้ยงผี เป็นต้น พุทธศาสนามีบทบาทอย่างสำคัญต่อสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในอดีตนั้นวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนนอกจากเป็นที่ทำบุญฟังเทศน์และร่วมพิธีกรรมทางศาสนาแล้วยังเป็นที่เรียนหนังสือของลูกหลาน เป็นที่ประชุม ที่พักคนเดินทาง บางแห่งเป็นที่รักษาคนเจ็บป่วย เป็นที่รวมของศิลปะวรรณกรรมต่าง ๆ นอกจากพุทธศาสนายังมีศาสนาอิสลาม
ผู้นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า ชาวมุสลิม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสี่จังหวัดภาคใต้คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล นอกตั้นอยู่ที่กรุงเทพฯ และจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ ชาวมุสลิมจะไปร่วมพิธีสวดมนต์ใน มัสยิด หรือ สุเหร่าทุกวันศุกร์จะมนัสการพระเจ้าทุกวันซึ่งเรียกว่า นมาซ หรือ ละหมาด วันละห้าครั้ง (เวลา) มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าชีวิตประจำวันและการงานไม่ได้แยกจากการปฏิบัติศาสนา
ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยมีอยู่สองนิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิก เรียกผู้ที่นับถือนิกายนี้ว่า คาทอลิก หรือ คริสตัง และนิกายโปรเตสแตนต์ เรียกผู้ที่นับถือนิกายนี้ว่า โปรเตสแตนต์ หรือคริสเตียน นิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เข้ามาในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งสองนิกายมีบทบาทสำคัญทางสังคม คือ ตั้งโรงเรียน และโรงพยาบาลหลายแห่ง มีชื่อเสียงมาถึงทุกวันนี้ เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ โรงพยาบาลมิชชัน เป็นต้น
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่มาพร้อมกับชาวอินเดียพราหมณ์จำนวนหนึ่งเข้ามาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ส่วนชาวฮินดูเข้ามาเมื่อร้อยปีเศษที่ผ่านมานี้ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวฮินดูนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น พระพรหม พระนารายณ์ เป็นต้น ยังมีชาวอินเดียอีกจำนวนหนึ่งซึ่งจำได้ง่ายเพราะมีผ้าโพกศีรษะ เรียกว่า ชาวซิกข์ คือ นับถือศาสนาซิกข์ซึ่งเป็นศาสนาหนึ่งจากอินเดียเช่นกัน ส่วนใหญ่มีอาชีพขายผ้าพวกเขาไม่ตัดผมตลอดชีวิต
ชาวจีนในประเทศไทยก็มีศาสนาและความเชื่อของตนเองเช่นกัน เช่น นับถือ ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า พุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งแตกต่างจากพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย นอกจากนั้นมีการบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ชาวจีนจะเคารพนับถือบรรพบุรุษมาก มีพิธีกรรมรำลึกถึงบรรพบุรุษเสมอโดยเฉพาะเทศกาลเช็งเม้ง นอกนั้นก็มีงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น ตรุษจีน สารทจีน เทศกาลกินเจ เป็นต้น
ชาวเขาในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน มีอยู่หลายเผ่า เช่น กะเหรี่ยง ม้ง (แม้ว) อาข่า (อีก้อ) ลาฮู (มูเซอ) ลีซู (ลีซอ) เป็นต้น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเขาตามเขตชายแดนติดกับประเทศพม่าและลาว ชาวเขามีความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับผี พวกเขาเชื่อเรื่องผีซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติเกี่ยยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้คน ถ้าเจ็บป่วยก็เชื่อว่าผีเป็นต้นเหตุต้องทำพิธีขอขมาหรือไล่ผี พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิดและการตาย และพิธีกรรมเมื่อคนเจ็บป่วย มีอยู่ในทุกเผ่าแต่แตกต่างกันในรายละเอียดและวิธีการ
ศาสนามีความสำคัญต่อชีวิตของคนไทยแม้ว่าจะนับถือศาสนาแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็อยู่ร่วมกันด้วยการเคารพกันและกันไม่มีการเบียดเบียนคนที่นับถือศาสนาแตกต่างไปจากตน ประเทศไทยไม่เคยมีสงครามหรือความขัดแย้งรุนแรงระหว่างศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของทุกศาสนา